กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ รหัส กปท. L5312

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการ จัดอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร ตำบลปากน้ำ ปีงบประมาณ 2566
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
กองสาธารณสุขเเละสิ่งเเวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ
กลุ่มคน
1. นายรัฐการ ลัดเลีย

2. นายตรา เหมโคกน้อย

3. นายปรีชาปันดีกา

4. นายณรงค์ ปากบารา

5. นายเอกนรินทร์ ลัดเลีย
3.
หลักการและเหตุผล

ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร นับว่าเป็นบุคคลสำคัญในการจัดหาวัตถุดิบปรุง ประกอบ ให้บริการอาหารที่สะอาดปลอดภัย รวมถึงมีคุณค่าทางโภชนาการ จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักการสุขาภิบาลอาหาร รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อจะได้นำความรู้ไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง และสามารถทำอาหารที่สะอาดปลอดภัยสู่ผู้บริโภค รวมถึงการบริการที่ดีในสถานที่จำหน่ายอาหารอีกด้วยและเมื่อกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ.2561 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ในข้อ 21 (2) ได้กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารต้องผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา โดยมีมติของคณะกรรมการสาธารณสุขให้ความเห็นชอบในประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับดังกล่าว และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงนามประกาศเป็นประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการอบรม ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร พ.ศ.2561เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136 ตอนพิเศษ 23 ง วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2562 โดยบทเฉพาะกาล ข้อ 22 ได้กำหนดให้สถานที่จำหน่ายอาหารที่ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงให้เป็นไปตามกฎกระทรวงนี้ภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ซึ่งการดำเนินการตามข้อ 22 (2) ดำเนินการภายในกำหนดเวลาสองปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ซึ่งจะตรงกับวันที่ 16 ธันวาคม 2563 จาการสำรวจข้อมูลสถานที่จำหน่ายอาหาร ประเภท ร้านอาหารเเละแผงลอยจำหน่ายอาหาร มีจำนวนทั้งสิ้น 30 ร้าน และ มีผู้สัมผัสอาหาร จำนวน150 คน (ข้อมูล จาก รพสต.ปากน้ำ ปีงบประมาณ 2566) ในจำนวนนี้ทั้งหมดยังไม่ผ่านการอบรมตาม ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร พ.ศ.2661 ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการจัดอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร ตำบลปากน้ำ ขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการกิจการร้านอาหาร จำนวน 30 ร้าน และผู้สัมผัสอาหาร จำนวน 150 คน ในเขตตำบลปากน้ำ ได้ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่กรมอนามัยกำหนดและได้มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติได้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร และปรับปรุงสถานที่จำหน่ายอาหารให้เป็นไปตามกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ.2561 และเพื่อยกระดับสถานประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean food good taste)

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. 1.เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการ และผู้สัมผัสอาหาร มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติงานได้ถูกต้องตาม หลักสุขาภิบาลอาหาร
    ตัวชี้วัด : ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ความเข้าใจและปฎิบัติได้ถูกต้อง ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขและกฎกระทรวง
    ขนาดปัญหา 30.00 เป้าหมาย 30.00
  • 2. 2.เพื่อยกระดับสถานประกอบการจำหน่ายอาหารให้ได้มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร และได้รับป้ายรับรองมาตรฐานสัญลักษณ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย “Clean Food Good Taste”
    ตัวชี้วัด : ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารได้รับการตรวจรับรองเเละผ่านมาตรฐานสัญลักษณ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย “Clean Food Good Taste”
    ขนาดปัญหา 30.00 เป้าหมาย 30.00
  • 3. เพื่อจัดตั้งชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร
    ตัวชี้วัด : เกิดชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร
    ขนาดปัญหา 1.00 เป้าหมาย 1.00
  • 4. ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารปลอดโฟม
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารปลอดโฟม
    ขนาดปัญหา 24.00 เป้าหมาย 24.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบกิจการ
    รายละเอียด
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 30 คนๆ ละ 2 มื้อๆละ 35 บาท เป็นเงิน2,100 บาท

    • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 30 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน3,000บาท

    • ค่าสมนาคุณวิทยากรจำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600บาท

    • ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.2 x 2.4 ม.เป็นเงิน 432 บาท

    • ค่าวัสดุอุปกรณ์ประกอบการอบรม เช่น ปากกา, แฟ้ม จำนวน 30ชุด ชุดละ 30 บาท เป็นเงิน 900 บาท

    • ค่าจัดทำเอกสารประกอบการอบรมเป็นเงิน 500 บาท

    • ค่าวัสดุอุปกรณ์สาธิตและฝึกปฏิบัติเป็นเงิน 900 บาท

    • ค่าจัดทำวุฒิบัตร/บัตรประจำตัว ผู้ผ่านการอบรม เป็นเงิน 1,200บาท

    • ค่าจัดทำรูปเล่ม เป็นเงิน 500 บาท

    กำหนดการอบรม หลักสูตรอบรมผู้ประกอบกิจการ (ระยะเวลา 6 ชั่วโมง)

    ณ.ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ

    08.30 – 09.00 น. - ลงทะเบียน และจัดทำแบบทดสอบก่อนการอบรม

    โดยวิทยากร ดร.วรวลัญช์ ทองขาว นักวิชาการสุขาภิบาลชำนาญการรักษาการ นักวิชาการสุขาภิบาลการพิเศษ

    09.00 – 10.00 น. หลักการสุขาภิบาลอาหาร และ อันตรายที่เกิดจากอาหารและน้ำที่ไม่สะอาดปลอดภัย (60 นาที)

    10.00 – 11.00 น. สุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้สัมผัสอาหาร (60 นาที)

    11.00 – 12.00 น. การสาธิตและฝึกปฏิบัติ (60 นาที)

    • วิธีการล้างผัก และผลไม้ ที่ถูกวิธี

    • วิธีการล้างมือ การหยิบจับอาหาร และการแต่งกายที่ถูกสุขลักษณะ

    • การเลือก ล้างภาชนะ อุปกรณ์

    • การเลือกใช้เครื่องปรุงรสอาหาร

    • หลักการทำงาน และการดูแลรักษาบ่อดักไขมัน

    • เทคนิคการตรวจทางด้านชีวภาพ

    โดยใช้ชุดทดสอบ SI-2 หรือ อ 13 (SI Medium)

    • เทคนิคการตรวจทางด้านเคมี
    • โดยใช้ชุดทดสอบบอแรกซ์ ฟอร์มาลีน สารฟอกขาว สารกันรา และยาฆ่าแมลง

    13.00 – 14.00 น. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบกิจการด้านอาหาร (60 นาที)

    14.00 – 15.00 น. การบริหารจัดการสถานประกอบกิจการด้านอาหาร (60 นาที)

    15.00 – 16.00. น. มาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบกิจการด้านอาหาร (60 นาที)

    16.00 – 16.50 น. จัดทำแบบทดสอบหลังการอบรม (50 นาที)

    16.50 – น. มอบวุฒิบัตร /หนังสือรับรองการผ่านอบรม

    ปิดการอบรม

    งบประมาณ 13,132.00 บาท
  • 2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้สัมผัสอาหาร
    รายละเอียด
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 60 คนๆ ละ 1 มื้อๆละ 35 บาท เป็นเงิน2,100 บาท

    • ค่าวัสดุอุปกรณ์ประกอบการอบรม เช่น ปากกา, แฟ้ม จำนวน 60ชุด ชุดละ 30บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

    • ค่าสมนาคุณวิทยากรจำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน1,800บาท

    • ค่าจัดทำเอกสารประกอบการอบรม เป็นเงิน1,000 บาท

    • ค่าจัดทำวุฒิบัตร/บัตรประจำตัว ผู้ผ่านการอบรม เป็นเงิน2,400 บาท

    กำหนดการ หลักสูตรอบรมผู้สัมผัสอาหาร(ระยะเวลา 3 ชั่วโมง)

    08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน และจัดทำแบบทดสอบก่อนการอบรม

    โดยวิทยากรนางสาวฐานิศา สาเบด นวก.สาธารณสุขชำนาญการ

    09.00 – 09.40 น. หลักการและมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบกิจการด้านอาหาร (40 นาที)

    09.40 – 10.20 น. สุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้สัมผัสอาหาร (40 นาที)

    10.20 – 11.00 น. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สัมผัสอาหาร (40 นาที)

    11.00 – 12.00. น. การสาธิตและฝึกปฏิบัติ (60 นาที)

    • วิธีการล้างผัก และผลไม้ ที่ถูกวิธี

    • วิธีการล้างมือ การหยิบจับอาหาร และการแต่งกายที่ถูกสุขลักษณะ

    • การเลือก ล้างภาชนะ อุปกรณ์

    • การเลือกใช้เครื่องปรุงรสอาหาร

    • หลักการทำงาน และการดูแลรักษาบ่อดักไขมัน

    • เทคนิคการตรวจทางด้านชีวภาพ

    โดยใช้ชุดทดสอบ SI-2 หรือ อ 13 (SI Medium)

    • เทคนิคการตรวจทางด้านเคมี

    โดยใช้ชุดทดสอบบอแรกซ์ ฟอร์มาลีน สารฟอกขาว สารกันรา และยาฆ่าแมลง

    12.00 – 12.20 น.จัดทำแบบทดสอบหลังการอบรม (20 นาที)

    12.30 น. มอบวุฒิบัตร /หนังสือรับรองการผ่านอบรม

    ปิดการอบรม

    งบประมาณ 9,100.00 บาท
  • 3. กิจกรรมตรวจสอบความสะอาดปราศจากเชื้อแบคทีเรียฯ
    รายละเอียด
    • ค่าถ่ายเอกสารแบบตรวจสุขาภิบาลอาหาร

    เป็นเงิน2,000บาท

    • ค่าชุดทดสอบทางด้านแบคทีเรีย อ.13 (น้ำยา SI2)

    6กล่องกล่องละ 700 บาทเป็นเงิน4,200บาท

    • ค่าชุดทดสอบทางด้านแบคทีเรีย (อ.11)

    1กล่อง กล่องละ700บาท เป็นเงิน 700บาท

    • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินการ เช่น แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ สำลีไม้พันสำลี

    เป็นเงิน2,000บาท

    งบประมาณ 8,900.00 บาท
  • 4. จัดเวทีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร้านอาหารปลอดโฟม
    รายละเอียด

    ค่าอาหารว่างเเละเครื่องดื่ม40 คน X 50 บาทเป็นเงิน 2,000 บาท

    ค่าอาหารกลางวัน40 คน x 80 บาทเป็นเงิน3,200 บาท

    ค่าห้องประชุม เป็นเงิน4,000 บาท

    ค่าตกแต่งสถานที่ เป็นเงิน1,500 บาท

    ค่าวิทยากร600บาทX 4 ชั่วโมงเป็นเงิน2,400 บาท

    กำหนดการ

    09.00 น. - 09.30 น.ลงทะเบียน

    09.30 น. -10.00 น. พิธีเปิด

    10.00 น. - 12.00 น. จัดเวทีประชุมวิชาการและเวทีเเลกเปลี่ยนเรียนรู้แผงลอยปลอดโปร่ง โดยวิทยากร นางสาวนีลยา เหมรา

    12.00 น. -13.00 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน

    13.00 น. -14.00 น.จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ และ

    ชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอย โดยวิทยากร นายปรีชาปันดีกา

    14.00 น. - 14.30 น.พีธีมอบเกียรติบัตร ให้กับผู้ประกอบการร้านอาหาร จำนวน 30 ท่าน

    งบประมาณ 13,100.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566

8.
สถานที่ดำเนินการ

ตำบลปากน้ำ

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 44,232.00 บาท

หมายเหตุ : ทุกรายการถั่วเฉลี่ยกันได้

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร และผู้สัมผัสอาหาร มีความรู้ ความเข้าใจ หลักการสุขาภิบาลอาหาร กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  2. ผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร สามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปพัฒนาสถานประกอบการให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

  3. ผู้บริโภคได้รับประทานอาหารที่สะอาด ถูกหลักอนามัย

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ รหัส กปท. L5312

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ รหัส กปท. L5312

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 44,232.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................