กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและลดภาวะคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและลดภาวะคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลปริก

นางสาวอัมพร ศิริวัฒน์

เขตพื้นที่เทศบาลตำบลปริก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วย คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ในฐานะคณะกรรมการอำนวยการโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารกเพื่อครอบครัวไทย ในพระราชูปถัมถ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมารร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด เพื่อขับเคลื่อนและบูรณาการการทำงานร่วมกันในระบบส่งเสริมสุขภาพและดูแลรักษาหญิงตั้งครรภ์ เพื่อลดอัตราการคลอดก่อนกำหนดของประเทศ
จากข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี ของ Heath Data Center Report พบว่าอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ในปี 2563 มีจำนวนหญิงที่ตั้งครรภ์และคลอดบุตรทั้งหมด 516 คน มีหญิงตั้งครรภ์คลอดก่อนกำหนด 35 คน คิดเป็นร้อยละ 6.78 ปี 2564 มีจำนวนหญิงที่ตั้งครรภ์และคลอดบุตรทั้งหมด 439 คน มีหญิงตั้งครรภ์คลอดก่อนกำหนด 29 คน คิดเป็นร้อยละ 6.61 ปี 2565 มีจำนวนหญิงที่ตั้งครรภ์และคลอดบุตรทั้งหมด 282 คน มีหญิงตั้งครรภ์คลอดก่อนกำหนด 13 คน คิดเป็นร้อยละ 4.61
อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10-14 ปีพ.ศ. 2564 เท่ากับ 0.9 ต่อพัน (เป้าหมาย ในปีงบประมาณ 2565 ไม่เกิน 0.9 ต่อพัน) อัตราการคลอดมีชีพในหญิงกลุ่มนี้เคยสูงสุดอยู่ที่ 1.8 ใน พ.ศ. 2555 และได้ลดลงเรื่อย ๆ อย่ำงต่อเนื่อง ใน พ.ศ. 2564 อัตราคลอดอยู่ที่ 0.9 ซึ่งเท่ากับปีที่ผ่านมา
อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี พ.ศ. 2564 เท่ากับ 24.4 ต่อพัน (เป้าหมาย ในปีงบประมาณ 2565 ไม่เกิน 25 ต่อพัน) จากการติดตามสถานการณ์ตลอด 10 ปี ที่ผ่านมา ใน พ.ศ. 2554 อัตราคลอดมีชีพสูงที่สุดอยู่ที่ 53.4 และได้ลดลงเรื่อย ๆ อย่ำงต่อเนื่อง
ร้อยละการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี งบประมาณ 2565 เท่ากับ 14.29 (HDC, 18 พ.ย. 65) ถึงแม้ว่าการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นจะลดลงจำกร้อยละ 17.87 ในปีพ.ศ. 2559 (HDC กระทรวง สาธารณสุข) อย่างไรก็ตามยังสูงเกินเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนดในปีงบประมาณ 2565 ไม่เกินร้อยละ 13.0 ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ต้องเร่งรัดการดำเนินงานเพื่อลดการตั้งครรภ์ซ้ำในกลุ่มวัยรุ่นอย่างจริงจังต่อไป
เพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและลดภาวะคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์ บรรลุตามวัตถุประสงค์ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลปริก จึงขอเสนอโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนดขึ้น เพื่อเสนอขอรับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังไม่ให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด
  1. หญิงตั้งครรภ์ สตรีวัยเจริญพันธุ์และนักเรียนเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

  2. หญิงตั้งครรภ์ สตรีวัยเจริญพันธุ์และนักเรียนได้รับความรู้จากการอบรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

  3. หญิงตั้งครรภ์ไม่น้อยกว่า 80% ในเขตเทศบาลตำบลปริก ไม่มีภาวะคลอดก่อนกำหนด

0.00
2 เพื่อเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ในกลุ่มนักเรียน
  1. ไม่พบการตั้งครรภ์ในกลุ่มนักเรียน ในเขตเทศบาลตำบลปริก
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 15
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 18/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง 25 บาท จำนวน 35 คน

รวมเป็นเงิน 875 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
875.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้สตรีวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์พร้อม workshop พร้อมทั้งคณะกรรมการและคณะทำงาน (ช่วงเช้า)

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้สตรีวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์พร้อม workshop พร้อมทั้งคณะกรรมการและคณะทำงาน (ช่วงเช้า)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง 25 บาท จำนวน 75 คน

เป็นเงิน 1,875 บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน 70 บาท คณะกรรมการและคณะทำงาน 35 คน

เป็นเงิน 2,450 บาท


รวมเป็นเงิน 4,325 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4325.00

กิจกรรมที่ 3 จัดอบรมให้ความรู้นักเรียนพร้อม work shop พร้อมทั้งคณะกรรมการและคณะทำงาน (ช่วงบ่าย)

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้นักเรียนพร้อม work shop พร้อมทั้งคณะกรรมการและคณะทำงาน (ช่วงบ่าย)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง 25 บาท จำนวน 95 คน

เป็นเงิน 2,375 บาท

  • ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท

เป็นเงิน 3,600 บาท

  • ค่ากระดาษ flip chart กระดาษ A4 ปากกา อุปกรณ์สำนักงาน และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

เป็นเงิน 3,000 บาท

รวมเป็นเงิน 8,975 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8975.00

กิจกรรมที่ 4 กรรมการชุมชน อสม.เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ปริก.รณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันภาวะคลอดกำหนดโดยใช้สื่อประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
กรรมการชุมชน อสม.เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ปริก.รณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันภาวะคลอดกำหนดโดยใช้สื่อประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าทำสื่อประชาสัมพันธ์ภาพพลิก เล่มละ 330 บาท xจำนวน 10 เล่ม

เป็นเงิน 3,300 บาท

  • โปสเตอร์ขนาด A3 แผ่นละ 52.5 บาท จำนวน 10 แผ่น

เป็นเงิน 525 บาท

รวมเป็นเงิน 3,825 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3825.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนเกิดการตระหนักรู้และการรับรู้ในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและลดภาวะคลอดก่อนกำหนดกำหนด

2. ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเชิงรุกในการดำเนินงานป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและลดภาวะคลอดก่อนกำหนด


>