กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านรพ.สต.ตำบลแพน

1. นายทศพลช่วยแก้ว
2. นายสุธรรม เรืองมี
3. นางสาวจำเนียรอินปาน
4. นางชวณพิศพรหมเฆม
5. นางรัตนา ชัยสุวรรณ

หมู่ที่ 4 ตำบลตะแพน อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา
สำหรับสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในปี ระบาด ปี 2566 อำเภอศรีบรรพต มีจำนวนผู้ป่วย จำนวน 1ราย มีอัตราการป่วย 53.24 ต่อประชากรแสนคน (ข้อมูล 1 มกราคม ถึง 31 พฤษภาคม 2566 )โดยล่าสุดได้รับแจ้งจากศูนย์ระบาดอำเภอ ศรีบรรพต พบผู้ป่วยไข้เลือดออกเพิ่ม 1 ราย ในพี้นที่ หมู่ที่4 บ้านตะแพน (ข้อมูล ณ.วันที่ 3 กรกฎาคม 2566)จำเป็นต้องดำเนินการการควบคุมโรคโดยการควบคุมยุงพาหะนำโรคการรณรงค์การพ่นหมอกควันและสารเคมีการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายทั้งในบ้านผู้ป่วย และบริเวณบ้านใกล้เคียง การใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำและสำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก
ทางชมรม อสม. รพ.สต.ตำบลตะแพน ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว เพื่อเป็นการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก และให้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกจึงได้จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกขึ้น เพื่อป้องกันการระบาดของโรคต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

ไม่พบผู้ป่วยเพิ่มเติมในพื้นที่

53.21 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 45
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/07/2023

กำหนดเสร็จ 11/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1 กิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
1 กิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ดำเนินการควบคุมและ ป้องกันโรคไข้เลือดออก ด้วยวิธีพ่นหมอกควัน และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย จำนวน 3 ครั้ง ตามหลักระบาดวิทยา (0,3,7)
         ครั้งที่  1  วันที่  04 กรกฎาคม  2566          ครั้งที่ 2  วันที่   07 กรกฎาคม  2566          ครั้งที่ 3  วันที่  11 กรกฎาคม  2566 2. แจกทรายทีโมฟอส / โลชั่นทากันยุงแก่ครัวเรือนเป้าหมาย 3. แจกเอกสารให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออกครัวเรือนเป้าหมาย งบประมาณ 1.ค่าน้ำมันเบนซิล จำนวน 25 ลิตร x 35 บาท  เป็นเงิน  875 บาท (ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการพ่นละอองฝอย) 2.ค่าตอบแทนผู้พ่นหมอกควัน   2 คน x 3 วัน x 300 บาท  เป็นเงิน  1,800  บาท รวมเงิน 2,675 บาท(สองพันหกร้อยเจ็ดสิบห้าบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 กรกฎาคม 2566 ถึง 11 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออกตลอดจนให้ความร่วมมือในการดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายภายในบริเวณบ้าน     และชุมชนอย่างต่อเนื่อง  โดยไม่มีผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกเพิ่มเติม และการเฝ้าระวังโรคระบาด และควบคุมโรคในพื้นที่ โดยเครือข่าย SRRT อสม. และ มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI,CI) ลดลง  ไม่เกินร้อยละ 10

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2675.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 2,675.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ไม่มีผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นในพื้นที่


>