กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าหิน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนร่วมใจขจัดภัยโรคไข้เลือดออกปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าหิน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน

หมู่ที่ 7-9 ตำบลท่าหิน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง ซึ่งมียุงเป็นพาหะนำโรค สามารถพบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี แต่มักพบการระบาดในฤดูฝนผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงลอยตลอดเวลาหน้าแดงปวดศีรษะ เบื่ออาหาร อาเจียน ซึม ถ้ารักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้ จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรคติดต่อ สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2565 ตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 พบผู้ป่วย 6485 ราย เสียชีวิต 6 ราย โดยพบมากในช่วงอายุ 5-14 ปี และ 15-24 ปี ตามลำดับ จากสถานการณ์ดังกล่าวคาดว่าจะมีแนวโน้มในการระบาดเพิ่มขึ้น แม้ว่าในช่วงระยะเวลาเดียวกันในปี 2565 จะมีรายงานน้อยกว่าในปี 2564 ก็ตาม และสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในจังหวัดสงขลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 - 1 กันยายน 2565 พบผู้ป่วย 32 รายคิดเป็นอัตราการป่วย 2.27 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต กลุ่มที่พบว่าป่วยสูงสุดในช่วงอายุ 10-14 ปีคิดเป็นอัตราการป่วย 5.99 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งมีแนวโน้มที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับปี 2564 ในช่วงเวลาเดียว
จากข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของอำเภอสทิงพระ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 - 31 ธันวาคม 2564พบผู้ป่วย 24 ราย อัตราป่วย 51.49 แสนต่อประชากร ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2565ในพื้นที่ พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในหมู่ที่ 8 ตำบลท่าหิน จำนวน 1 รายคิดเป็นอัตราป่วย 60.93 ต่อแสนประชากร ซึ่งไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน แต่อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์ในภาพรวม คาดว่าโอกาสเสี่ยงจะเกิดโรคไข้เลือดออกมีสูง ประกอบกับการระบาดของโรคเกิดในพื้นที่ใกล้เคียงค่อนข้างสูงมากจากการสำรวจสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายของหมู่ที่ 7-9 ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา กลางเดือนกันยายน 2565 ค่า HI มีค่า 12.5 (เกินเกณฑ์มาตรฐาน)ตามเกณฑ์ HI < 10 และ CI = 0 (ไม่เกินเกณฑ์) ประกอบกับสภาพปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาของพื้นที่เอื้อต่อการเพาะพันธุ์ยุงลายทำให้มีโอกาสเกิดไข้เลือดออกได้ และการรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ได้บรรลุผลสำเร็จนั้น จะต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจัง จากทุกๆฝ่ายไม่ว่าหน่วยงานของภาครัฐ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครสาธาณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน โรงเรียน และประชาชนทั่วไปจากหลักการและเหตุผลดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน จึงจัดทำโครงการชุมชนร่วมใจขจัดภัยไข้เลือดออกเพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการกำจัดยุงลายอย่างต่อเนื่อง

ประชาชนในครัวเรือนมีส่วนร่วมในการกำจัดยุงลายร้อยละ 100 ของหลังคาเรือน

359.00 359.00
2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน ให้ได้ตามเกณฑ์ค่า HI< 10 และโรงเรียน/วัด/สถานบริการ มีค่า CI=0

ภาคีเครือข่าย(องค์กรชุมชน ท้องถิ่น วัด โรงเรียน)มีส่วนร่วมกำจัดยุงลายร้อยละ 100

5.00 5.00
3 เพื่อให้จำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่รับผิดชอบลดลงเมื่อเทียบกับค่า MEDAIN ย้อนหลัง 5ปี

ร้อยละ 100 ของสถานที่ (วัด/โรงเรียน/รพสต.)มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย
ร้อยละ 100 ของหมู่บ้านมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้านโดยมีค่า HI<10

5.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมรณรงค์ปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าทรายเทเมฟอสจำนวน 3 ถังๆละ4500บาท เป็นเงิน13500บาท 2.ค่าสเปรย์ยาฉีดป้องกันยุง จำนวน 24 กระป๋องๆละ 60 เป็น 1440 บาท 3.โลชั่นทากันยุงจำนวน 120 ซองๆละ 6 บาท เป็นเงิน 720 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15660.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,660.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน สามารถสร้างหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย โดยการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ทั้งทางด้านเทคนิคและวิชาการ อันเป็นกระบวนการแก้ไขปัญหาโรคในท้องถิ่นโดยกลวิธีทางด้านสาธารณสุขมูลฐาน โดยชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไขปัญหาในพื้นที่
2.ทุกหมู่บ้าน ชุมชน มีค่า HI < 10 และวัด โรงเรียน สถานบริการ ค่า CI=0
3.สามารถลดอัตราป่วย อัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตรับผิดชอบ จนเป็นพื้นที่ปลอดไข้เลือดออกได้อย่างต่อเนื่อง


>