กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังการบริโภคอาหารสะอาด ปลอดภัยจากสารปนเปื้อน และคุ้มครองผู้บริโภค รพ.สต.ท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปี2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าหิน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังการบริโภคอาหารสะอาด ปลอดภัยจากสารปนเปื้อน และคุ้มครองผู้บริโภค รพ.สต.ท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปี2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าหิน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าหิน

หมู่ที่ 1-6 ตำบลท่าหิน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อาหารเป็นปัจจัย 4 ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง การบริโภคอาหารที่สุก สะอาด ถูกต้อง เหมาะสม ทั้งประเภท ปริมาณครบถ้วน 5 หมู่ ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และยังช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันด้วย ในทางกลับกันการบริโภคอาหารที่ไม่สด สะอาด มีสารปนเปื้อนก็จะเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคได้อาหารจะสะอาดหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้ คือ อาหารหรือวัตถุดิบที่นำมาปรุง สถานที่ผลิตและประกอบการด้านอาหาร เช่น ร้านอาหาร แผงลอย ตลาด แผงขายอาหารสด และโรงครัว และร้านขายของชำ คนจำหน่าย คนปรุง และคนเสิร์ฟอาหาร ตลอดจนคนทำความสะอาดภาชนะ นอกจากนี้ก็ยังมีสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น แหล่งน้ำเสีย และแหล่งทิ้งขยะมูลฝอย เป็นต้น หากอาหารไม่สะอาด มีสารปนเปื้อน ปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ทำให้ผู้บริโภคมีอาการท้องเสียได้ จากสถานการณ์โรคอุจจาระร่วง ปี 2565 ของตำบลท่าหินได้รับรายงานผู้ป่วยโรค Diarrhea จำนวนทั้งสิ้น 35 ราย เป็นอัตราป่วย 1451.07 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต โดยพบมากในกลุ่มเด็ก 0-4 ปี อัตราป่วย 835.42 ต่อแสนประชากร ตามมาด้วยกลุ่มเด็กอายุ 5-9 ปี มีอัตราป่วย 294.37 ต่อแสนประชากรตามลำดับ โดยอาชีพส่วนใหญ่คือเด็กในปกครอง ซึ่งโรคอุจจาระร่วงยังเป็นปัญหาที่สำคัญของตำบลท่าหินและพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ โดยมีอัตราป่วยเกินกว่า 1000 ต่อแสนประชากร จากการดำเนินงานอาหารปลอดภัยและงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขของ รพ.สต.ท่าหิน ปี2565 ที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ เช่น โดยอบรมพี่เลี้ยงเด็กอายุ 0-4 ปี จำนวน 20 คน และ 2-4 ปี จำนวน 20 คน และผู้ประกอบอาหารในโรงเรียน จำนวน 2 คน ผู้ประกอบอาหารในงานเลี้ยงของชุมชน 3 คน การตรวจสารปนเปื้อนในแผงลอยจำหน่ายอาหารจำนวน 1 แผง คิดเป็นร้อยละ 100 แม้การดำเนินงานสุขาภิบาลอาหารของ รพ.สต.ท่าหิน จะเน้นกลุ่มเด็ก 0-4 ปี พี่เลี้ยงเด็ก ผู้ประกอบอาหารในโรงเรียน งานวัดต่างๆแล้วแต่ไม่สามารถทำให้โรคอุจจาระร่วงลดลงได้ จำเป็นต้องดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยแกนนำสุขาภิบาลอาหารของตำบลท่าหิน เช่น นักเรียน ครู ร้านค้า ผู้ดูแลเด็กเล็กในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตัวแทนร้านค้า ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าหิน จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังการบริโภคอาหารสะอาด ปลอดภัยจากสารปนเปื้อนคุ้มครองผู้บริโภค รพ.สต.ท่าหิน ปี 2566 ขึ้นเพื่อประชาชนตำบลท่าหินมีสุขภาพดีปราศจากโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหารไม่ถูกต้องต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ขายอาหารแผงลอยในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าหิน มีความรู้ในการดำเนินงานอาหารสะอาด ปลอดภัย ตระหนัก เห็นความสำคัญและร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาให้แผงลอยผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

ผู้ขายอาหารแผงลอยในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าหินมีความรู้ในการดำเนินงานอาหารสะอาดปลอดภัยร้อยละ 80

1.00 1.00
2 เพื่อให้กลุ่มแกนนำอบต. ผู้นำชุมชน อสม. ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าหิน มีความรู้เรื่องอาหารปลอดภัยสุขาภิบาลอาหาร สามารถเลือกซื้อ บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย

กลุ่มแกนนำ อบต. ผู้นำชุมชน อสม. ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและในโรงเรียน ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าหินมีความรู้เรื่องอาหารปลอดภัยสุขาภิบาลอาหารร้อยละ 80

34.00 34.00
3 เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็งแก่ผุูบริโภค

เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายแก่ผู้บริโภค ร้อยละ 80

34.00 34.00
4 เพื่อพัฒนาองค์กรปลอดโฟมและแผงลอยปลอดโฟม

เพื่อให้สถานประกอบการและร้านอาหาร แผงลอย ปลอดโฟมและพลาสติกที่เป็นอันตรายร้อยละ 100

5.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 45
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมสุขาภิบาลอาหาร

ชื่อกิจกรรม
อบรมสุขาภิบาลอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมสุขาภิบาลอาหาร จำนวน 34 คน 1.แผงลอยจำหน่ายอาหาร 2.กลุ่มแกนนำ อบต. 3.ผู้นำชุมชน 4.ผู้ประกอบการอาหารและครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน 5.ตัวแทนร้านค้า ค่าใช้จ่ายในการอบรม ดังนี้ -ค่าอาหารกลางวันผู้เข้ารับการอบรมสุขาภิบาล จำนวน 34 คนx1มื้อx50บาท เป็นเงิน 1700บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้ารับการอบรมสุขาภิบาลอาหารจำนวน 34 คน x 2 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 1700 บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม เป็นเงิน 6150 บาท -ค่าป้ายไวนิล 800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10350.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมสุขาภิบาลร่วมกับรถ Mobile สสจ.สงขลา

ชื่อกิจกรรม
อบรมสุขาภิบาลร่วมกับรถ Mobile สสจ.สงขลา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน ครู และนักเรียน ที่ร่วมอบรมประชาสัมพันธ์ด้านอาหารปลอดภัยร่วมกับรถ Mobile ของจังหวัด จำนวน 14 คน x 50 บาท เป็นเงิน 700 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ครูและนักเรียนที่ร่วมอบรมประชาสัมพันธ์ด้านอาหารปลอดภัยร่วมกับรถ Mobile จำนวน 14 คน x 2 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1400.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจสารปนเปื้อนในอาหารและทดสอบสารไอโอดีนในเกลือปรุงรส

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสารปนเปื้อนในอาหารและทดสอบสารไอโอดีนในเกลือปรุงรส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าชุดตรวจอาหารภาคสนามครบชุด จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 2500 บาท 1.1ค่าชุดตรวจ Sl-2 เป็นเงิน 1500 บาท 1.2ค่าชุดทดสอบเกลือไอโอดีน (I-KIT) จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ประกอบการอาหาร แผงลอย มีความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร และปฏิบัติตามมาตรฐานของสถานประกอบการ ประชาชนมีความรู้ เกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญในการเลือกซื้อและบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยได้คุณค่าทางอาหาร


>