กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจหาสารพิษตกค้างในเกษตรกร หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะแพน

หมู่ที่ 2,4,5 ตำบลตะแพน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชากรที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งต่างๆ จำนวน 8 คน

 

8.00
2 จำนวนของเกษตรกร(คน)ที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

 

31.00

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงปวดเมื่อย โรคมะเร็ง เป็นสาเหตุการป่วยที่สำคัญของชุมชน มีหลายปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สารเคมีในการทำเกษตร การบริโภคผักที่มีสารเคมีเจือปน โดยไม่ได้ปลูกเองเนื่องจากปัญหาเป็นต้นเหตุของอีกหลายๆปัญหา ในปัจจุบันจะมีการรณรงค์ส่งเสริมในเรื่องการ ลด ละ เลี่ยง เลิก การใช้สารพิษในการเกษตร แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงชินกับรูปแบบเดิมโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยทางด้านสุขภาพของผู้บริโภคการปลูกพืช ผักสวนครัวที่ปลอดสารพิษ ทำให้ผู้บริโภคมีสุขภาพร่างกายที่ดีสมาชิกในครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกันใช้เป็นอาหารในครัวเรือนลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนพึ่งพาตนเองและสามารถดำเนินชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ลดความเสี่ยงจากสารเคมีสะสมในร่างกาย เพื่อให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง จากการได้รับประทานผักปลอดสารพิษ ในปริมาณที่เพียงพอซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดลงลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วย
นำมาสู่สุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะแพน จึงได้จัดทำโครงการตรวจหาสารพิษตกค้างในเกษตรกรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ปี 2566เพื่อให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี สร้างความตระหนักให้ครัวเรือนเห็นถึงความสำคัญของการบริโภคอาหารปลอดภัย ได้ตระหนักถึงโทษของการบริโภคผักปนเปื้อนสารเคมีทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และลดอัตราการเกิดโรคที่เกิดจากการได้รับสารเคมีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชน มีความรู้ ตระหนักหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี และบริโภคอาหารปลอดสารพิษ

กลุ่มเป้าหมายได้รับการอบรมให้ความรู้ ร้อยละ 90

150.00 150.00
2 กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสารพิษตกค้างในเลือด

กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสารพิษตกค้างในเลือด      ทุกราย

150.00 150.00
3 เพื่อลดปัญหาเกษตรกรมีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

จำนวนของเกษตรกรที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย(คน)

31.00 24.00
4 ลดอัตราการเกิดโรคที่เกิดจากการได้รับสารเคมี

อัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งรายใหม่ ลดลง 20%

8.00 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 14/06/2023

กำหนดเสร็จ 14/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย ในการตระหนักหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี

ชื่อกิจกรรม
1.อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย ในการตระหนักหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย  ในการตระหนักหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี     - อาหารว่างและเครื่องดื่มแกนนำเกษตรกรผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 150 คน x 2 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน          7,500 บาท           ครั้งที่ 1   วันที่  14  มิถุนายน  2566  เวลา 13.00 - 16.00 น.     ครั้งที่ 2   วันที่  14  กันยายน  2566  เวลา 13.00 - 16.00 น.    -  ค่าแผ่นพับความรู้เรื่องการปฏิบัติตนและดูแลตนเอง ป้องกันสารพิษตกค้างในร่างกาย จำนวน           225 แผ่น x 2 บาท เป็นเงิน 450 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 มิถุนายน 2566 ถึง 14 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายได้รับการอบรมให้ความรู้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7950.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมตรวจสารพิษตกค้างในเลือดของเกษตรกร จำนวน 2 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมตรวจสารพิษตกค้างในเลือดของเกษตรกร จำนวน 2 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมตรวจสารพิษตกค้างในเลือดของเกษตรกร จำนวน 2 ครั้ง
    ครั้งที่ 1   วันที่  14  มิถุนายน  2566  เวลา 08.30 - 12.00 น.     ครั้งที่ 2   วันที่  14  กันยายน  2566  เวลา 08.00 - 12.00 น. -  ค่าชุดทดสอบสารพิษตกค้างในเลือด (โคลีนเอสเตอเรส)  150 แถบ x 2 ครั้ง x 10 บาท  เป็นเงิน  3,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 มิถุนายน 2566 ถึง 14 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสารพิษตกค้างในเลือด 2 ครั้ง สามารถทราบถึงระดับสารพิษตกค้างในร่างกายและ ส่งเสริมให้ประชาชนบริโภคอาหารปลอดสารพิษ
  2. อัตราการเกิดโรคมะเร็งรายใหม่ลดลง 20%
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายได้รับการอบรมให้ความรู้ ร้อยละ 90
2. กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสารพิษตกค้างในเลือด 2 ครั้ง สามารถทราบถึงระดับสารพิษตกค้างในร่างกายและ ส่งเสริมให้ประชาชนบริโภคอาหารปลอดสารพิษ
3. อัตราการเกิดโรคมะเร็งรายใหม่ลดลง 20%


>