กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะโหนง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

พัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพของผู้เปราะบางทางสังคม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะโหนง

รพ.สต.จะโหนง

ทุกหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบของรพ.สต.จะโหนง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

30.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

7.00
3 ร้อยละของผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพภายในระยะเวลา 6 เดือน

 

70.00
4 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

50.00

สังคมไทย ได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์เมื่อมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 หรืออายุ 65 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้น ประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก และคาดว่าจะเพิ่มเป็น14.5 ล้านคน หรือร้อยละ20 ในปี พ.ศ. 2568 แนวโน้มผู้สูงอายุอยู่คนเดียวหรืออยู่ลำพังกับคู่สมรสเพิ่มมากขึ้น ผู้สูงอายุจำนวนมากมีปัญหาด้านสุขภาพ ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอายุยิ่งสูงยิ่งเจ็บป่วย มีภาวการณ์พึ่งพาต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่องและการดูแลระยะยาวปัญหาด้านสุขภาพต่างๆของคนในครอบครัวจะมีทุกบ้าน จะมากหรือจะน้อยขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันอาจระยะเวลาหนึ่งหรือทั้งชีวิต ทั้งนี้รวมถึงกลุ่มผู้เปราะบางทางสังคมที่ต้องเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพตนเองลดการเจ็บป่วยที่ถูกต้องตามแนวทางการจัดการสุขภาพดี เช่น เมื่อมีการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ เช่น โรคไข้หวัด ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ โรคกระเพาะ จะไปใช้บริการที่ไหนสามารถประเมินความรุนแรงของโรคได้มากน้อยเพียงใด จะรักษาอย่างไร ที่ไหน ปรึกษาใครได้บ้าง มีผลต่อการประกอบอาชืพหรือไม่ ค่าใช้จ่ายเป็นอย่างไรทั้งนี้ต้องอาศัยการสร้างความรับรู้และแนวทางการดูแลสุขถาพของคนในครอบครัว หากดูเเลที่ไม่ถูกต้องอาจส่งผลต่สุขภาระยะยาว เช่น การดูเเลฟื้นฟูผู้พิการ เพื่อลดปัญหาเเผลกดทับ การดูเเลผู้ป่วยเบาหวาน เป็นต้นทำให้เกิดปัญหาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ น้ำตาลในเลือดสูง หรือมีภาวะเเทรกซ้อนอื่นๆ หากดูเเลไม่ถูกต้องอาจส่งผลให้เกิดอันตรายหรือทำให้เกิดความพิการมากยิ่งขึ้น ดังนั้นหากประชาชนกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มเปราะบางทราบปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ว่องไว ทันทีถึงบ้านโดยทีมงานหมอครอบครัว หรืออสม. ได้สนับสนุนให้ชุมชนเเละครอบครัวสามารถดูเเลตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมีระบบการเฝ้าระวังและส่งต่อที่ถูกต้อง ในกลุ่มเปราะบางของสังคมประกอบด้วยกลุ่มสตรีมีครรภ์และเด็กปฐมวัย กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรังเพื่อลดอันตรายหรือความพิการที่อาจเกิดขึ้น จากการสำรวจข้อมูลพบว่า ประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะโหนง รับผิดชอบ 6 หมู่บ้าน ข้อมูลผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่นคนผู้พิการจำนวน51 คน ผู้มีปํญหาโรคเรื้อรัง จำนวน 414 คน ผู้ป่วยติดบ้าน/เตียง จำนวน16 คน หญิงตั้งครรภ์ 16 คนทำให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะโหนงซึ่งมีบุคลากรสาธารณสุขจำนวนจำกัดไม่เพียงพอเเก่การให้บริการโดยเฉพาะการให้บริการในชุมชน ซึ่งพบว่ายังมีปัญหาสุขภาพอีกมากมายที่ยังเข้าไปไม่ถึง ทั้งนี้หากให้องค์กรต่างๆที่มีอยู่ในชุมชน โดยเฉพาะ อสม. ให้ได้รับการพัฒนาเพิ่มศักยภาพการดูแลประชาชนด้วยทักษะการเยี่ยมบ้านในรูปแบบหมอครอบครัวคนที่1 จักสามารถช่วยแก้ปัญหาสุขภาพเบื้องต้นให้กับประชาชนได้ ให้สามารถดูเเลผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุติดบ้าน เเละผู้พิการในชุมชนได้ ตลอดจนคำแนะนำในการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข(หมอคนที่2)ตลอดจนการส่งต่อการดูแลสุขภาพไปยังผู้ที่เชี่ยวชาญหรือแพทย์(หมอคนที่3)ได้อย่างทันท่วงที ลดอันตรายต่อชีวิตและร่างกายได้อย่างเหมาะสม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้เปราะบางของอสม./หมอครอบครัวคนที่1

1.อสม./หมอครอบครัวคนที่1 มีความรู้ทักษะ ในการตรวจและประเมินสุขภาพประชาชนกลุ่มเปราะบางได้ 2.อสม./หมอครอบครัวคนที่1 มีทักษะในการจัดการข้อมูลการให้คำแนะนำที่่ถูกต้องด้านสุขภาพของประชาชนกลุ่มเปราะบางได้

70.00 100.00
2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้เปราะบางทางสังคม

1.มีระบบจัดการข้อมูลสุขภาพของประชาชนกลุ่มเปราะบาง 2.มีการส่งต่อข้อมูลการดูแลสุขภาพของประชาชนกลุ่มเปราะบางอย่างต่อเนื่อง

30.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 16
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 414
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อสม.หรือหมอครอบครัวคนที่ 1 65

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 07/08/2023

กำหนดเสร็จ 28/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข/ประธานหรือตัวแทน อสม.ของแต่ละหมู่บ้านเพื่อชี้แจงแผนและจัดทำโครงการ/กิจกรรม จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน18 คนๆละ 25 บาทเป็นเงิน450บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
8 สิงหาคม 2566 ถึง 8 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการกำหนดแผนกิจกรรมการซักซ้อมความเข้าใจของทีมงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
450.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาความรู้ความเข้าใจของหมอครอบครัวคนที่1ต่อประเด็นกลุ่มผู้เปราะบางในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาความรู้ความเข้าใจของหมอครอบครัวคนที่1ต่อประเด็นกลุ่มผู้เปราะบางในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาความรู้ความเข้าใจของหมอครอบครัวคนที่1ต่อประเด็นเปราะบางในพื้นที่ 08.30-09.00 น ลงทะเบียน09.00-10.15 น สถานการณ์และปัญหาสุขภาพ 10.15-10.30 พัก 10.30-12.00 ประชุมให้ความรู้เสริมทักษะในการดูแลสุขภาพกลุ่มหญิงตั้งครรภ์เด็กปฐมวัยผู้สูงอายุผู้ป่วยโรคเรื้อรัง12.00-13.00 น พักเที่ยง 13.00-14.00 น. การดูแลสุขภาพที่พบบ่อย ประเด็น การทำแผล/การดูแลสายสวนอาหาร/ปัสสาวะ 14.00-14.15 พัก14.15-14.30 -16.00 น การทำฐานการเรียนรู้ตามประเด็นเปราะบาง 4 ฐาน16.00-16.30 น.สรุปผลปัญหาอุปสรรค

  • ค่าไวนนิลป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ 1 แผ่น เป็นเงิน 675 บาท
  • ค่าไวนิลแนวทาง/การดูแลสุขภาพกลุ่มเปราะบาง4 ฐานกิจกรรมๆละ 675 บาทรวม 2,700บาท
  • ค่ากระดาษ/อุปกรณ์เครื่องเขียน/เอกสารการประชุมเป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับอสม./หมอครอบครัว/ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 75 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,750 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 75 คนๆละ 65 บาท เป็นเงิน 4,875 บาท
  • ค่าห้องประชุม 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
10 สิงหาคม 2566 ถึง 10 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • หมอครอบครัวมีความรู้ ทักษะการดูแลประเด็นปัญหาสุขภาพของผู้เปราะบาง ในรูปแบบ/แนวทาในทิศทางเดียวกัน
  • หมอครอบครัวมีข้อมูลสุขภาพกลุ่มผู้เปราะบางในการส่งต่อการดูแลสุขภาพให้กับผู้เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13500.00

กิจกรรมที่ 3 การฝึกทักษะการดูแลสุขภาพที่พบบ่อยในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การฝึกทักษะการดูแลสุขภาพที่พบบ่อยในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อสม.ฝึกปฏิบัติงานที่รพ.สต/ชุมชนวันละ 2 คนช่วงเวลาเวลา13.00-16.00 น. เน้นกิจกรรมการดูแลบาดแผล/สายสวนอาหาร/สายสวนปัสสาวะ16.00-16.30 น.สรุปผล ประเด็นปัญหา
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจนท.สาธารณสุข/อสม.จำนวน 1 มื้อ วันละ 3 คนๆละ 25 บาท จำนวน 23 วัน เป็นเงิน1,725 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 สิงหาคม 2566 ถึง 15 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หมอครอบครัวมีทักษะการดูแลสุขภาพที่พบบ่อยได้อย่างถูกต้องตามแนวทางมาตรฐานการสาธารณสุข

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1725.00

กิจกรรมที่ 4 การจัดทำฐานข้อมูลสุขภาพเบื้องต้นของประชากรกลุ่มเปราะบาง

ชื่อกิจกรรม
การจัดทำฐานข้อมูลสุขภาพเบื้องต้นของประชากรกลุ่มเปราะบาง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การสำรวจข้อมูลสุขภาพเบื้องต้นของประชากรกลุ่มเปราะบาง08.30-09.00 น ลงทะเบียน 09.00-10.15 น ความสำคัญของการบันทึกข้อมูลสุขภาพเบื้องต้น-ข้อมูลสุขภาพที่จำเป็น 10.15-10.30 พัก 10.30-12.00 การประสานงานและการส่งต่อปัญหาสุขภาพ12.00-13.00 น พักเที่ยง 13.00-15.15 น. การลงพื้นที่สำรวจภาวะสุขภาพกลุ่มเปราะบาง 15.15-15.30 พัก 15.30 -16.30 น สรุปผลปัญหาอุปสรรค

  • ค่ากระดาษอุปกรณ์เครื่องเขียนประกอบการประชุม500บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับอสม./เจ้าหน้าที่สาธารณสุข/ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 75 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,750 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 75 คนๆละ 65 บาท เป็นเงิน 4,875 บาท
  • ค่าสมุดเบอร์ 2 บันทึกข้อมูลสุขภาพของกลุ่มเปราะบางจำนวน 65 ชุดๆละ 85 บาท เป็นเงิน5,525 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 สิงหาคม 2566 ถึง 22 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม./หมอครอบครัวคนที่1มีสมุดบันทึกข้อมูลสุขภาพเบื้องต้น ที่สามารถใช้เป็นแหล่งสืบค้นและส่งต่อปัญหาสุขภาพให้กับหมอครอบครัวคนถัดๆไปได้อย่างเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14650.00

กิจกรรมที่ 5 การรณรงค์ส่งเสริมการดูแลสุขภาพของกลุ่มเปราะบาง

ชื่อกิจกรรม
การรณรงค์ส่งเสริมการดูแลสุขภาพของกลุ่มเปราะบาง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดหน่วยรณรงค์ส่งเสริมการดูแลสุขภาพของกลุ่มเปราะโดยทีมงานอสม./หมอครอบครัวคนที่1/เจ้าหน้าที่สาธารณสุข/ผู้นำชุมชนเยี่ยมบ้านกลุ่มผู้เปราะบางให้คำแนะนำและประเมินภาวะสุขภาพทุกคนระหว่างเวลา08.30-14.00 น หมู่ที่1จำนวน 2 วัน- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 25บาท จำนวน 18 คนเป็นเงิน900บาท -ค่าอาหารกลางวัน2 มื้อๆละ 65บาท จำนวน 18 คนเป็นเงิน 2340 บาท หมู่ที่5จำนวน 1 วัน

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อๆละ 25บาท จำนวน 10 คนเป็นเงิน 250บาท -ค่าอาหารกลางวัน1 มื้อๆละ 65บาท จำนวน 10 คนเป็นเงิน 650บาท หมู่ที่6จำนวน 1 วัน

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อๆละ 25บาท จำนวน9 คนเป็นเงิน 225บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน1 มื้อๆละ 65บาท จำนวน 9 คนเป็นเงิน 585บาท หมู่ที่7จำนวน 2 วัน

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อๆละ 25 บาทจำนวน 21 คนเป็นเงิน 1050บาท
- ค่าอาหารกลางวัน2 มื้อๆละ 65บาท จำนวน 21 คนเป็นเงิน 1730บาท

หมู่ที่8จำนวน 1 วัน

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อๆละ 25บาท จำนวน 13 คนเป็นเงิน 325บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน1 มื้อๆละ 65บาท จำนวน 13 คนเป็นเงิน845บาท

หมู่ที่10 จำนวน 1 วัน

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อๆละ 25 บาทจำนวน 12 คนเป็นเงิน 300บาท -ค่าอาหารกลางวัน1 มื้อๆละ 65บาท จำนวน 13 คนเป็นเงิน780บาท
  • ค่าไวนิล/สื่อประชาสัมพันธ์/แผ่นพลิกส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นเงิน3500บาท-อุปกรณ์กระจายเสียงในการประชาสัมพันธ์ความรอบรู้ จำนวน 1 ชุดเป็นเงิน 7,800 บาท
  • เครื่องชั่งน้ำหนักขนาดไม่เกิน 200 กิโลกรัมราคา 10,100 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
24 ตุลาคม 2566 ถึง 17 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-มีการประเมินสุขภาพกลุ่มเปราะบาง -กลุ่มเปราะบางรับทราบแนวทางในการจัดการสุขภาพของตนได้อย่างเหมาะสมในทุกหมู่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32380.00

กิจกรรมที่ 6 การติดตามผลประเมินผลและความคาดหวังต่อการจัดการสุขภาพกลุ่มเปราะบาง

ชื่อกิจกรรม
การติดตามผลประเมินผลและความคาดหวังต่อการจัดการสุขภาพกลุ่มเปราะบาง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การติดตามผลประเมินผลและความคาดหวังต่อการจัดการสุขภาพกลุ่มเปราะบาง ประกอบด้วยตัวแทนกลุ่มผู้เปราะบาง/เจ้าหน้าที่สาธารณสุข/อสม./หมอครอบครัวคนที่1 /ผู้นำชุมชน 13.00-13.30 นลงทะเบียน 13.30-15.30น. -นำเสนอข้อมูลสุขภาพกลุ่มผู้เปราะบางประเมินการจัดกิจกรรม-ความคาดหวังที่จะได้รับบริการของกลุ่มผู้เปราะบางโดยการสอบถาม/สังเกตุประเมินความเข้าใจต่อการส่งต่อและรับบริการสุขภาพในระดับที่สูงขึ้น-สรุปประเด็นปัญหา/อุปสรรค -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับอสม./เจ้าหน้าที่สาธารณสุข/ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 80 คนๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 2000 บาท
-ค่าเอกสารการประชุม จำนวน 500 บาท-ค่าจัดทำรายงานสรุปผลจำนวน 3 ชุดๆละ 200 บาทรวม600บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 ธันวาคม 2566 ถึง 22 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีสรุปประเมินผล/ความพึงพอใจของอสม./หมอครอบครัวคนที่1   จำนวน 1 ชุด มีสรุปวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพผู้เปราะบาง  จำนวน 1  ชุด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 65,805.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนและกลุ่มเปราะบางทางสังคมได้รับบริการดูแลสุขภาพเบื้องต้นได้อย่างเหมาะสมเป็นระบบ และส่งต่อข้อมูลประสานความร่วมมือจากอสม./หมอครอบครัวคนที่1 หากมีปัญหาสุขภาพสามารถเข้าใช้บริการสุขภาพใกล้บ้านจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข/หมอครอบครัวคนที่2 หรือการรับบริการทางการแพทย์ที่สูงขึ้นจากแพทย์/หมอครอบครัวคนที่3ในลักษณะของการดูแลอย่างต่อเนื่องสร้างความประทับใจให้กับผู้รับบริการ


>