กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาปู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังควบคุมการแพร่ระบาดของโรคเลปโตสไปโรซีส(ฉี่หนู) ในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาปู่

โรงพยาบาลศรีบรรพต

ตำบลเขาปู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือโรคไข้ฉี่หนู มักมีการระบาดมากในช่วงฤดูฝนและมีน้ำท่วมขัง โดยเชื้อจะถูกปล่อยออกมากับปัสสาวะของสัตว์ที่ติดเชื้อ โดยเฉพาะหนู และมักปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำขังหรือที่ชื้นแฉะ ทำให้ประชาชนเสี่ยงต่อการสัมผัสและได้รับเชื้อโรคดังกล่าว โดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรกรหรือผู้ที่มีการเดินลุยน้ำย่ำโคลนหรือแช่น้ำเป็นเวลานาน โดยเชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยถลอก ตามผิวหนัง เยื่อบุตา จมูก ปาก หรืออาจเข้าทางผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน นอกจากนี้ ยังอาจติดต่อได้จากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อน
ประเทศไทยมีการรายงาน สถานการณ์ของโรคเลปโตสไปโรสิสหรือโรคไข้ฉี่หนู ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม2565 ถึง 30 กันยายน 2565 พบผู้ป่วย 2,668 ราย อัตราป่วย 4.03 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 32 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 8.44 ต่อแสนประชากรเสียชีวิต 10 ราย คิดเป็นอัตราตาย 2.77 ต่อแสนประชากรโดยจังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 3 อันดับแรกคือ พัทลุง 94 ราย (18.62 ต่อแสนประชากร) เสียชีวิต 5 ราย
สำหรับในพื้นที่เขตอำเภอศรีบรรพตพบผู้ป่วยโรคฉี่หนู จำนวน 9 ราย อัตราป่วย 50.57 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งตำบลที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือตำบล เขาปู่ อัตราป่วยเท่ากับ 43.85ต่อประชากรแสนคน โดยตำบลเขาปู่ จัดเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากคนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และเป็นพื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ น้ำขังจึงมีโอกาสเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคฉี่หนูขึ้นได้ จากสถานการณ์ข้างต้น ผู้จัดทำได้เห็นความสำคัญของปัญหาสุขภาพที่เกิดจากโรคเลปโตสไปโรซิส จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังควบคุมการแพร่ระบาดของโรคเลปโตสไปโรซีส(ฉี่หนู)ในชุมชน ตำบลาเขาปู่อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง เพื่อส่งผลให้ประชาชนเกิดความตระหนักในพฤติกรรมการป้องกันตนเองและพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสมและเพื่อวางแผนในการดำเนินงานด้านการป้องกัน และควบคุมโรคเลปโตสไปโรซิสต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยและเสียชีวิตจากโรคเลปโตสไปโรซิส (ฉี่หนู) ในเขตพื้นที่ตำบลเขาปู่

ลดอัตราป่วยด้วยโรคโรคเลปโตสไปโรซิส ลดลงจากค่ามัธยฐาน5ปีย้อนหลัง (2561-2565) ร้อยละ4

0.00
2 เพื่อให้ความรู้ประชาชนเรื่องโรคเลปโตสไปโรซิส (ฉี่หนู)และการป้องกันตนเองจากโรคดังกล่าว

ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคโรคเลปโตสไปโรซิส (ฉี่หนู) ร้อยละ 95

0.00
3 เพื่อให้ อสม./ผู้นำชุมชน และประชาชทั่วไปปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน

ครัวเรือนมีการปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน ร้อยละ 95

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 53
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2023

กำหนดเสร็จ 29/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มผู้เข้ารับการอบรม วิทยากร และทีมผู้จัด จำนวน 53 คน X 2 มื้อ X ๒๕ บาท X 2วัน เป็นเงิน 5,300   บาท
-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 53 คน X 60 บาท X 2วัน    เป็นเงิน 6,360 บาท
-ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน   คนละ 6 ชั่วโมง ๆ  ชั่วโมงละ 300 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 3,600  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 29 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15260.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ค่าเอกสารแผ่นพับ เป็นเงิน  240   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 29 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
240.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคเลปโตสไปโรซิส (ฉี่หนู)และสามารถป้องกันตนเองจากโรคเลปโตสไปโรซิส (ฉี่หนู)และกำจัดพาหะนำโรคได้ด้วยตนเอง
2. สามารถลดอัตราป่วยและเสียชีวิตจากโรคเลปโตสไปโรซิส (ฉี่หนู) ในเขตพื้นที่ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง


>