กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เขตภาษีเจริญ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันการพลัดตกหกล้มในชุมชนกัลปพฤกษ์ ม.4

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เขตภาษีเจริญ

ชุมชนกัลปพฤกษ์ ม.4

1.นางสาววิไล อยู่ยงสิน
2.นายสำเริง สมานวง
3.นายสุวิทย์ สุขเกษม
4.นางสมใจ ฉ่อนเจริญ
5.นางประหยัด ศรีสุข

ชุมชนกัลปพฤกษ์ ม.4

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

52.38

ปัจจุบันโครงสร้างประชากรของประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ และสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในภาวะเช่นนี้คือ การเตรียมพร้อมเพื่อการป้องกันการเกิดโรคภัยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมาพร้อมๆ กับอายุที่ยืนยาวขึ้น และภาวะหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ คือ ภาวะพลัดตกหกล้ม ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับอายุที่มากขึ้น ความเสื่อมของร่างกายและโรคเรื้อรังต่างๆ ในผู้สูงอายุ ส่งผลให้ร่างกายไม่แข็งแรงและการทรงตัวได้ไม่ดีพอ จึงทำให้เสี่ยงต่อการพลัดตก หกล้มได้ง่ายกว่าวัยอื่นๆ หลายเท่าตัว บางรายอาจ มีแค่อาการบาดเจ็บเล็กน้อยหลังหกล้ม แต่บางรายกลับเกิดการบาดเจ็บรุนแรง เช่น กระดูกหัก ภาวะเลือดคั่งในสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต และรุนแรงที่สุด คือ เสียชีวิต ผลกระทบของการพลัดตกหกล้มส่งผลทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ ผลกระทบต่อจิตใจทำให้เกิดการกลัวต่อการหกล้ม สูญเสียความมั่นใจในการทำกิจกรรม ผลกระทบด้านเศรษฐกิจต้องเสียค่ารักษา พยาบาล และการฟื้นฟูสภาพเป็นเวลานาน และการดูแลที่ต่อเนื่อง ตลอดจนส่งผลต่อการขาดรายได้ของสมาชิกในครอบครัวที่ต้องมาดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับบาดเจ็บจากการพลัดตกหกล้ม แต่ปัญหาดังกล่าวสามารถป้องกันและแก้ไขได้หากเข้าใจถึงความเสี่ยงและการดูแลที่เหมาะสม ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลริโก๋ ได้ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมา จากภาวะพลัดตก หกล้มในผู้สูงอายุ จึงได้จัดทำโครงการ “ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ห่างไกลพลัดตกหกล้ม ปีงบประมาณ 2566” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ และมีความรู้ในการป้องกันการเกิดภาวะพลัดตก หกล้ม และสามารถดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองได้ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

เพื่อให้ผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถปฏิบัติตัวใน เรื่องการป้องกันการพลัดตกหกล้มได้

52.38 60.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุ ทราบแนวทางในการดูแลตนเอง และตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเอง ป้องกันการพลัดตกหกล้มได้

ผู้สูงอายุ ทราบแนวทางในการดูแลตนเอง และตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเอง ป้องกันการพลัดตกหกล้มได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2023

กำหนดเสร็จ 27/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองภาวะพลัดตกหกล้มในกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองภาวะพลัดตกหกล้มในกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรองภาวะพลัดตกหกล้มในกลุ่มเป้าหมาย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 8 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ได้กลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม
  • สร้างความตระหนักต่อการดูแลผู้สูงอายุ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรม ให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย เรื่องการป้องกันการพลัดตกหกล้มได้

ชื่อกิจกรรม
อบรม ให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย เรื่องการป้องกันการพลัดตกหกล้มได้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรม ให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย เรื่องการป้องกันการพลัดตกหกล้มได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กรกฎาคม 2566 ถึง 27 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถปฏิบัติตัวใน เรื่องการป้องกันการพลัดตกหกล้มได้ จำนวน 30 คน
  2. ผู้สูงอายุ ทราบแนวทางในการดูแลตนเอง และตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเอง ป้องกันการพลัดตกหกล้มได้
  3. เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สูงอายุในกลุ่มเป้าหมาย ได้ทำกิจกรรรมและได้พบปะพูดคุยใกล้ชิดกัน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
130000.00

กิจกรรมที่ 3 สรุป ติดตามประเมินผล สร้างกลไกการดูแลผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
สรุป ติดตามประเมินผล สร้างกลไกการดูแลผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดประชุมสรุปผลการดำเนินงาน
  2. จัดตั้งคณะทำงานกลไกดูแลผู้สูงอายุตามกลุ่มเป้าหมาย 30 คน
  3. ติดตามเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สูงอายุในกลุ่มเป้าหมาย ได้ทำกิจกรรรมและได้พบปะพูดคุยใกล้ชิดกัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 130,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถปฏิบัติตัวใน เรื่องการป้องกันการพลัดตกหกล้มได้ 2.ผู้สูงอายุ ทราบแนวทางในการดูแลตนเอง และตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเอง ป้องกันการพลัดตกหกล้มได้ 3.เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สูงอายุในกลุ่มเป้าหมาย ได้ทำกิจกรรรมและได้พบปะพูดคุยใกล้ชิดกัน


>