กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจขจัดภัยโรคไข้เลือดออกปี 2566
รหัสโครงการ 66-L5240-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน
วันที่อนุมัติ 10 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,660.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพรชัย กลัดเข็มทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง ซึ่งมียุงเป็นพาหะนำโรค สามารถพบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี แต่มักพบการระบาดในฤดูฝนผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงลอยตลอดเวลาหน้าแดงปวดศีรษะ เบื่ออาหาร อาเจียน ซึม ถ้ารักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้ จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรคติดต่อ สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2565 ตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 พบผู้ป่วย 6485 ราย เสียชีวิต 6 ราย โดยพบมากในช่วงอายุ 5-14 ปี และ 15-24 ปี ตามลำดับ จากสถานการณ์ดังกล่าวคาดว่าจะมีแนวโน้มในการระบาดเพิ่มขึ้น แม้ว่าในช่วงระยะเวลาเดียวกันในปี 2565 จะมีรายงานน้อยกว่าในปี 2564 ก็ตาม และสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในจังหวัดสงขลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 - 1 กันยายน 2565 พบผู้ป่วย 32 รายคิดเป็นอัตราการป่วย 2.27 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต กลุ่มที่พบว่าป่วยสูงสุดในช่วงอายุ 10-14 ปีคิดเป็นอัตราการป่วย 5.99 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งมีแนวโน้มที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับปี 2564 ในช่วงเวลาเดียว จากข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของอำเภอสทิงพระ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 - 31 ธันวาคม 2564พบผู้ป่วย 24 ราย อัตราป่วย 51.49 แสนต่อประชากร ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2565ในพื้นที่ พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในหมู่ที่ 8 ตำบลท่าหิน จำนวน 1 รายคิดเป็นอัตราป่วย 60.93 ต่อแสนประชากร ซึ่งไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน แต่อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์ในภาพรวม คาดว่าโอกาสเสี่ยงจะเกิดโรคไข้เลือดออกมีสูง ประกอบกับการระบาดของโรคเกิดในพื้นที่ใกล้เคียงค่อนข้างสูงมากจากการสำรวจสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายของหมู่ที่ 7-9 ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา กลางเดือนกันยายน 2565 ค่า HI มีค่า 12.5 (เกินเกณฑ์มาตรฐาน)ตามเกณฑ์ HI < 10 และ CI = 0 (ไม่เกินเกณฑ์) ประกอบกับสภาพปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาของพื้นที่เอื้อต่อการเพาะพันธุ์ยุงลายทำให้มีโอกาสเกิดไข้เลือดออกได้ และการรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ได้บรรลุผลสำเร็จนั้น จะต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจัง จากทุกๆฝ่ายไม่ว่าหน่วยงานของภาครัฐ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครสาธาณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน โรงเรียน และประชาชนทั่วไปจากหลักการและเหตุผลดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน จึงจัดทำโครงการชุมชนร่วมใจขจัดภัยไข้เลือดออกเพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการกำจัดยุงลายอย่างต่อเนื่อง

ประชาชนในครัวเรือนมีส่วนร่วมในการกำจัดยุงลายร้อยละ 100 ของหลังคาเรือน

359.00 359.00
2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน ให้ได้ตามเกณฑ์ค่า HI< 10 และโรงเรียน/วัด/สถานบริการ มีค่า CI=0

ภาคีเครือข่าย(องค์กรชุมชน ท้องถิ่น วัด โรงเรียน)มีส่วนร่วมกำจัดยุงลายร้อยละ 100

5.00 5.00
3 เพื่อให้จำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่รับผิดชอบลดลงเมื่อเทียบกับค่า MEDAIN ย้อนหลัง 5ปี

ร้อยละ 100 ของสถานที่ (วัด/โรงเรียน/รพสต.)มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย
ร้อยละ 100 ของหมู่บ้านมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้านโดยมีค่า HI<10

5.00 5.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมรณรงค์ปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม 0 15,660.00 -
รวม 0 15,660.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน สามารถสร้างหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย โดยการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ทั้งทางด้านเทคนิคและวิชาการ อันเป็นกระบวนการแก้ไขปัญหาโรคในท้องถิ่นโดยกลวิธีทางด้านสาธารณสุขมูลฐาน โดยชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไขปัญหาในพื้นที่ 2.ทุกหมู่บ้าน ชุมชน มีค่า HI < 10 และวัด โรงเรียน สถานบริการ ค่า CI=0 3.สามารถลดอัตราป่วย อัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตรับผิดชอบ จนเป็นพื้นที่ปลอดไข้เลือดออกได้อย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2566 00:00 น.