กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ตรวจสุขภาพและให้ความรู้ผู้ต้องขังสูทกรรม เรือนจำจังหวัดตรัง
รหัสโครงการ 66-L1490-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เรือนจำจังหวัดตรัง
วันที่อนุมัติ 7 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 กรกฎาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 27 กันยายน 2566
งบประมาณ 67,575.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมจิตร หนูเพชร
พี่เลี้ยงโครงการ พ.จ.อ.ไชยา สุทธิโภชน์
พื้นที่ดำเนินการ เรือนจำ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (67,575.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ต้องขังหมวดสูทกรรมได้รับการตรวจสุขภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
8.00
2 จำนวนผู้ต้องขังหมวดสูทกรรมมีความรู้เรื่องสุขอนามัยการปฏิบัติตามมาตรฐานสุขาภิบาล
5.00
3 จำนวนครั้งในการตรวจควบคุมและเฝ้าระวังการปนเปื้อนของเชื้อโรคและสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
0.00
4 อาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน
5.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เรือนจำ/ทัณฑสถาน มีการปรุงประกอบอาหารสำหรับจัดเลี้ยงผู้ต้องขังในเรือนจำเอง และต้องเตรียมอาหารในการจัดเลี้ยงผู้ต้องขังทั้งหมดโดยใช้กลุ่มผู้ต้องขังด้วยกัน ซึ่งผู้ต้องขังกลุ่มดังกล่าวเป็นผู้สัมผัสอาหารเรียกว่า ผู้ต้องขังปฏิบัติงานสูทกรรม การเตรียมอาหารมีเจ้าหน้าที่ควบคุมกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อเฝ้าระวังการปนเปื้อนของอาหารที่จัดเลี้ยงของผู้ต้องขังการระบาดของโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหารหรืออาหารเป็นพิษ การบริโภคอาหารไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งหากอาหารมีเชื้อโรคและสารปนอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เรือนจำ/ทัณฑสถานมีการตรวจสุขภาพผู้ต้องขังปฏิบัติงานสูทกรรมทุกปี ตามแนวทางการตรวจสุขภาพผู้สัมผัสอาหารตามบทบัญญัติของกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ.2561 ประกอบด้วย 1.การตรวจสุขภาพโดยแพทย์
2.การตรวจเอ็กซเรย์ปอดหรือตรวจเสมหะค้นหาวัณโรค
3.การตรวจเลือดไวรัสตับอักเสบชนิดเอ 4.การตรวจอุจจาระ เพื่อหาไข่พยาธิ เชื้อไทฟอยด์หรือโรคติดต่อทางเดินอาหาร และเพื่อให้เกิดความครอบคลุมตามแนวทางการตรวจสุขภาพผู้สัมผัสอาหารตามบทบัญญัติของกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ.2561 จึงได้จัดโครงการตรวจสุขภาพผู้ต้องขังสูทกรรมและให้ความรู้ผู้ต้องขังปฏิบัติงานสูทกรรม เพื่อเป็นการป้องกันและเฝ้าระวังสุขาภิบาลอาหาร ติดตามเรื่องความสะอาด ความปลอดภัย และการปนเปื้อนของอาหาร สภาพแวดล้อมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดโรคต่างๆ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 จำนวนผู้ต้องขังหมวดสูทกรรมได้รับการตรวจสุขภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

 

80.00
2 จำนวนผู้ต้องขังหมวดสูทกรรมมีความรู้เรื่องสุขอนามัยการปฏิบัติตามมาตรฐานสุขาภิบาล

 

80.00
3 จำนวนครั้งควบคุมและเฝ้าระวังการปนเปื้อนของเชื้อโรคและสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ร้อยละของอาหารที่ตรวจสอบ

5.00
4 ลดอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน

ร้อยละชนิดของอาหารที่ปนเปื้อน

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 66ส.ค. 66
1 อบรมให้ความรู้(7 ส.ค. 2566-7 ส.ค. 2566) 2,475.00    
2 ตรวจสุขภาพ(28 ส.ค. 2566-28 ส.ค. 2566) 65,100.00    
รวม 67,575.00
1 อบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 2,475.00 1 2,475.00
7 ส.ค. 66 อบรมให้ความรู้ 80 2,475.00 2,475.00
2 ตรวจสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 65,100.00 1 57,100.00
28 ส.ค. 66 ตรวจสุขภาพผู้ต้องขังปฏิบัติงานสูทกรรม 80 65,100.00 57,100.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

6.1 ผู้ต้องขังหมวดสูทกรรมได้รับการตรวจสุขภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ 6.2 ผู้ต้องขังหมวดสูทกรรมมีความรู้เรื่องสุขอนามัยการปฏิบัติตามมาตรฐานสุขาภิบาล 6.3 สามารถควบคุมและเฝ้าระวังการปนเปื้อนของเชื้อโรคและสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ผู้ต้องขังมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2566 13:04 น.