กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพจิต ป้องกันโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L3312-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย
วันที่อนุมัติ 27 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 12,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายภานุวัฒน์ พรหมสังคหะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุประเมิน 2Q เป็นผลบวก
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีผลกระทบต่ออัตราส่วนภาวะพึ่งพิง เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ และสังคม ลูกหลานที่อยู่ในวัยทำงานต้องออกไปทำงานนอกบ้านไม่มีเวลาดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวเท่าที่ควร ผู้สูงอายุจึงต้องพึ่งพาดูแลตัวเองประกอบกับผู้สูงอายุนั้นเป็นวัยที่เกิดการเปลี่ยนแปลงมีการเสื่อมของสภาพร่างกาย สายตาเสื่อมลง หูตึง ฟันโยกและหลุด ความคล่องแคล่วว่องไว และความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆลดลง นอกจากความเสื่อมจากสภาพร่างกายแล้ว ทางด้านจิตใจและอารมณ์ ก็เริ่มเฉื่อยชาวิตกกังวล รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่าเป็นภาระของคนในครอบครัว การสูญเสียคู่ชีวิต การเกษียณอายุการทำงาน สูญเสียบทบาททางสังคม นอกจากนี้ผู้สูงอายุบางคนยังต้องเผชิญกับปัญหาด้านเศรษฐกิจและการยังชีพเนื่องจากไม่มีลูกหลานคอยดูแล ความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมเหล่านี้ส่งผลให้ผู้สูงอายุเกิดโรคซึมเศร้าซึ่งเป็นความผิดปกติทางสุขภาพจิต บางรายอาจกลายเป็นโรคจิต และมีความเสี่ยงต่อการพยายามฆ่าตัวตาย จากข้อมูลผลการคัดกรองสุขภาพจิตผู้สูงอายุด้วยแบบประเมิน 2Q ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ปี 2565 พบว่ามีผู้สูงอายุประเมิน 2Q เป็นผลบวก จำนวน 80 คน ผู้สูงอายุกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคซึมเศร้า และหากผู้สูงอายุกลุ่มนี้ไม่มีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพจิตและขาดทักษะในการจัดการความเครียดของตัวเองอย่างเหมาะสม นอกจากจะมีความเสี่ยงเกิดภาวะซึมเศร้าแล้วอาจเกิดความรุนแรงถึงขั้นเกิดการสูญเสียจากการพยายามฆ่าตัวตายได้ เพื่อให้ผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านท่าควายที่มีผลประเมิน 2Q เป็นผลบวก มีทักษะในการจัดการความเครียด พร้อมทั้งมีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพจิตของตัวเองได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี ลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคซึมเศร้า และป้องกันการสูญเสียที่เกิดจากการพยายามฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพจิต ป้องกันโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี
  1. ร้อยละผู้สูงอายุฆ่าตัวตายหรือฆ่าตัวตายสำเร็จ
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,000.00 1 12,000.00
??/??/???? การติดตามประเมินสุขภาพจิตในผู้สูงอายุในชุมชน 0 0.00 -
8 ก.ย. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพจิต ในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง 2Q เป็นผลบวก จำนวน 80 คน 0 12,000.00 12,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการเข้าอบรมมีผลประเมิน 2Q ลดน้อยลง ในปี 2566 2.จำนวนผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้าลดน้อยลง 3.ไม่มีผู้สูงอายุฆ่าตัวตายหรือฆ่าตัวตายสำเร็จ ในปี 2566

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2566 10:39 น.