กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังควบคุมการแพร่ระบาดของโรคเลปโตสไปโรซีส(ฉี่หนู) ในชุมชน
รหัสโครงการ 66-L3366-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลศรีบรรพต
วันที่อนุมัติ 24 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2566 - 29 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 ธันวาคม 2566
งบประมาณ 15,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีบรรพต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 53 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือโรคไข้ฉี่หนู มักมีการระบาดมากในช่วงฤดูฝนและมีน้ำท่วมขัง โดยเชื้อจะถูกปล่อยออกมากับปัสสาวะของสัตว์ที่ติดเชื้อ โดยเฉพาะหนู และมักปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำขังหรือที่ชื้นแฉะ ทำให้ประชาชนเสี่ยงต่อการสัมผัสและได้รับเชื้อโรคดังกล่าว โดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรกรหรือผู้ที่มีการเดินลุยน้ำย่ำโคลนหรือแช่น้ำเป็นเวลานาน โดยเชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยถลอก ตามผิวหนัง เยื่อบุตา จมูก ปาก หรืออาจเข้าทางผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน นอกจากนี้ ยังอาจติดต่อได้จากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อน ประเทศไทยมีการรายงาน สถานการณ์ของโรคเลปโตสไปโรสิสหรือโรคไข้ฉี่หนู ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม2565 ถึง 30 กันยายน 2565 พบผู้ป่วย 2,668 ราย อัตราป่วย 4.03 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 32 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 8.44 ต่อแสนประชากรเสียชีวิต 10 ราย คิดเป็นอัตราตาย 2.77 ต่อแสนประชากรโดยจังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 3 อันดับแรกคือ พัทลุง 94 ราย (18.62 ต่อแสนประชากร) เสียชีวิต 5 ราย
สำหรับในพื้นที่เขตอำเภอศรีบรรพตพบผู้ป่วยโรคฉี่หนู จำนวน 9 ราย อัตราป่วย 50.57 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งตำบลที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือตำบล เขาปู่ อัตราป่วยเท่ากับ 43.85ต่อประชากรแสนคน โดยตำบลเขาปู่ จัดเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากคนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และเป็นพื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ น้ำขังจึงมีโอกาสเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคฉี่หนูขึ้นได้ จากสถานการณ์ข้างต้น ผู้จัดทำได้เห็นความสำคัญของปัญหาสุขภาพที่เกิดจากโรคเลปโตสไปโรซิส จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังควบคุมการแพร่ระบาดของโรคเลปโตสไปโรซีส(ฉี่หนู)ในชุมชน ตำบลาเขาปู่อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง เพื่อส่งผลให้ประชาชนเกิดความตระหนักในพฤติกรรมการป้องกันตนเองและพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสมและเพื่อวางแผนในการดำเนินงานด้านการป้องกัน และควบคุมโรคเลปโตสไปโรซิสต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยและเสียชีวิตจากโรคเลปโตสไปโรซิส (ฉี่หนู) ในเขตพื้นที่ตำบลเขาปู่

ลดอัตราป่วยด้วยโรคโรคเลปโตสไปโรซิส ลดลงจากค่ามัธยฐาน5ปีย้อนหลัง (2561-2565) ร้อยละ4

0.00
2 เพื่อให้ความรู้ประชาชนเรื่องโรคเลปโตสไปโรซิส (ฉี่หนู)และการป้องกันตนเองจากโรคดังกล่าว

ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคโรคเลปโตสไปโรซิส (ฉี่หนู) ร้อยละ 95

0.00
3 เพื่อให้ อสม./ผู้นำชุมชน และประชาชทั่วไปปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน

ครัวเรือนมีการปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน ร้อยละ 95

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,500.00 0 0.00
1 มิ.ย. 66 - 29 ธ.ค. 66 จัดอบรมให้ความรู้ 0 15,260.00 -
1 มิ.ย. 66 - 29 ธ.ค. 66 กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ 0 240.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคเลปโตสไปโรซิส (ฉี่หนู)และสามารถป้องกันตนเองจากโรคเลปโตสไปโรซิส (ฉี่หนู)และกำจัดพาหะนำโรคได้ด้วยตนเอง
  2. สามารถลดอัตราป่วยและเสียชีวิตจากโรคเลปโตสไปโรซิส (ฉี่หนู) ในเขตพื้นที่ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2566 00:00 น.