กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ จัดอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร ตำบลปากน้ำ ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

กองสาธารณสุขเเละสิ่งเเวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ

1. นายรัฐการ ลัดเลีย

2. นายตรา เหมโคกน้อย

3. นายปรีชาปันดีกา

4. นายณรงค์ ปากบารา

5. นายเอกนรินทร์ ลัดเลีย

ตำบลปากน้ำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารของร้านอาหารและแผงลอยยังไม่ผ่านการอบรมหลักสูตรที่กรมอนามัยกำหนด(ร้าน)

 

30.00

ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร นับว่าเป็นบุคคลสำคัญในการจัดหาวัตถุดิบปรุง ประกอบ ให้บริการอาหารที่สะอาดปลอดภัย รวมถึงมีคุณค่าทางโภชนาการ จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักการสุขาภิบาลอาหาร รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อจะได้นำความรู้ไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง และสามารถทำอาหารที่สะอาดปลอดภัยสู่ผู้บริโภค รวมถึงการบริการที่ดีในสถานที่จำหน่ายอาหารอีกด้วยและเมื่อกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ.2561 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ในข้อ 21 (2) ได้กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารต้องผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา โดยมีมติของคณะกรรมการสาธารณสุขให้ความเห็นชอบในประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับดังกล่าว และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงนามประกาศเป็นประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการอบรม ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร พ.ศ.2561เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136 ตอนพิเศษ 23 ง วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2562 โดยบทเฉพาะกาล ข้อ 22 ได้กำหนดให้สถานที่จำหน่ายอาหารที่ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงให้เป็นไปตามกฎกระทรวงนี้ภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ซึ่งการดำเนินการตามข้อ 22 (2) ดำเนินการภายในกำหนดเวลาสองปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ซึ่งจะตรงกับวันที่ 16 ธันวาคม 2563
จาการสำรวจข้อมูลสถานที่จำหน่ายอาหาร ประเภท ร้านอาหารเเละแผงลอยจำหน่ายอาหาร มีจำนวนทั้งสิ้น 30 ร้าน และ มีผู้สัมผัสอาหาร จำนวน150 คน (ข้อมูล จาก รพสต.ปากน้ำ ปีงบประมาณ 2566) ในจำนวนนี้ทั้งหมดยังไม่ผ่านการอบรมตาม ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร พ.ศ.2661
ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการจัดอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร ตำบลปากน้ำ ขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการกิจการร้านอาหาร จำนวน 30 ร้าน และผู้สัมผัสอาหาร จำนวน 150 คน ในเขตตำบลปากน้ำ ได้ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่กรมอนามัยกำหนดและได้มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติได้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร และปรับปรุงสถานที่จำหน่ายอาหารให้เป็นไปตามกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ.2561 และเพื่อยกระดับสถานประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean food good taste)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการ และผู้สัมผัสอาหาร มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติงานได้ถูกต้องตาม หลักสุขาภิบาลอาหาร

ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ความเข้าใจและปฎิบัติได้ถูกต้อง ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขและกฎกระทรวง

30.00 30.00
2 2.เพื่อยกระดับสถานประกอบการจำหน่ายอาหารให้ได้มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร และได้รับป้ายรับรองมาตรฐานสัญลักษณ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย “Clean Food Good Taste”

ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารได้รับการตรวจรับรองเเละผ่านมาตรฐานสัญลักษณ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย “Clean Food Good Taste”

30.00 30.00
3 เพื่อจัดตั้งชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร

เกิดชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร

1.00 1.00
4 ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารปลอดโฟม

ร้อยละ 80 ของร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารปลอดโฟม

24.00 24.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ประกอบกิจการร้านอาหาร 30
ผู้สัมผัสอาหาร 60

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบกิจการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบกิจการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 30 คนๆ ละ 2 มื้อๆละ 35 บาท เป็นเงิน2,100 บาท

  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 30 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน3,000บาท

  • ค่าสมนาคุณวิทยากรจำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600บาท

  • ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.2 x 2.4 ม.เป็นเงิน 432 บาท

  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ประกอบการอบรม เช่น ปากกา, แฟ้ม จำนวน 30ชุด ชุดละ 30 บาท เป็นเงิน 900 บาท

  • ค่าจัดทำเอกสารประกอบการอบรมเป็นเงิน 500 บาท

  • ค่าวัสดุอุปกรณ์สาธิตและฝึกปฏิบัติเป็นเงิน 900 บาท

  • ค่าจัดทำวุฒิบัตร/บัตรประจำตัว ผู้ผ่านการอบรม เป็นเงิน 1,200บาท

  • ค่าจัดทำรูปเล่ม เป็นเงิน 500 บาท

กำหนดการอบรม หลักสูตรอบรมผู้ประกอบกิจการ (ระยะเวลา 6 ชั่วโมง)

ณ.ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ

08.30 – 09.00 น. - ลงทะเบียน และจัดทำแบบทดสอบก่อนการอบรม

โดยวิทยากร ดร.วรวลัญช์ ทองขาว นักวิชาการสุขาภิบาลชำนาญการรักษาการ นักวิชาการสุขาภิบาลการพิเศษ

09.00 – 10.00 น. หลักการสุขาภิบาลอาหาร และ อันตรายที่เกิดจากอาหารและน้ำที่ไม่สะอาดปลอดภัย (60 นาที)

10.00 – 11.00 น. สุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้สัมผัสอาหาร (60 นาที)

11.00 – 12.00 น. การสาธิตและฝึกปฏิบัติ (60 นาที)

  • วิธีการล้างผัก และผลไม้ ที่ถูกวิธี

  • วิธีการล้างมือ การหยิบจับอาหาร และการแต่งกายที่ถูกสุขลักษณะ

  • การเลือก ล้างภาชนะ อุปกรณ์

  • การเลือกใช้เครื่องปรุงรสอาหาร

  • หลักการทำงาน และการดูแลรักษาบ่อดักไขมัน

  • เทคนิคการตรวจทางด้านชีวภาพ

โดยใช้ชุดทดสอบ SI-2 หรือ อ 13 (SI Medium)

  • เทคนิคการตรวจทางด้านเคมี
  • โดยใช้ชุดทดสอบบอแรกซ์ ฟอร์มาลีน สารฟอกขาว สารกันรา และยาฆ่าแมลง

13.00 – 14.00 น. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบกิจการด้านอาหาร (60 นาที)

14.00 – 15.00 น. การบริหารจัดการสถานประกอบกิจการด้านอาหาร (60 นาที)

15.00 – 16.00. น. มาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบกิจการด้านอาหาร (60 นาที)

16.00 – 16.50 น. จัดทำแบบทดสอบหลังการอบรม (50 นาที)

16.50 – น. มอบวุฒิบัตร /หนังสือรับรองการผ่านอบรม

ปิดการอบรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13132.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้สัมผัสอาหาร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้สัมผัสอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 60 คนๆ ละ 1 มื้อๆละ 35 บาท เป็นเงิน2,100 บาท

  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ประกอบการอบรม เช่น ปากกา, แฟ้ม จำนวน 60ชุด ชุดละ 30บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

  • ค่าสมนาคุณวิทยากรจำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน1,800บาท

  • ค่าจัดทำเอกสารประกอบการอบรม เป็นเงิน1,000 บาท

  • ค่าจัดทำวุฒิบัตร/บัตรประจำตัว ผู้ผ่านการอบรม เป็นเงิน2,400 บาท

กำหนดการ หลักสูตรอบรมผู้สัมผัสอาหาร(ระยะเวลา 3 ชั่วโมง)

08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน และจัดทำแบบทดสอบก่อนการอบรม

โดยวิทยากรนางสาวฐานิศา สาเบด นวก.สาธารณสุขชำนาญการ

09.00 – 09.40 น. หลักการและมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบกิจการด้านอาหาร (40 นาที)

09.40 – 10.20 น. สุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้สัมผัสอาหาร (40 นาที)

10.20 – 11.00 น. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สัมผัสอาหาร (40 นาที)

11.00 – 12.00. น. การสาธิตและฝึกปฏิบัติ (60 นาที)

  • วิธีการล้างผัก และผลไม้ ที่ถูกวิธี

  • วิธีการล้างมือ การหยิบจับอาหาร และการแต่งกายที่ถูกสุขลักษณะ

  • การเลือก ล้างภาชนะ อุปกรณ์

  • การเลือกใช้เครื่องปรุงรสอาหาร

  • หลักการทำงาน และการดูแลรักษาบ่อดักไขมัน

  • เทคนิคการตรวจทางด้านชีวภาพ

โดยใช้ชุดทดสอบ SI-2 หรือ อ 13 (SI Medium)

  • เทคนิคการตรวจทางด้านเคมี

โดยใช้ชุดทดสอบบอแรกซ์ ฟอร์มาลีน สารฟอกขาว สารกันรา และยาฆ่าแมลง

12.00 – 12.20 น.จัดทำแบบทดสอบหลังการอบรม (20 นาที)

12.30 น. มอบวุฒิบัตร /หนังสือรับรองการผ่านอบรม

ปิดการอบรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9100.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมตรวจสอบความสะอาดปราศจากเชื้อแบคทีเรียฯ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจสอบความสะอาดปราศจากเชื้อแบคทีเรียฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าถ่ายเอกสารแบบตรวจสุขาภิบาลอาหาร

เป็นเงิน2,000บาท

  • ค่าชุดทดสอบทางด้านแบคทีเรีย อ.13 (น้ำยา SI2)

6กล่องกล่องละ 700 บาทเป็นเงิน4,200บาท

  • ค่าชุดทดสอบทางด้านแบคทีเรีย (อ.11)

1กล่อง กล่องละ700บาท เป็นเงิน 700บาท

  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินการ เช่น แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ สำลีไม้พันสำลี

เป็นเงิน2,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8900.00

กิจกรรมที่ 4 จัดเวทีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร้านอาหารปลอดโฟม

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร้านอาหารปลอดโฟม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างเเละเครื่องดื่ม40 คน X 50 บาทเป็นเงิน 2,000 บาท

ค่าอาหารกลางวัน40 คน x 80 บาทเป็นเงิน3,200 บาท

ค่าห้องประชุม เป็นเงิน4,000 บาท

ค่าตกแต่งสถานที่ เป็นเงิน1,500 บาท

ค่าวิทยากร600บาทX 4 ชั่วโมงเป็นเงิน2,400 บาท

กำหนดการ

09.00 น. - 09.30 น.ลงทะเบียน

09.30 น. -10.00 น. พิธีเปิด

10.00 น. - 12.00 น. จัดเวทีประชุมวิชาการและเวทีเเลกเปลี่ยนเรียนรู้แผงลอยปลอดโปร่ง โดยวิทยากร นางสาวนีลยา เหมรา

12.00 น. -13.00 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00 น. -14.00 น.จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ และ

ชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอย โดยวิทยากร นายปรีชาปันดีกา

14.00 น. - 14.30 น.พีธีมอบเกียรติบัตร ให้กับผู้ประกอบการร้านอาหาร จำนวน 30 ท่าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 44,232.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถั่วเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร และผู้สัมผัสอาหาร มีความรู้ ความเข้าใจ หลักการสุขาภิบาลอาหาร กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

2. ผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร สามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปพัฒนาสถานประกอบการให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

3. ผู้บริโภคได้รับประทานอาหารที่สะอาด ถูกหลักอนามัย


>