กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การประเมินภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานทางการยศาสตร์
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรี
วันที่อนุมัติ 16 มิถุนายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 มิถุนายน 2566 - 31 ตุลาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,720.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาการบาดเจ็บของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น จากท่าทางซ้ำๆ หรือการออกแรงเกินกำลัง รวมทั้งท่าทางที่ฝืนธรรมชาติ ซึ่งในงานอุตสาหกรรมได้นำเครื่องจักรเข้ามาใช้ในการปฏิบัติงานมากขึ้น โดยส่วนใหญ่ถูกออกแบบให้สอดคล้องกับกระบวนการผลิต แต่ไม่มีการใช้หลักการยศาสตร์ในการออกแบบตั้งแต่ต้น จุดปฏิบัติงานจึงไม่เหมาะสมกับสรีระของพนักงาน และสภาพการปฏิบัติงานไม่เหมาะสม จนเป็นเหตุให้เกิดสภาวะผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อ อุตสาหกรรมในปัจจุบันเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยคนงานในทุกขั้นตอนของการผลิตร่วมกับการใช้เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และสารเคมี ทำให้คนงานมีโอกาสสัมผัสปัจจัยคุกคามทางสุขภาพทั้งจากสภาพแวดล้อมการทำงานและสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยอาจก่อให้เกิดการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บอันเนื่องมาจากการทำงาน เมื่อวิเคราะห์อันตรายจากการทำงาน พบว่า กระบวนการผลิตจะต้องเผชิญปัจจัยคุกคามทางสุขภาพจากการทำงานที่สำคัญ ได้แก่ ปัจจัยคุกคามด้านกายภาพ ด้านเคมี และด้านการยศาสตร์ รวมทั้งสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งปัญหาด้านการยศาสตร์ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการมี 4 ประการ คือ การประสบอันตรายจากการยกหรือเคลื่อนย้ายของหนัก การประสบอันตรายจากท่าทางการทำงาน อาการเจ็บป่วยจากการเคลื่อนย้ายของหนัก และอาการเจ็บจากท่าทางการทำงาน คนงานใช้กล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายเป็นเวลา 8 ชั่วโมง ทำให้คนงานมีปัญหาความผิดปกติของระบบโครงร่างและปวดกล้ามเนื้อทั้งเฉียบพลันและสะสมส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการทำงานของคนงาน
ดังนั้น เพื่อประเมินความเสี่ยงและเฝ้าระวังการเกิดการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ อีกทั้งส่งเสริมพฤติกรรมที่ถูกต้องเพื่อป้องกันการปวดกล้ามเนื้อและโครงร่างกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน นำไปสู่มาตรการป้องกันอย่างเหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินความเสี่ยงจากการสัมผัสสิ่งคุกคามต่อสุขภาพทางการยศาสตร์ของคนงาน

ร้อยละ 50 คนงานในโรงงานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงานลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากการทำงาน

0.00
2 เพื่อแนะนำมาตรการลดความเสี่ยงจากการสัมผัสสิ่งคุกคามต่อสุขภาพทางการยศาสตร์ของคนงาน

ร้อยละ 50 คนงานในโรงงานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงานลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากการทำงาน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 28,720.00 0 0.00
16 มิ.ย. 66 - 31 ต.ค. 66 ประชุมชี้แจงแผนงาน/โครงการแก่เจ้าหน้าที่ และทีมวิทยากรในการดำเนินงาน 0 0.00 -
16 มิ.ย. 66 การบรรยาย/แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานที่ถูกต้อง และส่ง เสริมสุขภาพด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด 0 28,720.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทราบถึงระดับความเสี่ยงจากการสัมผัสสิ่งคุกคามต่อสุขภาพทางการยศาสตร์ของคนงาน
  2. สถานประกอบการสามารถนำมาตรการมาใช้ในการลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากการทำงาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2566 15:13 น.