กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมความรู้เรื่องน้ำมันทอดซ้ำเพื่อความปลอดภัยของคนในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค

1. นางจิตติมาส่งข่าว
2. นางปอลิย๊ะเหร็บควนเคี่ยม
3. นางณัฐณิชายีกาเดี๊ยะ
4.นางมาริษา เหล็มปาน
5. นางสาวบุญเรือนเหาะหาด

ณ ห้องประชุมดาหลา โรพยาบาลทุ่งหว้า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ค่านิยมบริโภคอาหารทอดที่เพิ่มมากขึ้นจนผลิตภัณฑ์อาหารทอดต่างๆ กลายเป็นอาหารขายดีทั้งในระดับชุมชนจนถึงห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่มีการใช้น้ำมันทอดอาหารทั้งที่ทำจากสัตว์และพืชโดยเฉพาะน้ำมันพืชที่แต่ละปีประเทศไทยบริโภคถึงปีละ๘๐๐,๐๐๐ตันซึ่งข้อเท็จจริงพบว่าผู้ประกอบการอาหารทอด จะใช้น้ำมันในการทอดซ้ำหลายครั้งจนลักษณะทางกายภาพของน้ำมันหรือคุณลักษณะของอาหารเสียไปจึงเปลี่ยนน้ำมันใหม่ หรือเติมน้ำมันใหม่ผสมลงไปทอดอาหารซ้ำๆต่อไปการเสื่อมสภาพของน้ำมันจากการทอดเกิดสารประกอบที่เป็นอันตรายต่อร่างกายคือ “สารโพลาร์”ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคความดันโลหิตสูงหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคมะเร็งซึ่งในน้ำมันสำหรับทอดอาหารกำหนดให้มีปริมาณสารโพลาร์ไม่เกินร้อยละ๒๕ของน้ำหนักโดยการตรวจปริมาณสารโพลาร์ในน้ำมันจะช่วยให้ผู้ประกอบการอาหารทอดทราบเวลาที่ต้องเปลี่ยนน้ำมันของร้านตนเองที่ยังคงความปลอดภัย และลดต้นทุนตามสมควร นอกจากนี้การป้องกันไม่ให้น้ำมันที่เสื่อมสภาพแล้วกลับมาสู่วงจรการบริโภค โดยนำไปผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซลหรือนำไปใช้ในการผลิตสบู่ซึ่งถือเป็นการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและปลอดภัยที่ดีทางหนึ่งด้วยตำบลทุ่งหว้า มีวัฒนธรรมการรับประทานอาหารทอดโดยแพร่หลาย เช่น อาหารเช้านิยมรับประทานข้าวเหนียวไก่ทอด ดื่มน้ำชา คู่กับขนมทอด เช่น ปาท่องโก๋กล้วยทอด เป็นต้น จากสถานการณ์การตรวจน้ำมันทอดซ้ำ ในเขตตำบลทุ่งหว้า ที่ผ่านมา เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคตำบลทุ่งหว้า ได้สุ่มเก็บตัวอย่าง ตั้งแต่ปี 2563 -2565 พบว่า น้ำมันที่สุ่มตรวจผ่านมาตรฐานร้อยละ90.34จะเห็นได้ว่า ยังมีน้ำมันทอดซ้ำที่ตกมาตรฐานเฉลี่ยอยู่ในพื้นที่ดังนั้น เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคตำบลทุ่งหว้า โดยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคีเครือข่ายผู้บริโภคภาคประชาชน จึงได้จัดทำโครงการ “โครงการส่งเสริมความรู้เรื่องน้ำมันทอดซ้ำเพื่อความปลอดภัยของคนในชุมชน”เพื่อคนในชุมชนได้รับความรู้ความเข้าใจในโทษของสารโพลาร์ได้ตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน/การเลือกซื้อ/การประกอบอาหารได้อย่างปลอดภัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อคนในชุมชนได้รับความรู้ความเข้าใจในโทษของสาร โพลาร์
  1. มีผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจโทษของสารโพลาร์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
100.00 0.00
2 2. เพื่อให้คนในชุมชนได้ตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน/การเลือกซื้อ/การประกอบอาหาร
  1. ผลการประเมินผู้เข้าร่วมโครงการมีความตระหนัก และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน  ร้อยละ  80
100.00 0.00
3 3. เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน
  1. คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจ ใช้แบบทดสอบได้  ร้อยละ  90
100.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.จัดเตรียมกลุ่มเป้าหมาย 2.ประชาสัมพันธ์โครงการ 3.ติดต่อวิทยากร 4.กิจกรรมอบรมให้ความรู้สารโพลาร์ 5.กิจกรรมลงพื้นที่เก็บข้อมูล ทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมัน 6.สรุปผลกิจกรรมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
1.จัดเตรียมกลุ่มเป้าหมาย 2.ประชาสัมพันธ์โครงการ 3.ติดต่อวิทยากร 4.กิจกรรมอบรมให้ความรู้สารโพลาร์ 5.กิจกรรมลงพื้นที่เก็บข้อมูล ทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมัน 6.สรุปผลกิจกรรมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงาน 1. ค่าตอบแทนวิทยากร 6 ชม.ๆละ600.-บาทเป็นเงิน 3,600.-บาท 2. ค่าอาหารว่าง 15 คนๆละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน1,050.-บาท 3. ค่าอาหารกลางวัน 15 คนๆละ 70.-บาท เป็นเงิน1,050.-บาท 4. ค่าสำรวจ/เก็บข้อมูล 5 คนๆละ 150.-บาท จำนวน 5 ครั้ง เป็นเงิน 3,750.-บาท 5. ทดสอบน้ำมันอาหารว่าง15 คนๆละ 35.-บาท เป็นเงิน525.-บาท เวทีอบรมให้ความรู้ 1. ค่าวิทยากร 6 ชม.ๆละ600.-เป็นเงิน 3,600.-บาท 2. ค่าอาหารว่าง 80 คนๆละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 5,600.-บาท 3. ค่าอาหารกลางวัน 80 คนๆละ 70 บาท เป็นเงิน5,600.-บาท วัสดุ/อุปกรณ์ 1. ชุดตรวจสารโพลาร์5 ชุดๆละ1,500บาท เป็นเงิน7,500.-บาท 2. ค่าป้ายไวนิลเป็นเงิน500.-บาท 3. ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ เป็นเงิน300.-บาท 4. ค่าเอกสารที่ใช้ในโครงการเป็นเงิน175.-บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 33,250.-บาท(-สามหมื่นสามพันสองร้อยห้าสิบบาทถ้วน-)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.สถานการณ์ปัญหาสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ ได้รับการแก้ไข 2.การเฝ้าระวังสถานการณ์ความปลอดภัยของน้ำมันทอดซ้ำในพื้นที่ตำบลทุ่งหว้า อันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค 3.ประชาชนผู้บริโภคอาหารทอดในเขตพื้นที่ตำบลทุ่งหว้า ได้รับความปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สถานการณ์ปัญหาสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ ได้รับการแก้ไข
2.การเฝ้าระวังสถานการณ์ความปลอดภัยของน้ำมันทอดซ้ำในพื้นที่ตำบลทุ่งหว้า อันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค
3.ประชาชนผู้บริโภคอาหารทอดในเขตพื้นที่ตำบลทุ่งหว้า ได้รับความปลอดภัย


>