กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเพิ่มกิจกรรมทางกายด้วยสื่อการเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็ก (Active learning active play) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโหนด

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเพิ่มกิจกรรมทางกายด้วยสื่อการเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็ก (Active learning active play) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโหนด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโหนด

-

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโหนด หมู่ที่ 10 ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเวลาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีการเรียนการสอนมีกิจกรรมทางกายด้วยสื่อการเรียนรู้และการเล่นอย่างสร้างสรรค์ (Active learning active play)

 

60.00

ในปีงบประมาณ 2566 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโหนด มีเด็กเล็กอายุ 2- 3 ปี เข้ารับการเลี้ยงดูจำนวน 20 คน ซึ่งในหนึ่งภาคเรียนมีเวลาเรียน 100 วัน วันละ 5 ชั่วโมง รวม 500 ชั่วโมงจากการจัดการเรียนการสอนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโหนด ได้จัดเวลาการเรียนรู้ที่มีกิจกรรมทางกาย จำนวน 3 ชั่วโมง/วัน ดังนั้น ในหนึ่งภาคเรียน (100 วัน)จึงจัดการเรียนรู้ที่มีกิจกรรมทางกายได้จำนวน 300 ชั่วโมงจากเวลาเรียนทั้งหมด 500 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 60 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโหนดมีความประสงค์จะเพิ่มเวลาในการมีกิจกรรมทางกายของเด็กเล็กจากเดิมวันละ 3 ชั่วโมง เป็นวันละ 4 ชั่วโมงโดยผ่านการเล่น เนื่องจาก"การเล่น" ถือเป็นหัวใจของการเรียนรู้ของเด็กในวัยนี้อันจะนำไปสู่การพัฒนาทักษะ กระบวนการ ได้แก่ การคิดแก้ปัญหา การสร้างสรรค์ การตัดสินใจ การให้เหตุผล พัฒนากล้ามเนื้อในส่วนต่าง ๆ ให้มีความแข็งแรง เติบโตสมวัย รวมถึงมีการพัฒนาด้านคุณธรรม และคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ของเด็กแต่เนื่องจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโหนด ยังขาดอุปกรณ์สื่อการเรียนรู้สำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยผ่านกระบวนการเล่น จึงได้จัดทำโครงการเพิ่มกิจกรรมทางกายด้วยสื่อการเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็ก (Active learning active play) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโหนดขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเพิ่มเวลาในการมีกิจกรรมทางกายของเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโหนด

ร้อยละของเวลาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการเรียนการสอนมีกิจกรรมทางกายด้วยสื่อการเรียนรู้การเล่นอย่างสร้างสรรค์ (Active learning active play) เพิ่มขึ้น

60.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 20
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/07/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจในโครงการ กฎกติกา ข้อตกลง และกิจกรรมที่จัดให้เด็กแก่ครูในศูนย์ จำนวน 3 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 กรกฎาคม 2566 ถึง 12 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
ครูในสังกัดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโหนด จำนวน 3 คน
ผลลัพธ์
ครู มีความเข้าใจในการดำเนินโครงการ ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 เพิ่มกิจกรรมทางกายด้วยกิจกรรมฝึกทักษะการเคลื่อนไหวร่างกาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 เพิ่มกิจกรรมทางกายด้วยกิจกรรมฝึกทักษะการเคลื่อนไหวร่างกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดให้เด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโหนด ได้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นผ่านการเล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วยสื่อการเรียนรู้ โดยการฝึกทักษะการเคลื่อนไหว ซึ่งช่วยฝึกให้เด็กๆได้ฝึกการเคลื่อนไหวให้คล่องแคล่ว ฝึกการทรงตัวให้มั่นคง พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก การประสานสัมพันธ์ของอวัยวะต่างๆ ส่งเสริมให้มีร่างกายแข็งแรงและสุขภาพดีโดยต้องให้เด็กๆสนุกกับกิจกรรมเหมือนเป็นการเล่น จึงควรจัดกิจกรรมให้เด็กรู้สึกชอบ รู้สึกสนุกสนาน และเลือกกิจกรรมหรือการเล่น ตามความเหมาะสมกับวัย และพัฒนาการของโดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
-ค่าจัดซื้อพร้อมติดตั้งชุดเครื่องเล่นสนามชุดกระดานลื่นชิงช้าเชอรี่ 1 ชุด เป็นเงิน 52,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
เด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโหนด 20 คน
ผลลัพธ์
เด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโหนด 20 คนมีเวลาในการทำกิจกรรมทางกายด้วยสื่อการเรียนรู้และการเล่นอย่างสร้างสรรค์เพิ่มขึ้นโดยมีกิจกรรมทางกายเฉ่ลี่ยวันละ 4 ชั่วโมง รวม 1 ภาคเรียน 100 วัน 400 ชั่วโมง จากจำนวนชั่วโมงทั้งหมด 500 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
52000.00

กิจกรรมที่ 3 การติดตามและสรุปผลการจัดกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
การติดตามและสรุปผลการจัดกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ครูสังเกตการ่วมกิจกรรมการเรียนรู้และการเล่นของเด็ก ผ่านการจัดกิจกรรมการเดินทรงตัว บันทึกและสรุปผลกิจกรรมเมื่อสิ้นสุด โครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
เด็กเล็ก จำนวน 20 คน
ผลลัพธ์
เด็กเล็ก จำนวน 20 คนมีเวลาในการทำกิจกรรมทางกายด้วยสื่อการเรียนรู้และการเล่นอย่างสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น จากเดิมมีเวลาทำกิจกรรมวันละ 3 ชั่วโมง เพิ่มขึ้นเป็นวันละ 4 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด(เวลาเรียนทั้งหมด 500 ชั่วโมง เวลาในการทำกิจกรรมทางกาย 400 ชั่วโมง)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 52,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโหนด จำนวน 20 คน มีกิจกรรมทางกายด้วยสื่อการเรียนรู้และการเล่นอย่างสร้างสรรค์มีกิจกรรมการฝึกทักษะการเคลื่อนไหวเด็กๆ เคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วทรงตัวได้มั่นคง กล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก ได้รับการพัฒนา อวัยวะต่างๆ มีการประสานสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี ทำให้เด็กเล็กมีร่างกายแข็งแรงและสุขภาพดีโดยสามารถทำกิจกรรมทางกายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมวันละ 3 ชั่วโมง เป็นวันละ 4 ชั่งโมง จากชั่วโมงทั้งหมดวันละ 5 ชั่วโมง หรือจากภาคเรียนละ 300 ชั่วโมง เพิ่มขึ้นเป็นภาคเรียนละ 400 ชั่วโมง จากชั่วโมงทั้งหมด 500 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 80


>