กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะโหนง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

แก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะโหนง

รพ.สต.บ้านตรับ

เขตรับผิดชอบรพ.สต.บ้านตรับ ตำบลจะโหนง อ.จะนะ จ.สงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

70.00
2 ร้อยละดัชนีของลูกน้ำยุงลาย

 

31.51

โรคไข้เลือดออก ยังเป็นสาเหตุการป่วยที่สำคัญของพื้นที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตรับ ตำบลจะโหนง เนื่องจากสภาพภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์ที่เอื่อต่อการแพร่กระจายของโรค และประชากร วัยเรียน และวันทำงาน ในพื้นที่มีการเคลื่อนย้าย เพื่อประกอบการประกิบอาชีพ จากรายงานผู้ป่วยย้อนหลัง5 ปี ปี 2561 พบอัตราป่วย 131.32ต่อแสนประชากร ปี 2562 พบอัตราป่วย 108.45 ต่อแสนประชากร ปี 2563 พบอัตรป่วย 78.95 ต่อแสนประชากร ปี 2564-2565 ไม่พบผู้ป่วย และปี 2566 พบอัตรป่วย55.85 ต่อแสนประชากร ซึ่งตามาตรฐานกรทรวงสาธารณสุข อัตราป่วยต้องไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร ดังนั้นการป้องกันที่ควบคุมอย่างทันที และมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตรับ จึงจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในชุมชน เพื่อลดอัตราป่วยของโรค ทำลายแหล่งเพาะพันธุุ์ลุกน้ำยุงลาย ส่งเสริมการดำเนินงานทีมSrrt ให้เข้มแข็ง มีวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ ในการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ เนื่่องจากเครื่องพ่นหมอกควันที่ใช้อยู่ มีอายุใช้งาน มาประมาณ 10 ปี มีการชำรุดไปตามสภาพด้วยโครงการนี้จึงได้จัดทำทั้งการประชาสัมพันธ์ และการปรับปรุงสิ่งแวดล้อม และจัดซื้ออุปกรณ์ เพื่อให้การดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้พี่น้องประชาชนมีความปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

1.พบผป.น้อยลง 2.ค่าhi น้อยกว่าร้อยละ 10
3.ค่าci น้อยกว่าร้อยละ 10

30.00 10.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

70.00 50.00
3 เพื่อลดการระบาดของโรคระบาดในชุมชน

ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ ในระยะเวลา 14 วันเพิ่มขึ้น

3.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
จำนวนหลังคาเรือน (หลัง) 250
ทีมsrrtตำบลจะโหนง(คน) 22
โรงเรียนในเขตรับผิดชอบ(แห่ง) 5

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 07/08/2023

กำหนดเสร็จ 25/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมทีมงานควบคุมโรคในพื้นที่ตำบลจะโหนง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมทีมงานควบคุมโรคในพื้นที่ตำบลจะโหนง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมจนท.สาธารณสุขในตำบลจะโหนงร่วมกับทีมอสม. วางแผนดำเนินงานจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 12 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 300 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
8 สิงหาคม 2566 ถึง 8 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ได้แผนการปฎิบัติงาน/กิจกรรมบวบคุมป้องกันโรคจำนวน 1 ชุด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
300.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมเชิงปฎิบัติการเฝ้าระวังควบคุมโรค

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฎิบัติการเฝ้าระวังควบคุมโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมทีมsrrtเจ้าหน้าที่สาธารณสุข/อสม./ผู้นำชุมชนด้านเฝ้าระวังควบคุมโรคไข้เลือดออก 08.30-09.00
ลงทะเบียน 09.00-10.15 สถานการณ์โรค การเฝ้าระวัง/ควบคุมโรคไข้เลือดออก10.15-10.30 รับประทานอาหารว่าง 10.30-12.00 การใช้อุปกรณ์ การใช้สารเคมีควบคุมโรค12.00-13.00 พักกลางวัน 13.00-15.00 ฝึกปฎิบัติการใช้อุปกรณืและสารเคมีในการควบคุมโรค15.00-15.15 พักรับประทานอาหารว่าง15.15-16.30 สรุปประเด็นปัญหา/อุปสรรค

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 26 คน จำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 1300 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 26 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 65 บาท รวมเป็นเงิน 1690 บาท
  • ค่าวัสดุสาธิต (น้ำมันเบนซิล 5 ลิตร เป็นเงิน 180 บาท น้ำมันดีเซล จำนวน 10 ลิตร เป็นเงิน 360 บาท) รวม 540 บาท
  • ซื้อเครื่องพ่นหมอกควัน 1 เครื่อง ราคา 75000 บาท
  • ค่าป้ายโครงการ 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
30 สิงหาคม 2566 ถึง 30 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทีม srrt มีความรู้ ทักษะในการใช่เครื่องพ่นหมอกควันได้อย่างถูกวิธี
ทีม srrt สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถควบคุมโรคได้ ส่งผลให้มีจำนวนผู้ป่วยลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
79030.00

กิจกรรมที่ 3 รณรงค์ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจลูกน้ำยุงลาย ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม เก็บขยะ ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุยุงในพื้นที่เสี่ยง

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 73 คน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 1825 บาท
  • น้ำมันเบนซิล 10 ลิตร เป็นเงิน 360 บาท น้ำมันดีเซล จำนวน 20 ลิตร เป็นเงิน 720 บาท รวมเป็นเงิน 1080 บาท
  • ค่าถ่ายเอกสารแบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย /ประชาสัมพันธ์ การป้องกันโรคไข้เลือดออก 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
8 กันยายน 2566 ถึง 8 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ในชุมชนไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ลุกน้ำยุงลาย ประชาชนมีส่วนรวมในการจัดการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ค่าHi ค่าCi น้อยกว่า 10

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3405.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 82,735.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ไม่พบผป.รายใหม่ ไม่พบการระบาดของโรค
2.ค่า Hi ค่าCi น้อยกว่า 10


>