กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกหล่อ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ตรวจสุขภาพและให้ความรู้ผู้ต้องขังสูทกรรม เรือนจำจังหวัดตรัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกหล่อ

เรือนจำจังหวัดตรัง

นายสมจิตร หนูเพชร ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดตรัง
นางฉวีวรรณ ลวนาภรณ์ ผู้อำนวยการส่วนสวัสดิการและร้านสงเคราะห์ผู้ต้องขัง
นางไพรัชต์ไทรงามผุ้อำนวยการส่วนพัฒนาและฝึกวิชาชีพผู้ต้องขัง
นายอนุรักษ์อิวชาวนา ผู้อำนาวยการส่วนควบคุมผู้ต้องขัง
นางเจมบอลย์บุญแก้ว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

เรือนจำจังวัดตรังผู้ปฎิบัติงานสูทกรรม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เรือนจำ/ทัณฑสถาน มีการปรุงประกอบอาหารสำหรับจัดเลี้ยงผู้ต้องขังในเรือนจำเอง และต้องเตรียมอาหารในการจัดเลี้ยงผู้ต้องขังทั้งหมดโดยใช้กลุ่มผู้ต้องขังด้วยกัน ซึ่งผู้ต้องขังกลุ่มดังกล่าวเป็นผู้สัมผัสอาหารเรียกว่า ผู้ต้องขังปฏิบัติงานสูทกรรม การเตรียมอาหารมีเจ้าหน้าที่ควบคุมกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อเฝ้าระวังการปนเปื้อนของอาหารที่จัดเลี้ยงของผู้ต้องขังการระบาดของโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหารหรืออาหารเป็นพิษ การบริโภคอาหารไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งหากอาหารมีเชื้อโรคและสารปนอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เรือนจำ/ทัณฑสถานมีการตรวจสุขภาพผู้ต้องขังปฏิบัติงานสูทกรรมทุกปี ตามแนวทางการตรวจสุขภาพผู้สัมผัสอาหารตามบทบัญญัติของกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ.2561 ประกอบด้วย
1.การตรวจสุขภาพโดยแพทย์
2.การตรวจเอ็กซเรย์ปอดหรือตรวจเสมหะค้นหาวัณโรค
3.การตรวจเลือดไวรัสตับอักเสบชนิดเอ
4.การตรวจอุจจาระ เพื่อหาไข่พยาธิ เชื้อไทฟอยด์หรือโรคติดต่อทางเดินอาหาร และเพื่อให้เกิดความครอบคลุมตามแนวทางการตรวจสุขภาพผู้สัมผัสอาหารตามบทบัญญัติของกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ.2561 จึงได้จัดโครงการตรวจสุขภาพผู้ต้องขังสูทกรรมและให้ความรู้ผู้ต้องขังปฏิบัติงานสูทกรรม
เพื่อเป็นการป้องกันและเฝ้าระวังสุขาภิบาลอาหาร ติดตามเรื่องความสะอาด ความปลอดภัย และการปนเปื้อนของอาหาร สภาพแวดล้อมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดโรคต่างๆ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.1 เพื่อให้ผู้ต้องขังหมวดสูทกรรมได้รับการตรวจสุขภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ 1.2 เพื่อให้ผู้ต้องขังหมวดสูทกรรมมีความรู้เรื่องสุขอนามัยการปฏิบัติตามมาตรฐานสุขาภิบาล 1.3 เพื่อควบคุมและเฝ้าระวังการปนเปื้อนของเชื้อโรคและสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

 

80.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการตรวจสุขภาพและให้ความรู้ผู้ต้องขังสูทกรรม

ชื่อกิจกรรม
โครงการตรวจสุขภาพและให้ความรู้ผู้ต้องขังสูทกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 จัดทำโครงการเสนอผู้บัญชาการเรือนจำ 2.2 ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาล 2.3 เมื่อได้รับอนุมัติโครงการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ คือ     - ดำเนินการจัดหาวัสดุอุปกรณ์โครงการตรวจสุขภาพและให้ความรู้ผู้ต้องขังที่ปฏิบัติงานสูทกรรมเรือนจำจังหวัดตรัง     - ดำเนินการจัดเตรียมเอกสารสื่อต่างๆ         - ประสานงานวิทยากร และผู้เกี่ยวข้องกับกิจกรรม         - ดำเนินการจัดกิจกรรมอบรมโครงการตรวจสุขภาพและให้ความรู้ผู้ต้องขังที่ปฏิบัติงานสูทกรรมประจำปีงบประมาณ  2566 2.4 สรุปผลการดำเนินงาน 1. ค่าป้ายไวนิล 1 ป้าย                      เป็นเงิน679.....    บาท 2. ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชม. × ชม.ละ 600 บาท          เป็นเงิน    .....1800........  บาท 3.ค่าบริการตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการผู้ต้องขังปฏิบัติงานสูทกรรม    (ประกอบด้วยค่าตรวจไวรัสตับอักเสบ เอ .......400......... บาท และตรวจหาเชื้อในอุจจาระ.......60............... บาท    รวม ...460................. บาทต่อคน จำนวน.....80....... คน)        เป็นเงิน    ....36,800............บาท ๔. ค่าจ้างเหมาบริการต่างๆ เช่น ค่าถ่ายเอกสาร ค่าเอกสารคู่มือ ใช้ประกอบการอบรมโครงการตรวจ    สุขภาพและให้ความรู้ผู้ต้องขังที่ปฏิบัติงานสูทกรรม        เป็นเงิน ....2400.............บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ...39,200.............   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

6.1 ผู้ต้องขังหมวดสูทกรรมได้รับการตรวจสุขภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ     6.2 ผู้ต้องขังหมวดสูทกรรมมีความรู้เรื่องสุขอนามัยการปฏิบัติตามมาตรฐานสุขาภิบาล     6.3 สามารถควบคุมและเฝ้าระวังการปนเปื้อนของเชื้อโรคและสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ผู้ต้องขังมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
67575.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 67,575.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

6.1 ผู้ต้องขังหมวดสูทกรรมได้รับการตรวจสุขภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
6.2 ผู้ต้องขังหมวดสูทกรรมมีความรู้เรื่องสุขอนามัยการปฏิบัติตามมาตรฐานสุขาภิบาล
6.3 สามารถควบคุมและเฝ้าระวังการปนเปื้อนของเชื้อโรคและสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ผู้ต้องขังมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


>