กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนสะบือรังวิถีใหม่ ห่างไกลโรคNCDs

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

โรงพยาบาลนราธิวาส

ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
Noncommunicable diseases (NCDs) หรือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งประกอบไปด้วยโรคหลักคือ โรคหัวใจและ หลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง และโรคเบาหวานเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคน 36 ล้านคนทั่วโลกในแต่ละปี หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของสาเหตุการตายทั้งหมด และมากกว่า 14 ล้านคนเป็นผู้ที่เสียชีวิตในช่วงอายุระหว่าง 30 ถึง 70 ปี หรือเรียกว่าเป็นการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ประเทศไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมากลุ่มโรคไม่ติดต่อได้คร่าชีวิตประชากรไทยถึง ร้อยละ 75 ของการเสียชีวิตทั้งหมด หรือราว 320,000 คนต่อปีในจำนวนนี้พบว่า ประมาณครึ่งหนึ่งหรือราวร้อยละ 55 เสียชีวิตที่อายุต่ำกว่า 70 ปีซึ่งองค์การอนามัยโลกจัดว่าเป็นการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เมื่อพิจารณาความรุนแรงของโรคไม่ติดต่อที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิต ก่อนวัยอันควรในโรค 4 โรคสำคัญ คือโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้องรัง
จากข้อมูลงานสถิติโรงพยาบาลเจาะไอร้อง สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พบภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยที่คุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตได้ ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยที่สุดคือ โรคเส้นเลือดสมองตีบ/แตก ตั้งแต่ปี 2561 พบ 80 ราย, ปี 2562 พบ82 ราย, ปี 2563 พบ 66 ราย, ปี 2564 พบ 66 ราย, และปี 2565 พบ76 รายรองลงมา โรคหลอดเลือดหัว ใจ ตั้งแต่ปี 2561 พบ 11 ราย, ปี 2562 พบ 14 ราย,ปี 2563 พบ 13 ราย, ปี 2564 พบ 15 ราย และปี 2565 พบ 15 ราย จากการเก็บข้อมูลเบื้องต้น มากกว่าร้อยละ 90 พบในกลุ่มขาดนัด และรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง
ชุมชนสะบือรัง เป็นชุมชน ส่วนหนึ่งฝั่งทิศตะวันออก ของหมู่บ้านเจาะไอร้อง ม.1 ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง จ. นราธิวาส ประกอบด้วย 107 หลังคาเรือนประชากรอยู่จริงทั้งหมด516 คน แบ่งเป็น ผู้ชาย243 คน ผู้หญิง273คน กลุ่มอายุ แรกเกิด-8 ปี จำนวน 61 คน9-14ปี จำนวน 37 คน 15-34ปี จำนวน 136 คน 35-59ปี จำนวน 184 คน และ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 98คน (ข้อมูลจากการสำรวจจริงของอสม. เดือน มกราคม 2566) พบผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชนจำนวน 39 ราย แบ่งเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 25 ราย โรคเบาหวาน จำนวน 10 รายโรคหอบ จำนวน2 ราย พบผู้ที่มีอาการแทรกซ้อน เช่น โรคเส้นเลือดสมอง หัวใจ จำนวน 1 รายโรคไต จำนวน1 ราย และจากการเก็บข้อมูลผู้เสียชีวิตในชุมชนสะบือรังตั้งแต่ปี 2561-2565 พบว่า ร้อยละ 80 เกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ ภาวะสั้นเลือดในสมองตีบ/แตก โรคหลอดเลือดหัวใจและ ร้อยละ 100 พบในกลุ่มผู้ป่วยขาดนัดและทานยาไม่ต่อเนื่อง
ดังนั้นโรงพยาบาลเจาะไอร้องจึงสนใจทำโครงการชุมชนสะบือรังวิถีใหม่ห่างไกลโรคNCD เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมการดูแลสุขภาพตัวเองและครอบครัว สามารถป้องกันการเกิดโรคและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ โดยการจัดการตัวเองของชุมชนที่เหมาะสมตามบริบท และมีทีมสุขภาพเป็นที่ปรึกษา นอกจากนี้เครือข่ายชุมชนเช่น อสม. ผู้นำชุมชน อบต. อำเภอ ก็มีส่วนร่วมในการดูแลด้านสุขภาพชองชุมชนด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. กลุ่มอายุ15 ปีขึ้นในชุมชน ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน 2.กลุ่มป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนตามเกณฑ์ที่กำหนด 3. กลุ่มป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สามารถพบแพทย์ตามนัด

1.อัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มป่วยในชุมชนสะบือรัง น้อยกว่า ร้อยละ5 2.อัตราการขาดนัดกลุ่มป่วยในชุมชนสะบือรัง น้อยกว่า ร้อยละ 10 3.กลุ่มอายุ15 ปีขึ้นในชุมชน เข้าร่วมโครงการมากกว่าร้อยละ 90

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/05/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่1 ประชุมแต่งตั้งคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่1 ประชุมแต่งตั้งคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 50 บาทx 19 คน = 950บ.
  • ค่าอาหารว่าง จำนวน 1 มื้อๆละ25บาท x 1 วัน x 19คน = 475บ.
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการชุมชนต้นแบบห่างไกลโรคNCDชุมชนสะบือรัง ขนาด 1.2 เมตร x 2.4 เมตร จำนวน 1ป้าย = 720 บาท รวมงบประมาณ กิจกรรมที่ 1 ทั้งสิ้น2,145 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
10 พฤษภาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สามารถลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้
  2. สามารลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2145.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่2 คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน กลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 100 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่2 คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน กลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 100 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง จำนวน 1 มื้อๆละ25บาท x 1 วัน x 100คน = 2500บ.
  • ค่าป้ายไวนิลคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานขนาด 1.2 เมตร x 2.4 เมตร จำนวน 1ป้าย = 720 บาท
  • รวมงบประมาณ กิจกรรมที่2 ทั้งสิ้น 3,220 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
10 พฤษภาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สามารถลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้
  2. สามารลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3220.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่3 คลินิกสะบือรังซีฮัต

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่3 คลินิกสะบือรังซีฮัต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • สมุดทะเบียนผู้ป่วยจำนวน 3 เล่ม x 27 บาทจำนวน   81  บาท
  • ปากกา จำนวน 10 ด้าม x5 บาท = 20 บาท
  • ไม้บรรทัด จำนวน 2 ด้าม x25 บาท = 50 บาท
  • กระดานไวท์บอร์ด ขนาด 60x90 ซม. = 365 บาท
  • รวมงบประมาณ กิจกรรมที่2 ทั้งสิ้น 516 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
10 พฤษภาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สามารถลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้
  2. สามารลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
516.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 5,881.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้
2. สามารลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง


>