กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและลดภาวะคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์
รหัสโครงการ 66-L7889-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลปริก
วันที่อนุมัติ 18 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอัมพร ศิริวัฒน์ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ เขตพื้นที่เทศบาล ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วย คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ในฐานะคณะกรรมการอำนวยการโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารกเพื่อครอบครัวไทย ในพระราชูปถัมถ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมารร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด เพื่อขับเคลื่อนและบูรณาการการทำงานร่วมกันในระบบส่งเสริมสุขภาพและดูแลรักษาหญิงตั้งครรภ์ เพื่อลดอัตราการคลอดก่อนกำหนดของประเทศ
จากข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี ของ Heath Data Center Report พบว่าอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ในปี 2563 มีจำนวนหญิงที่ตั้งครรภ์และคลอดบุตรทั้งหมด 516 คน มีหญิงตั้งครรภ์คลอดก่อนกำหนด 35 คน คิดเป็นร้อยละ 6.78 ปี 2564 มีจำนวนหญิงที่ตั้งครรภ์และคลอดบุตรทั้งหมด 439 คน มีหญิงตั้งครรภ์คลอดก่อนกำหนด 29 คน คิดเป็นร้อยละ 6.61 ปี 2565 มีจำนวนหญิงที่ตั้งครรภ์และคลอดบุตรทั้งหมด 282 คน มีหญิงตั้งครรภ์คลอดก่อนกำหนด 13 คน คิดเป็นร้อยละ 4.61 อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10-14 ปีพ.ศ. 2564 เท่ากับ 0.9 ต่อพัน (เป้าหมาย ในปีงบประมาณ 2565 ไม่เกิน 0.9 ต่อพัน) อัตราการคลอดมีชีพในหญิงกลุ่มนี้เคยสูงสุดอยู่ที่ 1.8 ใน พ.ศ. 2555 และได้ลดลงเรื่อย ๆ อย่ำงต่อเนื่อง ใน พ.ศ. 2564 อัตราคลอดอยู่ที่ 0.9 ซึ่งเท่ากับปีที่ผ่านมา
อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี พ.ศ. 2564 เท่ากับ 24.4 ต่อพัน (เป้าหมาย ในปีงบประมาณ 2565 ไม่เกิน 25 ต่อพัน) จากการติดตามสถานการณ์ตลอด 10 ปี ที่ผ่านมา ใน พ.ศ. 2554 อัตราคลอดมีชีพสูงที่สุดอยู่ที่ 53.4 และได้ลดลงเรื่อย ๆ อย่ำงต่อเนื่อง ร้อยละการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี งบประมาณ 2565 เท่ากับ 14.29 (HDC, 18 พ.ย. 65) ถึงแม้ว่าการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นจะลดลงจำกร้อยละ 17.87 ในปีพ.ศ. 2559 (HDC กระทรวง สาธารณสุข) อย่างไรก็ตามยังสูงเกินเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนดในปีงบประมาณ 2565 ไม่เกินร้อยละ 13.0 ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ต้องเร่งรัดการดำเนินงานเพื่อลดการตั้งครรภ์ซ้ำในกลุ่มวัยรุ่นอย่างจริงจังต่อไป เพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและลดภาวะคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์ บรรลุตามวัตถุประสงค์ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลปริก จึงขอเสนอโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนดขึ้น เพื่อเสนอขอรับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังไม่ให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด
  1. หญิงตั้งครรภ์ สตรีวัยเจริญพันธุ์และนักเรียนเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

  2. หญิงตั้งครรภ์ สตรีวัยเจริญพันธุ์และนักเรียนได้รับความรู้จากการอบรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

  3. หญิงตั้งครรภ์ไม่น้อยกว่า 80% ในเขตเทศบาลตำบลปริก ไม่มีภาวะคลอดก่อนกำหนด

0.00
2 เพื่อเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ในกลุ่มนักเรียน
  1. ไม่พบการตั้งครรภ์ในกลุ่มนักเรียน ในเขตเทศบาลตำบลปริก
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
??/??/???? ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด 0 875.00 -
??/??/???? จัดอบรมให้ความรู้สตรีวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์พร้อม workshop พร้อมทั้งคณะกรรมการและคณะทำงาน (ช่วงเช้า) 0 4,325.00 -
??/??/???? จัดอบรมให้ความรู้นักเรียนพร้อม work shop พร้อมทั้งคณะกรรมการและคณะทำงาน (ช่วงบ่าย) 0 8,975.00 -
??/??/???? กรรมการชุมชน อสม.เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ปริก.รณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันภาวะคลอดกำหนดโดยใช้สื่อประชาสัมพันธ์ 0 3,825.00 -
รวม 0 18,000.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนเกิดการตระหนักรู้และการรับรู้ในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและลดภาวะคลอดก่อนกำหนดกำหนด

  2. ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเชิงรุกในการดำเนินงานป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและลดภาวะคลอดก่อนกำหนด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2566 15:01 น.