กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังมะปราง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคฉี่หนู ( leptospirosis ) ในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังมะปราง

รพ.สต.บ้านทุ่งหลวง

หมู่บ้านในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหลวง จำนวน5 หมู่บ้าน - สถานศึกษา วัด /สถานที่ราชการ ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหลวง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์อุทกภัย ภัยพิบัติในพื้นที่ปัจจุบัน ประชาชนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อสูง ซึ่งพื้นที่อำเภอวังวิเศษเป็นพื้นที่ราบลุ่มพื้นที่เกษตรกรรมด้านการปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมันอีกทั้งยังมีบริเวณที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทั้งในสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันและบริเวณที่อยาอาศัยประกอบกับภาคใต้มีฤดูฝนติดต่อกันเป็นเวลานานซึ่งในปี 2560 มีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้ประชาชนขาดรายได้ ไม่สามารถไปทำงานตามปกติได้ ประชาชนที่ทำสวนก็มีปัญหาน้ำท่วมที่ทำกิน จึงส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก ซึ่งโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือโรคฉี่หนู มักจะมาช่วงฤดูฝน ประชาชนที่มีความเสี่ยงต่อการเดินย่ำโคลนหรือพื้นที่ที่มีน้ำขังด้วยเท้าเปล่า ฝนที่ตกหนักติดต่อกันเป็นช่วงๆ ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมขังในพื้นที่ต่างๆ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือ "โรคฉี่หนู" ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า เชื้อเลปโตสไปร่า (Leptospirosis) เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยขีดข่วน รอยถลอกตามผิวหนัง เยื่อบุตา จมูก ปาก หรือไชเข้าผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน พบมากในพื้นที่ที่มีการปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมันเนื่องจากต้องเดินย่ำน้ำหรือพื้นดินที่ชื้นแฉะ อาการของโรคคือมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเจ็บกล้ามเนื้อที่โคนขาและน่องอย่างมาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ตาแดง บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปนหรือตัวเหลืองตาเหลือง เนื่องจากเยื้อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับวาย ไตวาย และเสียชีวิตได้
นับตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2560 ถึงวันที่11 ธันวาคม 2560จังหวัดตรังได้รับรายงานผู้ป่วยโรคLeptospirosisจำนวนทั้งสิ้น 138 รายคิดเป็นอัตราป่วย 21.60ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 4ราย อัตราตายต่อประชากรแสนคน เท่ากับ0.63 อัตราผู้ป่วยตายเท่ากับร้อยละ2.90อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุดคืออำเภอวังวิเศษ พบผู้ป่วยจำนวน 18 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 41.57ต่อประชากรแสนคน เมื่อแยกรายตำบลพบว่าตำบลอ่าวตงพบผู้ป่วยสูงที่สุดถึง 7 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 65.24 ต่อแสนประชากรรองลงมา คือตำบลท่าสะบ้า จำนวน 3 ราย อัตราป่วย 55.27 ต่อแสนประชากรและตำบลวังมะปราง 2 ราย อัตราป่วย 52.92 ต่อแสนประชากรตำบลวังมะปรางเหนือ 3 ราย อัตราป่วย 33.39 ต่อแสนประชากรตำบลเขาวิเศษ 2 ราย อัตราป่วย 16.01 ต่อแสนประชากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังมะปรางมีความห่วงใยสุขภาพประชาชนและตระหนักถึงโรคภัยที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคฉี่หนู (Leptospirosis)ในชุมชนอย่างเร่งด่วนแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคฉี่หนูในช่วงฤดูฝนและช่วงน้ำท่วม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อลดอัตราการป่วยและเสียชีวิต จากโรคเลปโตสไปโรซีสในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหลวง

1.อัตราป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรซีสลดลงน้อยกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง  ร้อยละ 10

0.00
2 1..เพื่อดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ทันเหตุการณ์

 

0.00
3 2. เพื่อให้ความรู้ประชาชนเรื่องโรคเลปโตสไปโรซีสและการป้องกันตนเองจากโรคดังกล่าว

2..ร้อยละ 95 ของประชาชนมีความรู้เรื่องโรคเลปโตสไปโรซีส

0.00
4 3 .เพื่อให้ อสม./อบต./กรรมการ/ผู้นำชุมชนและประชาชนทั่วไปปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน

3..ร้อยละ 95 ของครัวเรือนมีการปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1.รณรงค์ประชาสัมพันธ์สื่อสารความรู้เกี่ยวกับโรคเลปโตสไปโรซีส

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1.รณรงค์ประชาสัมพันธ์สื่อสารความรู้เกี่ยวกับโรคเลปโตสไปโรซีส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1..ค่าจ้างเหมารถประชาสัมพันธ์ จำนวน 4 ครั้งๆละ 1,500  บาท เป็นเงิน 6,000 บาท 2.ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์  ขนาด  1*3 เมตร ๆละ  150 บาท คิดเป็นเงิน  450 บาท จำนวน  3 แผ่น รวมเป็นเงิน  1,350  บาท 3. ค่าอาหารว่างในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ จำนวน 60 คน ๆละ  15 บาท จำนวน  4  ครั้ง รวมเป็นเงิน
3,600  บาท กิจกรรมที่ 1 รวมเป็นเงิน  10,950      บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10950.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 อบรมแกนนำเฝ้าระวัง โรคเลปโตสไปโรซีอมรมพัฒนาศักยภาพแกนนำฟื้นฟูความรู้ ในการสอบสวนโรคโรคเลปโตสไปโรซีส จำนวน 60 คน และสำรวจพฤติกรรมของประชาชนในการเข้าใจโรคเลปโตสไปโรซิส

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 อบรมแกนนำเฝ้าระวัง โรคเลปโตสไปโรซีอมรมพัฒนาศักยภาพแกนนำฟื้นฟูความรู้ ในการสอบสวนโรคโรคเลปโตสไปโรซีส จำนวน 60 คน และสำรวจพฤติกรรมของประชาชนในการเข้าใจโรคเลปโตสไปโรซิส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คน ๆละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,600 บาท 2.ค่าอาหารว่าง จำนวน 60 คนๆละ 25 บาท
จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน  3,000  บาท 3. .ค่าวิทยากร 2 ท่านๆ 3 ช.ม.ๆละ 600 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท 4..กระเป๋าผ้าอุปกรณ์เอกสารการอบรม จำนวน 60 ชุด ชุดละ 87 บาท เป็นเงิน  5,220 บาท - กระเป๋าผ้าสังเคราะห์  ใบละ  47  บาท - สมุดปกอ่อน เล่มละ 10 บาท - ปากกาสีน้ำเงิน  เล่มละ 10 บาท - เอกสารความรู้ชุดละ 20 บาท          รวมเป็นเงิน  15,420  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15420.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,370.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคเลปโตสไปโรซีสและสามารถป้องกันตนเองจากโรคเลปโตสไปโรซีส (Leptospirosis) หรือโรคฉี่หนู
และกำจัดพาหะนำโรคได้ด้วยตัวเอง
2. สามารถลดอัตราการป่วยและเสียชีวิต จากโรคเลปโตสไปโรซีสในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหลวง


>