กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการมารดาทารกปลอดภัย จัดการได้เมื่อเจอภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75

 

80.00

หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงด้วยโรคประจำตัวและภาวะเสี่ยงต่างๆเช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไทรอยด์ โรคหอบหืดและ ภาวะตกเลือดหลังคลอด ภาวะซีด การคลอดก่อนกำหนด หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงเหล่านี้ ควรได้รับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ซึ่งในการแก้ปัญหางานอนามัยแม่และเด็ก จำเป็นต้องดำเนินการหลายด้านไปพร้อมๆกันด้านมาตรฐานในการดำเนินงาน ระบบบริการงานอนามัยแม่และเด็ก เพื่อการบริการที่มีคุณภาพตามมาตรฐานกระบวนการคุณภาพตั้งแต่ก่อน ระยะตั้งครรภ์ คลอดหลังคลอดและการเลี้ยงดูบุตรอายุ๐-๕ปีโดยดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการบริการสุขภาพบริการ ซึ่งมุ่งหวังให้แม่ลูกปลอดภัยตลอดการตั้งครรภ์และคลอด ส่งเสริมในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่บุตรได้รับการเลี้ยงดูให้มีการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการสมวัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75

หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ และมาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์

80.00 75.00
2 หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์คุณภาพ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75

หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ตามนัดทุกครั้ง และได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์คุณภาพ

80.00 75.00
3 หญิงตั้งครรภ์/หลังคลอด ที่มีภาวะเสี่ยงต้องได้รับการติดตามเยี่ยมทุกเดือนร้อยละ 100

หญิงตั้งครรภ์/หลังคลอด ที่มีภาวะเสี่ยงทุกเคสได้รับการดูแลเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่ และ  แกนนำสตรี

90.00 80.00
4 แกนนำสตรีได้รับการอบรมพัฒนาความรู้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง และสามารถ คัดกรองส่งต่อได้ทันท่วงที ร้อยละ 100

แกนนำสตรีมีความรู้ในเรื่องภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์และสามารถดูแล ถ่ายทอดความรู้ส่งต่อเคสได้ถูกต้อง ทันท่วงที

90.00 85.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 80
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้/ฝึกปฏิบัติจำลองสถานการณ์การดูแล/ประเมินภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์ การส่งต่อเคส แก่แกนนำสตรี ม.3 และ ม.6 ต.กาบัง จำนวน 24 คน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้/ฝึกปฏิบัติจำลองสถานการณ์การดูแล/ประเมินภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์ การส่งต่อเคส แก่แกนนำสตรี ม.3 และ ม.6 ต.กาบัง จำนวน 24 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด 2 x 3 เมตร x 1 ผืน          เป็นเงิน  1,500     บาท     ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการขนาด 2 x 3 เมตร x 2 ผืน   เป็นเงิน  3,000     บาท
    ค่าอาหารกลางวัน  จำนวน 24 คน x 50 x 1 มื้อ            เป็นเงิน  1,200     บาท
         ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน  24 คน x 25 x 2 มื้อ    เป็นเงิน  1,200     บาท          ค่าวิทยากร จำนวน 5 ชม. X 300 X 1 วัน          เป็นเงิน 1,500      บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ และมาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8400.00

กิจกรรมที่ 2 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำลองสถานการณ์การดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงแก่หญิงตั้งครรภ์ สามี/ผู้ดูแล หญิงหลังคลอด/หญิงวัยเจริญพันธุ์ สามีผู้ดูแล ม.3 และ ม.6 ต.กาบัง จำนวน 80 คน

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำลองสถานการณ์การดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงแก่หญิงตั้งครรภ์ สามี/ผู้ดูแล หญิงหลังคลอด/หญิงวัยเจริญพันธุ์ สามีผู้ดูแล ม.3 และ ม.6 ต.กาบัง จำนวน 80 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารกลางวัน  จำนวน 80 คน x 50 x 1 มื้อ        เป็นเงิน  4,000    บาท
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน  80 คน x 25 x 2 มื้อ      เป็นเงิน  4,000    บาท ค่าวิทยากร จำนวน 5 ชม. X 300 X 1 วัน            เป็นเงิน  1,500    บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ตามนัดทุกครั้ง และได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์คุณภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9500.00

กิจกรรมที่ 3 ลงพื้นที่ติดตามเยี่ยม ดูแล ประเมินภาวะเสี่ยง แก่หญิงตั้งครรภ์/สามี ที่มีภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์ โดยแกนนำสตรี

ชื่อกิจกรรม
ลงพื้นที่ติดตามเยี่ยม ดูแล ประเมินภาวะเสี่ยง แก่หญิงตั้งครรภ์/สามี ที่มีภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์ โดยแกนนำสตรี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ลงพื้นที่ติดตามเยี่ยม ดูแล ให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์/สามี  ที่มีภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์ โดย   แกนนำสตรี จำนวน 48 หลังคาเรือนต่อเนื่องอย่างน้อย  เคสละ 5 ครั้ง 24 คน  x 100 บาท x 5 ครั้ง   เป็นเงิน 12,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 31 ตุลาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์/หลังคลอด ที่มีภาวะเสี่ยงทุกเคสได้รับการดูแลเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่ และ   แกนนำสตรี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ และมาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์
2หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ตามนัดทุกครั้ง และได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์คุณภาพ
3หญิงตั้งครรภ์/หลังคลอด ที่มีภาวะเสี่ยงทุกเคสได้รับการดูแลเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่ และ แกนนำสตรี
4แกนนำสตรีมีความรู้ในเรื่องภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์และสามารถดูแล ถ่ายทอดความรู้ส่งต่อเคสได้ถูกต้อง ทันท่วงที


>