กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากบาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลปากบาง ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากบาง

เครือข่ายชมรม อสม. ตำบลปากบาง

1. นายอับดุลเลาะฮ์ หัดเล๊าะ
2. นางอารีย์ เจ๊ะแว
3. นางกาญจนา อูมา
4. นางกูย๊ะ สุหลงกุ
5. นางสาวมีเน๊าะ สังรี

ในพื้นที่ตำบลปากบาง อำเภอเทพา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขของประเทศไทยมาโดยตลอดเพราะเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียต่อชีวิตค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องควบคุมมาโดยตลอด เนื่องจากมียุงลายเป็นยุงพาหะนำเชื้อไข้เลือดออกและมีแหล่งเพาะพันธุ์ทั้งในบ้านและนอกบ้านในภาชนะที่มีน้ำขังทุกชนิด ทำให้ในพื้นที่มีความชุกชุมของลูกน้ำเพิ่มสูงขึ้นและมีแนวโน้มที่จะแพร่ระบาดสูงขึ้นเป็นประจำทุกปีสามารถพบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี
จากสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลปากบางอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา พบว่าในปี 2562 มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 52 ราย โดยพบกระจายอยู่ในทุกหมู่บ้านพบมากในช่วงฤดูฝนตั้งแต่เดือน กรกฎาคม เป็นต้นไปจนถึงต้นปีงบประมาณ 2563ยังมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคในพื้นที่อย่างต่อเนื่องและรวดเร็วให้ทันต่อการแพร่ระบาดของโรค ตลอดจนเพิ่มความเข้มข้นในมาตรการควบคุมโรคจัดเตรียมความพร้อมด้านงบประมานบุคลากร อาสาสมัคร สารเคมีและวัสดุน้ำมันเชื้อเพลิงในการดำเนินงานควบคุมการแพร่ระบาดของโรค
ดังนั้น เครือข่ายชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปากบางจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้การดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกสามารถดำเนินการได้ทันต่อสถานการระบาดของโรคในปัจจุบัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ร้อยละของการแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด ร้อยละ 90

100.00 90.00
2 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยในพื้นที่ที่มีการแพร่เชื้อไข้เลือดออก ไม่ให้มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น

ลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ลงร้อยละ 20 จากเดือนตุลาคม 65 - พฤษภาคม 66

12.00 8.00
3 เพื่อหยุดยั้งการแพร่เชื้อไข้เลือดออกไปสู่พื้นที่อื่นสามารถควบคุมโรคได้ทันเหตุการณ์

สามารถหยุดยั้งการแพร่เชื้อ สู่หมู่บ้าน/ชุมชน ใกล้เคียง ร้อยละ 100

100.00 100.00
4 เพื่อควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดยุงตัวเต็มวัย ลดความชุกชุมของยุงลาย
  • จำนวนแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายลดลง
  • ความชุมชุมของยุงลายลดลง
  • ค่า HI = 0, ค่า CI = 10
100.00 100.00
5 เพื่อส่งเสริมให้แกนนำและชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานควบคุมโรคในระดับหมู่บ้าน

หมู่บ้าน/ชุมชน มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกครอบคลุม 100% ของหมุ่บ้าน/ชุมชน

80.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การอบรมให้ความรู้อาสาสมัครและแกนนำชุมชนเพื่อพัฒนาทีมปฏิบัติการควบคุมโรค

ชื่อกิจกรรม
การอบรมให้ความรู้อาสาสมัครและแกนนำชุมชนเพื่อพัฒนาทีมปฏิบัติการควบคุมโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวิทยากร 3,000 บ.x 1 คน = 3,000 บ. ค่าอาหารกลางวัน 50 บ.x 60 คน = 3,000 บ. ค่าอาหารว่าง 50 บ.x 60 คน = 3,000 บ. ค่าวัสดุ อุปกรณ์  50 บ.x 60 คน = 3,000 บ. ค่าป้ายไวนิลโครงการ 1.2x2.4 ม. = 500 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครและแกนนำชุมชนมีความรู้เพิ่มมากขึ้นและสามารถพัฒนาทีมปฏิบัติการควบคุมโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12500.00

กิจกรรมที่ 2 การดำเนินงานพ่นหมอกควัน, ULV

ชื่อกิจกรรม
การดำเนินงานพ่นหมอกควัน, ULV
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทน 200 บ.x 2 คนx 30 วัน = 12,000 บ.
  • ค่าน้ำมันดีเซลสำหรับผสมน้ำยาและรถยนต์บรรทุกเครื่องพ่นและอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน 36 บ.x 400 ลิตร = 14,400 บ.
  • ค่าน้ำมันเบนซินสำหรับเครื่องพ่น ลิตรละ 36 บ.x150 ลิตร = 5,400 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31800.00

กิจกรรมที่ 3 การจัดกิจกรรมรณรงค์ สร้างกระแสสังคม จำนวน 3 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
การจัดกิจกรรมรณรงค์ สร้างกระแสสังคม จำนวน 3 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การจัดกิจกรรมรณรงค์ สร้างกระแสสังคม จัดรณรงค์ - ค่าอาหารว่าง 25 บ.x 300 คน = 7,500 บ. จัดทำป้ายไวนิลการรณรงค์ 4 แผ่น - ราคาแผ่นละ 500 บx4 แผ่น = 2,000 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 53,800.00 บาท

หมายเหตุ :
1. ติดตามสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน และร่วมกันหาแนวทางเพื่อดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน
2. ร่วมกันจัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรค

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลงจากเดือนตุลาคม 65 - พฤษภาคม 66
2. สามารถลดการแพร่ระบาดของโรคจากพื้นที่ที่เป็นแหล่งแพร่เชื้อไปสู่พื้นที่อื่นและพื้นที่ใกล้เคียง
3. สามารถลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายและยุงตัวเต็มวัยลดความเสี่ยงของการเกิดโรค
4. ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานควบคุมโรคและแกนนำชุมชนมีความเข้มแข็งในการควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบยั่งยืน
5. มีเครือข่ายและมีการพัฒนาศักยภาพทีมปฏิบัติการควบคุมโรคในระดับตำบล/หมู่บ้าน


>