กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะโหนง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริโภคผักปลอดภัย ปลอดโรค ปลอดสารเคมี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะโหนง

ชมรม อาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.จะโหนง

1. นายประถม ประทุมมณี 0872933352

2. นางรัตนดา เพชรบุญวรรณโณ0869559323

3. นางพรรณีรงหนู0828257954

4. นายวิมลทองชนะ 0811379851

5. นายลาภย่องยัง0895964289

6. นายเจะฮาบ เร๊ะด้วน 0810996926

7. นางอารีย์ นวลเจริญ 0620611155

หมู่ที่ 1,5,6,7,8,10 ตำบลจะโหนง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

4.50
2 ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด

 

19.50

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ คือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน
ผักและผลไม้เป็นแหล่งของวิตามิน เกลือแร่ ใยอาหารและสารพฤกษเคมีต่างๆ แม้ว่าผักและผลไม้จะเป็นอาหารที่มีประโยชน์และมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้บริโภคกังวลก็คือสารเคมีกำจัดแมลงที่ตกค้างอยู่ในผักและผลไม้ สารพิษนั้นจะมีปริมาณมากหรือน้อยเพียงใดไม่สามารถคาดคะเนด้วยสายตาได้ ซึ่งการได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายอาจก่อให้เกิดโทษและโรคร้ายแรงได้ ดังนั้น เราควรรู้จักวิธีการเลือกซื้อผักและผลไม้ รวมถึงวิธีการล้างให้ปลอดภัยจากการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช สาเหตุการเกิดสารพิษตกค้างในผัก เกิดจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ชอบเลือกซื้อเฉพาะผักที่สดสวยงามไม่มีร่องรอยการทำลายของโรคและแมลง ผู้ปลูกผักบางรายมีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องของสารเคมีเป็นอย่างดีแต่ไม่นำหลักการใช้ที่ถูกต้องไปปฏิบัติหรือละเลยเสียโดยมุ่งหวังแต่ประโยชน์ผลกำไรและความสะดวกเป็นหลักโดยขาดจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม ผู้ปลูกผักบางรายขาดความรู้ความเข้าใจในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงที่ถูกต้องเมื่อประสบปัญหาการเข้าทำลายของโรคและแมลง ทางเลือกแรกที่นำมาใช้คือ การฉีดพ่นสารเคมีโดยไม่ได้คำนึงถึงวิธีการอื่นเลย เนื่องจากสารเคมีมีประสิทธิภาพสูงให้ผลเร็วสะดวกในการใช้และหาซื้อได้ง่ายดังนั้นเมื่อชาวสวนนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายปัญหาที่ตามมาก็คือเกิดสารพิษตกค้างในผักที่เกินค่าความปลอดภัยซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อเกษตรกรและผู้บริโภค ประชาชนโดยทั่วไปยังมีมาตรฐานในการครองชีพที่ไม่สูงนักมีพฤติกรรมในการใช้ชีวิตและการบริโภคที่ง่าย ๆ โดยไม่ค่อยคำนึงถึงความปลอดภัยในการบริโภคเท่าที่ควรผักปลอดภัยจากสารพิษจึงมีได้รับความนิยมมากนัก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์

ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด

19.50 25.00
2 เพื่อลดประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

4.50 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะทำงานโครงการ 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/09/2023

กำหนดเสร็จ 29/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผนชี้แจงโครงการและการหาสมาชิกเข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมวางแผนชี้แจงโครงการและการหาสมาชิกเข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คน ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 250 บาท
  • ค่าเอกสารแบบฟอร์มการรับสมัครเข้าร่วมโครงการ 205 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
19 กันยายน 2566 ถึง 19 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • แผนการดำเนินงาน
  • รายชื่่อผู้เข้าร่วมโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
455.00

กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคให้สามารถลดหรือเลี่ยงผักที่มีสารเคมีตกค้างทางการเกษตร การบริโภคที่ปลอดภับ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคให้สามารถลดหรือเลี่ยงผักที่มีสารเคมีตกค้างทางการเกษตร การบริโภคที่ปลอดภับ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้เข้าอบรม 60 คน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 4 คน วิทยากร 1 คนรวม 65 คน

  1. การลดหรือเลี่ยงผักที่มีสารเคมีตกค้างทางการเกษตร

  2. การบริโภคที่ปลอดภับ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภค

  • ค่าวิทยากรจำนวน 2 คน รวม 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม วิทยากรและเจ้าหน้าที่ จำนวน 60 คนๆละ 2 มื้อ ๆละ25 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  • อาหารกลางวันจำนวน 65 คนๆละ 65 บาท เป็นเงิน 4,225 บาท
  • ค่าป้ายโครงการ กว้าง 1 เมตร ยาว 2.5 เมตร เป็นเงิน 375 บาท
  • ค่าวัสดุการอบรม 500 บาท
  • วัสดุสาธิต (เศษผัก ผลไม้ จำนวน 300 บาท น้ำหมัก 100 บาท EM.1 ขวด 100 บาท กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 3 กก. เป็นเงิน 100 บาท ถังน้ำ 2 ใบ เป็นเงิน 200 บาท มีด 1 เล่ม 50 บาท เขียง 1 อัน 80 บาท กะละมัง 3 ใบ 150 บาท) เป็นเงิน 1,080 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
26 กันยายน 2566 ถึง 26 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจและหลีกเลี่ยงผัก ผลไม้ที่มีสารเคมีตกค้างสำหรับบริโภคได้
  • ร้อยละของประชาชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลด ละ เลิกใช้สารเคมี
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15180.00

กิจกรรมที่ 3 เจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในเลือด ครั้งที่ 1 และอบรมเชิงปฏิบัติผู้บริโภคและเกษตรกรในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากสารเคมีในผักผลไม้

ชื่อกิจกรรม
เจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในเลือด ครั้งที่ 1 และอบรมเชิงปฏิบัติผู้บริโภคและเกษตรกรในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากสารเคมีในผักผลไม้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้เข้าร่วมกิกรรม 60 คน วิทยากร 1 คน เจ้าหน้าที่ 4 คน รวม 65 คน

  • ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่เจาะและตรวจเลือด จำนวน 2 คน ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ค่าวิทยากรจำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 65 คนๆละ 2 มื้อ ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,250 บาท
  • อาหารกลางวัน จำนวน 65 คนๆละ 65 บาท เป็นเงิน 4,225 บาท
  • ค่าน้ำยาชุดตรวจสารเคมีในเลือด พร้อมอุปกรณ์ (อุปกรณ์ ประกอบด้วย เข็มเจาะปลายนิ้วcapillary tubeถุงมือ สำลีแอลกอฮอล์ และดินน้ำมัน)จำนวน 1 ชุด ๆละ 1,800 บาท
  • ค่าวัสดุเป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 ตุลาคม 2566 ถึง 3 ตุลาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผลการเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้าง ฯ
  • การมีส่วนร่วมของผู้บริโภคและเกษตรกรในการดูแลตนเองให้ปลอดภัย ฯ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13975.00

กิจกรรมที่ 4 เจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในเลือด ครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
เจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในเลือด ครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่เจาะและตรวจเลือด จำนวน 2 คน ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 40 คนๆละ 1 มื้อ ๆละ25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤศจิกายน 2566 ถึง 15 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผลการเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้าง ฯ
  • การมีส่วนร่วมของผู้บริโภคและเกษตรกรในการดูแลตนเองให้ปลอดภัย ฯ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2200.00

กิจกรรมที่ 5 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และอดบทเรียนความสำเร็จแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และอดบทเรียนความสำเร็จแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 50 คน ผู้ดำเนินรายการ 1 คน คณะทำงาน 4 คน รวม 55 คน

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 55 คน ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,375 บาท
  • ค่าตอบแทนผู้ดำเนินรายการ จำนวน 3 ชม.ๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  • กระดาษบรู๊ฟ จำนวน 10 แผ่น ๆละ 5 บาท เป็นเงิน 50 บาท
  • ปากกาเคมี 10 ด้าม ๆละ 15 บาท เป็นเงิน 150 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
21 ธันวาคม 2566 ถึง 21 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ถอดบทเรียนความสำเร็จโครงการ
  • การมีส่วนร่วมของชุมชน
  • สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3075.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,885.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนบริโภคผักที่สะอาด ปลอดภัยจากสารเคมี ทำให้สุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง


>