กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการเพิ่มกิจกรรมทางกายด้วยสื่อการเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็ก (Active learning active play) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโหนด

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเพิ่มกิจกรรมทางกายด้วยสื่อการเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็ก (Active learning active play) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโหนด
รหัสโครงการ 66-3357-03-008
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโหนด
วันที่อนุมัติ 5 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 52,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปราณี สังเมียน ผู้ดูแลเด็ก (ทักษะ)
พี่เลี้ยงโครงการ นางธมล มงคลศิลป์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเวลาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีการเรียนการสอนมีกิจกรรมทางกายด้วยสื่อการเรียนรู้และการเล่นอย่างสร้างสรรค์ (Active learning active play)
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปีงบประมาณ 2566 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโหนด มีเด็กเล็กอายุ 2- 3 ปี เข้ารับการเลี้ยงดูจำนวน 20 คน ซึ่งในหนึ่งภาคเรียนมีเวลาเรียน 100 วัน วันละ 5 ชั่วโมง รวม 500 ชั่วโมงจากการจัดการเรียนการสอนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโหนด ได้จัดเวลาการเรียนรู้ที่มีกิจกรรมทางกาย จำนวน 3 ชั่วโมง/วัน ดังนั้น ในหนึ่งภาคเรียน (100 วัน)จึงจัดการเรียนรู้ที่มีกิจกรรมทางกายได้จำนวน 300 ชั่วโมงจากเวลาเรียนทั้งหมด 500 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 60 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโหนดมีความประสงค์จะเพิ่มเวลาในการมีกิจกรรมทางกายของเด็กเล็กจากเดิมวันละ 3 ชั่วโมง เป็นวันละ 4 ชั่วโมงโดยผ่านการเล่น เนื่องจาก"การเล่น" ถือเป็นหัวใจของการเรียนรู้ของเด็กในวัยนี้อันจะนำไปสู่การพัฒนาทักษะ กระบวนการ ได้แก่ การคิดแก้ปัญหา การสร้างสรรค์ การตัดสินใจ การให้เหตุผล พัฒนากล้ามเนื้อในส่วนต่าง ๆ ให้มีความแข็งแรง เติบโตสมวัย รวมถึงมีการพัฒนาด้านคุณธรรม และคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ของเด็กแต่เนื่องจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโหนด ยังขาดอุปกรณ์สื่อการเรียนรู้สำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยผ่านกระบวนการเล่น จึงได้จัดทำโครงการเพิ่มกิจกรรมทางกายด้วยสื่อการเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็ก (Active learning active play) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโหนดขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเพิ่มเวลาในการมีกิจกรรมทางกายของเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโหนด

ร้อยละของเวลาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการเรียนการสอนมีกิจกรรมทางกายด้วยสื่อการเรียนรู้การเล่นอย่างสร้างสรรค์ (Active learning active play) เพิ่มขึ้น

60.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 52,000.00 0 0.00
10 ก.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ 2 เพิ่มกิจกรรมทางกายด้วยกิจกรรมฝึกทักษะการเคลื่อนไหวร่างกาย 0 52,000.00 -
10 ก.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 การติดตามและสรุปผลการจัดกิจกรรม 0 0.00 -
11 - 12 ก.ค. 66 ประชุมชี้แจงโครงการ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโหนด จำนวน 20 คน มีกิจกรรมทางกายด้วยสื่อการเรียนรู้และการเล่นอย่างสร้างสรรค์มีกิจกรรมการฝึกทักษะการเคลื่อนไหวเด็กๆ เคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วทรงตัวได้มั่นคง กล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก ได้รับการพัฒนา อวัยวะต่างๆ มีการประสานสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี ทำให้เด็กเล็กมีร่างกายแข็งแรงและสุขภาพดีโดยสามารถทำกิจกรรมทางกายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมวันละ 3 ชั่วโมง เป็นวันละ 4 ชั่งโมง จากชั่วโมงทั้งหมดวันละ 5 ชั่วโมง หรือจากภาคเรียนละ 300 ชั่วโมง เพิ่มขึ้นเป็นภาคเรียนละ 400 ชั่วโมง จากชั่วโมงทั้งหมด 500 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 80

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2566 00:00 น.