กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองตะลุบัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

การประเมินภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานทางการยศาสตร์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองตะลุบัน

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรี

1.นางสาวจารุตา ศรีแก้ว
2.นางคอลีเยาะ เจะแว
3.นางสาวนุรรียา เจะมะ

เทศบาลเมืองตะลุบัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาการบาดเจ็บของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น จากท่าทางซ้ำๆ หรือการออกแรงเกินกำลัง รวมทั้งท่าทางที่ฝืนธรรมชาติ ซึ่งในงานอุตสาหกรรมได้นำเครื่องจักรเข้ามาใช้ในการปฏิบัติงานมากขึ้น โดยส่วนใหญ่ถูกออกแบบให้สอดคล้องกับกระบวนการผลิต แต่ไม่มีการใช้หลักการยศาสตร์ในการออกแบบตั้งแต่ต้น จุดปฏิบัติงานจึงไม่เหมาะสมกับสรีระของพนักงาน และสภาพการปฏิบัติงานไม่เหมาะสม จนเป็นเหตุให้เกิดสภาวะผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อ อุตสาหกรรมในปัจจุบันเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยคนงานในทุกขั้นตอนของการผลิตร่วมกับการใช้เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และสารเคมี ทำให้คนงานมีโอกาสสัมผัสปัจจัยคุกคามทางสุขภาพทั้งจากสภาพแวดล้อมการทำงานและสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยอาจก่อให้เกิดการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บอันเนื่องมาจากการทำงาน เมื่อวิเคราะห์อันตรายจากการทำงาน พบว่า กระบวนการผลิตจะต้องเผชิญปัจจัยคุกคามทางสุขภาพจากการทำงานที่สำคัญ ได้แก่ ปัจจัยคุกคามด้านกายภาพ ด้านเคมี และด้านการยศาสตร์ รวมทั้งสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งปัญหาด้านการยศาสตร์ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการมี 4 ประการ คือ การประสบอันตรายจากการยกหรือเคลื่อนย้ายของหนัก การประสบอันตรายจากท่าทางการทำงาน อาการเจ็บป่วยจากการเคลื่อนย้ายของหนัก และอาการเจ็บจากท่าทางการทำงาน คนงานใช้กล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายเป็นเวลา 8 ชั่วโมง ทำให้คนงานมีปัญหาความผิดปกติของระบบโครงร่างและปวดกล้ามเนื้อทั้งเฉียบพลันและสะสมส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการทำงานของคนงาน
ดังนั้น เพื่อประเมินความเสี่ยงและเฝ้าระวังการเกิดการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ อีกทั้งส่งเสริมพฤติกรรมที่ถูกต้องเพื่อป้องกันการปวดกล้ามเนื้อและโครงร่างกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน นำไปสู่มาตรการป้องกันอย่างเหมาะสม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินความเสี่ยงจากการสัมผัสสิ่งคุกคามต่อสุขภาพทางการยศาสตร์ของคนงาน

ร้อยละ 50 คนงานในโรงงานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงานลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากการทำงาน

0.00
2 เพื่อแนะนำมาตรการลดความเสี่ยงจากการสัมผัสสิ่งคุกคามต่อสุขภาพทางการยศาสตร์ของคนงาน

ร้อยละ 50 คนงานในโรงงานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงานลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากการทำงาน

0.00

2. เพื่อแนะนำมาตรการลดความเสี่ยงจากการสัมผัสสิ่งคุกคามต่อสุขภาพทางการยศาสตร์ของคนงาน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/06/2023

กำหนดเสร็จ 31/10/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงแผนงาน/โครงการแก่เจ้าหน้าที่ และทีมวิทยากรในการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงแผนงาน/โครงการแก่เจ้าหน้าที่ และทีมวิทยากรในการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มิถุนายน 2566 ถึง 31 ตุลาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 การบรรยาย/แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานที่ถูกต้อง และส่ง เสริมสุขภาพด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด

ชื่อกิจกรรม
การบรรยาย/แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานที่ถูกต้อง และส่ง เสริมสุขภาพด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อ x 15 คน x 25
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ x 30 คน x 50 บาท x 1 วัน
  • ค่าอาหารกลางวัน จนท./วิทยากร 1 มื้อ x 9 คน x 50 บาท x 1 วัน 
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ x 30 คน x 25 บาท x 1 วัน
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จนท./วิทยากร จำนวน 2 มื้อ x 9 คน x 25 บาท x 1 วัน
  • ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย 600 บาท x 3 ชั่วโมง x 1 วัน x 3 คน
  • ค่าวิทยากรกลุ่ม  300 บาท  x  4  ชั่วโมง x  1  วัน  x 8 คน
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ 1.5 เมตร x 2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย 
  • ค่าป้ายไวนิลการยศาสตร์ 0.8 x 1.8 เมตร จำนวน 7 ป้าย x 320 บาท
  • ค่าขาตั้งป้ายไวนิลการยศาสตร์     จำนวน 8 อัน x 450 บาท
  • ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม
  • ค่าวัสดุเครื่องเขียน และอุปกรณ์ ได้แก่ กระดาษ A4 x 2 รีม x 360 บาท
    ปากกา x 30 ด้าม x 450 บาท
    หมุดยึดไวนิล x 1 กล่อง x 75 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มิถุนายน 2566 ถึง 16 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28720.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,720.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ทราบถึงระดับความเสี่ยงจากการสัมผัสสิ่งคุกคามต่อสุขภาพทางการยศาสตร์ของคนงาน
2. สถานประกอบการสามารถนำมาตรการมาใช้ในการลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากการทำงาน


>