กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเพิ่มสมรรถภาพร่างกายและส่งเสริมสุขภาพจิตของหมู่บ้านอารียา สวนา 1

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ กทม.เขตลาดพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเพิ่มสมรรถภาพร่างกายและส่งเสริมสุขภาพจิตของหมู่บ้านอารียา สวนา 1

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ กทม.เขตลาดพร้าว

กลุ่มผู้สูงอายุหมู่บ้านอารียา สวนา 1

1. นางสาวปัญจรัศม์ กนกพรธนัญชัย
2. นางไพเราะ รีตานนท์
3. นางสาววิภาพรนิธิปรีชานนท์
4. นางชลธร หอวงศ์รัตนะ
5. นางละเอียด สัจจวาณิชย์

สวนสาธารณะของหมู่บ้านอารียา สวนา 1

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

1.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

1.00

ในปัจจุบัน พบว่า ประชากรผู้สูงอายุของกรุงเทพมหานครมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี พ.ศ.๒564 มีประชากรผู้สูงอายุจำนวน 1,118,356 คน คิดเป็นร้อยละ 20.60 ของประชากร ที่ขึ้นทะเบียนในกรุงเทพมหานคร (รายงานสำนักงานปกครองและทะเบียน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เดือน มีนาคม 2564) แสดงให้เห็นว่ากรุงเทพมหานครได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบ (Completely Aged Society) ตามเกณฑ์ของสหประชาชาติไปแล้ว ซึ่งนับว่าเป็นความท้าทายของกรุงเทพมหานคร ที่จะต้องทำให้ทุกภาคส่วนต่าง ๆ ได้ตระหนักถึงการเตรียมความพร้อมในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและประชาชนในวัยก่อนสูงอายุ (Pre-Senior) เพื่อให้ก้าวสู่การเป็นผู้สูงอายุที่มีความสมบูรณ์ พร้อมทั้งมีสุขภาวะที่ดี สามารถพึ่งพิงตนเอง และเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมได้ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสำเร็จ
ในการพัฒนาด้านสาธารณสุขที่ทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตยืนยาวขึ้น จากรายงานสุขภาพคนไทย พบว่าในปี 2563 ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพร้อยละ 95 ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ข้อเข่าเสื่อม เป็นผู้พิการ โรคซึมเศร้า ถึงร้อยละ 41, 18, 9 ตามลำดับ รวมทั้งยังต้องเฝ้าระวังจากโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมโทรม ของสภาพร่างกายอันเนื่องจากความชราเพิ่มขึ้น (geriatric syndrome) เช่น ปัญหาการทรงตัวจนนำไป สู่สภาวการณ์หกล้ม ปัญหาภาวะสมองเสื่อม ส่งผลให้ผู้สูงอายุเกิดทุพลภาพหรือพิการแบบติดเตียง อยู่ในสภาวะพึ่งพิงที่ต้องได้รับการดูแลระยะยาว นำไปสู่ปัญหาค่าใช้จ่ายในรักษาพยาบาลสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอัน เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงที่เป็นภัยสุขภาพทำให้เกิดโรค ซึ่งแท้จริงแล้วสามารถป้องกันได้โดยดูแลสุขภาพตนเองให้ดี
ดังนั้น การขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุตามยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนาผู้สูงอายุ มาตรการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางสังคมตามนโยบายและแผนงานของกรุงเทพมหานคร ผ่านการรวมกลุ่ม ขององค์กรด้านผู้สูงอายุ เพื่อสนับสนุนและเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนาสมรรถภาพร่างกาย แก่ประชาชนก่อนวัยสูงอายุและผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ป้องกันภาวะบกพร่องทางการเคลื่อนไหว ป้องกันภาวะเสื่อมของร่างกายโดยการฝึกการออกกำลังกายโดยรวม การฝึกบริหารสมองไปพร้อมกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพและกิจกรรมนันทนาการ เป็นต้น
จากเหตุผลดังกล่าว กลุ่มผู้สูงอายุของหมู่บ้านอารียาสวนา 1 ซึ่งอยู่ในเขตลาดพร้าว มีผู้อยู่อาศัย 97 หลังคาเรือน จำนวน 270 คน เป็นผู้สูงอายุ 71 คน คิดเป็นร้อยละ 26 ของประชากรในหมู่บ้านฯ และผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน 167 คน คิดเป็นร้อยละ 62 ของประชากรในหมู่บ้านฯ ซึ่งผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีโรคที่ต้องดูแลรักษาอันเกิดจากความชรา ได้แก่ ข้อเข่าเสื่อม ดันโลหิตสูง เบาหวาน และปัญหาการหกล้ม ฯลฯ ขณะเดียวกันก็ต้องทำหน้าที่ดูแลบ้านและดูแลหลาน ๆ ระหว่างที่ลูกๆ วัยทำงานต้องออกไปประกอบอาชีพ จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สูงอายุจะต้องดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรงเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระลูก ๆ ได้โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาหรือภาระกับลูกหลาน จึงได้มีแนวคิดในการจัดทำโครงการการเพิ่มสมรรถภาพร่างกายแก่ประชาชนก่อนวัยสูงอายุและผู้สูงอายุโดยการออกกำลังกายเดิน วิ่ง ของหมู่บ้านอารียา สวนา 1 ปี 2565 ณ ลานกิจกรรม สวนสาธารณะของหมู่บ้านอารียา สวนา 1 เพื่อเตรียมผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดี ได้รับการดูแลที่เหมาะสม โดยการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุควบคู่กับการเรียนรู้และปฏิบัติตนในการดูแลสุขสภาพ โดยเน้นการสร้างความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหวเพื่อลดอัตราการเกิดการพลัดตกหกล้ม การเสื่อมของข้อเข่าและการพัฒนาสมอง โดยใช้แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมสนับสนุนเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป ทั้งนี้จะให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพทั้งวัยทำงานและผู้สูงอายุโดยการออกกำลังกายเดิน วิ่งหรือทำกิจกรรมเสริมสุขภาพที่เหมาะกับวัย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ อันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีเพิ่มขึ้น สามารถพึ่งพิงตนเองได้ และเป็นต้นแบบให้กับผู้สูงอายุกลุ่มอื่นๆ ได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

6.00 10.00
2 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

8.00 15.00
3 เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายมีสมรรถภาพร่างกายที่เหมาะสม

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีผลการวัดค่าดัชนีมวลกาย ความดันโลหิตและมีน้ำหนัก อยู่เกณฑ์ปกติ มากกว่าร้อยละ 60

55.00 60.00
4 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพตนเอง

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองได้มากกว่าร้อยละ 60

53.60 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นตอนวางแผนงาน

ชื่อกิจกรรม
ขั้นตอนวางแผนงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ผู้รับผิดชอบโครงการร่วมกับกรรมการหมู่บ้าน ประชุมวางแผนการดำเนินงาน 1 วัน
  2. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
  3. ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันดำเนินงานโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.ได้แผนงาน โครงการและกิจกรรมในโครงการ ตามลำดับ 2.คนในหมู่บ้านอารียา สวนา 1 เข้าร่วมโครงการและเป็นที่ปรึกษาและคณะทำงานดำเนิน ผลลัพธ์ 1. ได้ความร่วมมือจากคณะทำงาน กรรมการและลูกบ้านในหมู่บ้านอารียา สวนา 1 2. คณะทำงานมีความพร้อมในการดำเนินงานโครงการ ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12600.00

กิจกรรมที่ 2 ขั้นตอนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ขั้นตอนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานโครงการเพื่อให้สมาชิกในหมู่บ้านได้ทราบและเข้าร่วมโครงการ
  2. ประชุมผู้เข้าร่วมโครงการชี้แจง แผนงาน โครงการและการเข้าร่วมกิจกรรม
  3. กลุ่มผู้สูงอายุฯ สนับสนุนเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินโครงการเพิ่มสมรรถภาพร่างกาย และส่งเสริมสุขภาพจิตของหมู่บ้านอารียา สวนา 1 โดยดำเนินการจัดซื้อ/จัดหาอุปกรณ์การดำเนินโครงการและเครื่องมือทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ (health-related physical fitness)
  4. จัดอบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติวิธีการเพิ่มสมรรถภาพร่างกายเพื่อสร้างความตระหนัก ในการดูแลสุขภาพตนเอง โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย ผู้ดำเนินงาน และวิทยากรรวม ระยะเวลา 1 วัน สถานที่ ณ สวนสาธารณหมู่บ้านอารียา สวนา 1
  5. ความรู้และฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยนัดกลุ่มเป้าหมายมารับการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย พร้อมทั้งฝึกปฏิบัติ และให้ความรู้เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางที่ถูกต้อง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย ผู้ดำเนินงาน วิทยากร
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 31 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.มีอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ ในการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย และใช้ดำเนินงานโครงการ 1 ชุด
รวม 5 รายการ ประกอบด้วย 1.1 เครื่องวัดความดัน
1.2 ชุดทดสอบวัดดัชนีมวลกาย
1.3 เครื่องชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง
1.4 เครื่องวัดอุณหภูมิ
2. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้และได้รับการฝึกปฏิบัติในการดูแลสุขภาพตนเองและทดสอบสมรรถภาพร่างกาย รวม  4  เรื่อง ประกอบด้วย 2.1 การป้องกันหมอนรองกระดูกทับเส้น
2.2 การฝึกสมาธิบำบัดเพื่อ ป้องกันโรคอัลไซเมอร์และการดูแลผู้ที่มีภาวะอัลไซเมอร์ 2.3 การบริหารศรีษะ คอ บ่า ไหล่ เพื่อแก้ปัญหาไหล่ติด 2.4 การดูแลตนเองสำหรับผู้สูงวันที่เป็นโรคหัวใจ ผลลัพธ์ 1. กลุ่มเป้าหมายมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น
2. กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และได้รับการฝึกปฏิบัติในวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้อง 3. สมาชิกในโครงการมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองให้ดีขึ้น 4. ได้การมีส่วนร่วมจากคนในหมู่บ้านให้ความร่วมมือเข้าร่วมโครงการเป็นคณะ กรรมการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
47825.00

กิจกรรมที่ 3 ขั้นติดตามประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ขั้นติดตามประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตาม ประเมินผลระหว่างดำเนินการและเมื่อสิ้นสุดโครงการ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย ผู้ดำเนินงาน วิทยากร ในเดือนที่ 5 (ก่อนสิ้นสุดโครงการ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1. มีข้อมูลผลการติดตามการดำเนินงานโครงการ 2. มีรายงานผลการดำเนินงานโครงการ 3. มีรายงานผลการเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่ม เป้าหมาย เมื่อสิ้นสุดโครงการ ผลลัพธ์ 1. มีผลการทดสอบสมรรถภาพร่างกายและ 2. มีผลการประเมินพฤติกรรมสุขภาพฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11875.00

กิจกรรมที่ 4 ขั้นสรุปผล

ชื่อกิจกรรม
ขั้นสรุปผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการสรุปผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯรับทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1. มีรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการ 2. มีรายงานผลการดำเนินงานโครงการและรายงานการเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่ม เป้าหมายเมื่อสิ้นสุดโครงการ ผลลัพธ์ 1. การดำเนินงานโครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 72,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในหมู่บ้านอารียา สวนา 1 สามารถปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพตนเองโดยการออกกำลังกายด้วยการเดิน วิ่ง และทำการทดสอบผลการออกกำลังกาย (ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย) ได้อย่างถูกต้อง
2. ผู้สูงอายุในหมู่บ้านอารียา สวนา 1 สามารถเป็นต้นแบบในการส่งเสริมสุขภาพประชาชนในหมู่บ้านโดยการออกกำลังกายด้วยการเดิน วิ่ง และการทดสอบผลการออกกำลังกาย
3. ผู้สูงอายุในหมู่บ้านอารียา สวนา 1 เป็นมีระบบฐานข้อมูลสมรรถภาพผู้สูงอายุ


>