กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิต ป้องกันโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ปีงบประมาณ 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิต ป้องกันโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย

-

หมู่ที่5 ,6 ,12 และ14 ตำบลโคกม่วง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุประเมิน 2Q เป็นผลบวก

 

80.00

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีผลกระทบต่ออัตราส่วนภาวะพึ่งพิง เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ และสังคม ลูกหลานที่อยู่ในวัยทำงานต้องออกไปทำงานนอกบ้านไม่มีเวลาดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวเท่าที่ควร ผู้สูงอายุจึงต้องพึ่งพาดูแลตัวเองประกอบกับผู้สูงอายุนั้นเป็นวัยที่เกิดการเปลี่ยนแปลงมีการเสื่อมของสภาพร่างกาย สายตาเสื่อมลง หูตึง ฟันโยกและหลุด ความคล่องแคล่วว่องไว และความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆลดลง นอกจากความเสื่อมจากสภาพร่างกายแล้ว ทางด้านจิตใจและอารมณ์ ก็เริ่มเฉื่อยชาวิตกกังวล รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่าเป็นภาระของคนในครอบครัว การสูญเสียคู่ชีวิต การเกษียณอายุการทำงาน สูญเสียบทบาททางสังคม นอกจากนี้ผู้สูงอายุบางคนยังต้องเผชิญกับปัญหาด้านเศรษฐกิจและการยังชีพเนื่องจากไม่มีลูกหลานคอยดูแล ความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมเหล่านี้ส่งผลให้ผู้สูงอายุเกิดโรคซึมเศร้าซึ่งเป็นความผิดปกติทางสุขภาพจิต บางรายอาจกลายเป็นโรคจิต และมีความเสี่ยงต่อการพยายามฆ่าตัวตาย
จากข้อมูลผลการคัดกรองสุขภาพจิตผู้สูงอายุด้วยแบบประเมิน 2Q ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ปี 2565 พบว่ามีผู้สูงอายุประเมิน 2Q เป็นผลบวก จำนวน 80 คน ผู้สูงอายุกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคซึมเศร้า และหากผู้สูงอายุกลุ่มนี้ไม่มีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพจิตและขาดทักษะในการจัดการความเครียดของตัวเองอย่างเหมาะสม นอกจากจะมีความเสี่ยงเกิดภาวะซึมเศร้าแล้วอาจเกิดความรุนแรงถึงขั้นเกิดการสูญเสียจากการพยายามฆ่าตัวตายได้
เพื่อให้ผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านท่าควายที่มีผลประเมิน 2Q เป็นผลบวก มีทักษะในการจัดการความเครียด พร้อมทั้งมีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพจิตของตัวเองได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี ลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคซึมเศร้า และป้องกันการสูญเสียที่เกิดจากการพยายามฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพจิต ป้องกันโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี
  1. ร้อยละผู้สูงอายุฆ่าตัวตายหรือฆ่าตัวตายสำเร็จ
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 80
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/08/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพจิต ในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง 2Q เป็นผลบวก จำนวน 80 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพจิต ในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง 2Q เป็นผลบวก จำนวน 80 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 80 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 4,000บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 80 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
  • ค่าวิทยากรอบรม จำนวน 4 ชม.ๆละ 300 บาท
    เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ 400 บาท
  • ค่าเอกสารและเข้าเล่ม จำนวน 80 ชุดๆละ 30 บาท
    เป็นเงิน 2,400 บาท

ตารางการอบรมโครงการส่งเสริมสุขภาพจิต ป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

08.30–09.30 น. ลงทะเบียน

09.30–10.00 น. พิธีเปิดการอบรมโครงการส่งเสริมสุขภาพจิต ป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ปีงบประมาณ 2566 โดย ผอ.รพ.สต.บ้านท่าควาย

10.00–11.00 น.-การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ของผู้สูงอายุ

10.00–11.00 น. วิทยากรบรรยายเรื่องการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ของผู้สูงอายุ

11.00–12.00 น. วิทยากรบรรยายเรื่องภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

12.00–13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00–14.00 น. วิทยากรบรรยายเรื่องความสุข 5 มิติ ในผู้สูงอายุ

14.00–15.00 น. วิทยากรบรรยายเรื่องการจัดการความเครียดตัวเองอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ กิจกรรมฝึกจิตให้นิ่ง และฝึกการหายใจที่ถูกวิธีเพื่อลดความเครียด

15.00–16.00 น. บริการประเมินความเครียด (ST5) และประเมินดัชนีวัดสุขภาพจิต (TMHI – 15)

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 กันยายน 2566 ถึง 8 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุมีทักษะในการจัดการความเครียดตัวเองอย่างเหมาะสม มีความรู้ในการดูแลสุขภาพจิตตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 2 การติดตามประเมินสุขภาพจิตในผู้สูงอายุในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การติดตามประเมินสุขภาพจิตในผู้สูงอายุในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ประเมินความเครียด (ST5) สำหรับรายที่เป็นกลุ่มเสี่ยง

-ประเมินดัชนีวัดสุขภาพจิต (TMHI – 15)สำหรับรายที่เป็นกลุ่มเสี่ยง

-ประเมิน 2Q ซ้ำในรายที่ผิดปกติ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการเข้าอบรมมีผลประเมิน 2Q ลดน้อยลง ในปี 2566
2.จำนวนผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้าลดน้อยลง
3.ไม่มีผู้สูงอายุฆ่าตัวตายหรือฆ่าตัวตายสำเร็จ ในปี 2566


>