กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ รณรงค์ ควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออกหมู่ 10 ตำบลนำผุดปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

ชื่อองค์กร ชมรม อสม.หมู่ที่ 10 ตำบลน้ำผุด
กลุ่มคน (ระบุ 5 คน)
1.นางจุฑาภรณ์มากแก้ว
2.นางราตรีดำช่วย
3.นางยุพิน ทองผุด
4.นางอำพันธ์ ขุนนุ้ย
5.นายสุทัศน์มากแก้ว

ม.10

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1

 

60.00

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยจากสถานการณ์การระบาดของโรค พบว่า มีอุบัติการณ์ต่ำกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลังอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี (พ.ศ.2564-2565) จึงมีโอกาสที่ในปี พ.ศ.2566 จะเกิดการระบาดมากขึ้น ซึ่งคาดการณ์ว่าตลอดทั้งปีอาจมีผู้ป่วยสูงถึง 95,000 รายโดยช่วงไตรมาสแรกของปีมีแนวโน้มพบจำนวนผู้ป่วยประมาณ 3,000-5,000 รายต่อเดือนและเริ่มสูงขึ้นในเดือนพฤษภาคมจนสูงที่สุดประมาณ 10,000-16,000รายต่อเดือนในช่วงฤดูฝน (เดือนมิถุนายน – กันยายน)และจากการพิจารณาพื้นที่ระดับอำเภอเมืองอำเภอที่ตั้งของเทศบาลนครหรืออำเภอที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกซ้ำซากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2561-2565)
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2565 ในภาพรวมทั้งประเทศ (ตั้งแต่วันที่ 1มกราคม – 31 ธันวาคม, 2565) มีรายงานผู้ป่วยสะสม จำนวน 25,422 ราย (อัตราป่วยเท่ากับ 38.42 ต่อประชากรแสนคน) มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำ นวน 21 ราย อัตราตาย เท่ากับ 0.03ต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.08 ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคเหนือ (อัตราป่วยเท่ากับ 92.61 ต่อประชากรแสนคน) รองลงมา คือ ภาคกลาง (อัตราป่วยเท่ากับ 31.88 ต่อประชากรแสนคน) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อัตราป่วยเท่ากับ 24.79ต่อประชากรแสนคน) และภาคใต้(อัตราป่วยเท่ากับ 16.94 ต่อประชากรแสนคน) ตามลำดับ สำหรับจังหวัดตรัง มีรายงานผู้ป่วย จำนวน 167 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 ข้อมูลจากรายงานการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา 506 กองระบาดวิทยา ) สถานการณ์โรคไข้เลือดออกย้อนหลัง 3 ปีในหมู่ที่ 10ปี 2563 จำนวน 1 รายปี 2564 จำนวน 1 รายและปี 2565 จำนวน 0 ราย
จากสถานการณ์การของโรคไข้เลือดออกของหมู่ที่ 10 ตำบลน้ำผุด ในปี 2565 ไม่พบผู้ป่วยไข้เลือดออก เนื่องจากระบบการควบคุมป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่เกิดโรคไข้เลือดออกดังนั้นเพื่อการควบคุม ป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้างและลดความรุนแรงของโรคในช่วงก่อนฤดูกาลระบาด เป็นการลดจำนวนป่วย และนำไปสู่การเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออกชมรม อสม. หมู่ 10 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำผุดตำบลน้ำผุดและกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วน ตำบลน้ำผุดอำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรังได้เห็นความสำคัญในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ ควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2566 ขึ้นขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

วัตถุประสงค์
๑. เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม กำจัดลูกน้ำยุงลาย และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านเรือนและชุมชน
2. เพื่อลดความชุกของลูกน้ำยุงลายในบ้านเรือน และชุมชน
3. เพื่อลดอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 0.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>