กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สงเปือย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สงเปือย

ชมรม อสม.ตำบลสงเปือย

นายสำราญ ศรีลา
นางสุภาวดี นามมั่น
นางวันเพ็ญ เพียรจิตร
นายสมภพ กันภัย
นางหนูพินพลลือ

หมู่ที่ ๑-๙ ตำบลสงเปือย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

 

23.53
2 ร้อยละของเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

 

5.88
3 ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

 

18.57
4 ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

 

14.29
5 ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

 

15.38
6 ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

 

7.69
7 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายงานสุขภาพจิตที่เข้าร่วมสร้างเครือข่ายพลเมืองสุขภาพจิตดี

 

2.00
8 ร้อยละของหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต

 

62.50

ภาวะซึมเศร้าหรือโรคซึมเศร้าเป็นปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่มี ต่อการสูญเสีย ทั้งที่เกิดขึ้นจริง
หรือที่คาดการณ์ล่วงหน้าความเสียใจ ความผิดหวังที่เกิดจากการไม่ได้ดังหวัง หรือจากการเปลี่ยนแปลงของโชคชะตาชีวิตด้านลบจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติของจิตใจ และรบกวนต่อการปฏิบัติหน้าที่ การงานอย่างมาก ถือว่า Depressionเป็น ความเจ็บป่วยจิตเวช อย่างหนึ่งที่มีความรุนแรงมีโอกาสที่จะเกิดซ้ำได้ โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางสมอง ทำให้วงจรประสาทที่ควบคุมอารมณ์ความคิดการนอน การอิ่มการหิว ทำงานล้มเหลวหรือผิดปกติไปสารสื่อประสาทเสียสมดุลย์เมื่อเจ็บป่วยจะทำให้ศักยภาพในการทำหน้าที่ตามบทบาทต่างๆบกพร่องไม่ว่าด้านครอบครัว การงาน และการดูแลตนเอง อีกทั้งทำให้คุณภาพชีวิตและความผาสุกในชีวิตลดลงเกิดความสูญเสียต่อตนเองสังคมและประเทศชาติอย่างมหาศาล ผู้ที่มี ภาวะซึมเศร้ายังพยายามฆ่าตัวตายเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สถิติจำนวน ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าของกรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุขในปี 2542- 2544
มีจำนวน 61405ราย , 80673 ราย,59133 รายตามลำดับซึ่งเมือเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ป่วย 5 ปี
ย้อนหลังพบว่ามีอัตราเพิ่มขึ้น 3-4 เท่า ซึ่งมีจำนวนผู้ป่วยเฉลี่ย ปีละ 21,272คน ส่วนจำนวน ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายหรือฆ่าตัวตายสำเร็จ ปี 2556- 2559 มีจำนวนเฉลี่ย21,138 คนต่อปี( 34.12 ต่อแสนประชากร)เมื่อเทียบกับประชากรทั่วไปจะมีปัญหาการฆ่าตัวตายมากกว่าถึง 8 เท่า วัยที่พยายามฆ่าตัวตายเสียชีวิตมากที่สุดอยู่ในช่วงอายุ 18 – 40 ปี
จากปัญหาและเหตุผลดังกล่าว ทำให้ทราบถึงความสูญเสียอย่างรุนแรงและจำนวนค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อย่างมากมาย สถานบริการตำบลสงเปือยได้มีการพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้ามาโดยตลอดแต่ยังพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ตระหนักและทั้งยังขาดความรู้ความเข้าใจผิด คิดว่า ภาวะซึมเศร้าเป็นเรื่องธรรมดาเป็นแล้วก็หายเองและยังมีอคติเกี่ยวกับการเจ็บป่วยด้านจิตเวชทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างไม่ถูกต้องเหมาะสม ในปี 2566 นี้ ชมรม อสม.ตำบลสงเปือยได้ดำเนินงานแผนงานโครงการเพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหานี้โดยใช้แนวคิดการบูรณาการ การส่งเสริม ป้องกันรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพปัญหาสุขภาพจิตแบบองค์รวมและสร้างเสริมพลังชุมชน โดยมี 4 ประสาน คือ สถานบริการสาธารณสุข ครอบครัวและชุมชน (บ้าน วัด โรงเรียน) และองค์การบริหารส่วนตำบล ให้มีบทบาทการมีส่วนร่วมในการแก้ไขและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตชุมชน พร้อมทั้งส่งเสริมผู้ป่วยให้มีศักยภาพในการดูแลตนเองมากยิ่งขึ้น จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

ร้อยละของเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

23.53 20.53
2 เพื่อลดเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

ร้อยละของเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

5.88 3.00
3 เพื่อลดผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

18.57 15.00
4 เพื่อลดผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60  ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

14.29 12.00
5 เพื่อลดผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

15.38 13.00
6 เพื่อลดผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

7.69 5.69
7 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายงานสุขภาพจิตที่เข้าร่วมสร้างเครือข่ายพลเมืองสุขภาพจิตดี

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายงานสุขภาพจิตที่เข้าร่วมสร้างเครือข่ายพลเมืองสุขภาพจิตดี

2.00 24.00
8 เพื่อเพิ่มหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต

ร้อยละของหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต

62.50 100.00

1.เพื่อให้มีการบริการดูแลรักษาด้านสุขภาพจิตจิตเวช และการดูแลทางสังคมจิตใจควบคู่ไปกับการดูแลทางสุขภาพกาย
2.เพื่อให้ระบบส่งต่อผู้มีปัญหาสุขภาพจิต และจิตเวชมีประสิทธิภาพโดยเน้นการให้ความช่วยเหลือทางสังคมจิตใจสำหรับกลุ่มผู้มีปัญหาซึมเศร้า
3.เพื่อให้ ผู้นำ อาสาสมัครสาธารณสุขสามรถประเมินคัดกรองโรคซึมเศร้าด้วย 2 คำถามได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
4.เพื่อให้เกิดการเฝ้าระวัง ช่วยเหลือ ผู้มีปัญหาโรคซึมเศร้าและพยายามฆ่าตัวตายอย่างครบกระบวนการ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
บุคลากรใน รพ.สต.สงเปือย/อบต. 13
แกนนำพระสงฆ์ สามเณรในวัด 9
แกนนำสุขภาพจิตระดับหมู่บ้าน 18
แกนนำสุขภาพจิตเยาวชนในโรงเรียน 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมสร้างความเข้าใจโครงการแก่แกนนำสุขภาพจิต

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสร้างความเข้าใจโครงการแก่แกนนำสุขภาพจิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมสร้างความเข้าใจโครงการแก่แกนนำสุขภาพจิต มีกิจกรรมย่อย ดังนี้ -ชี้แจงสร้างความเข้าใจโครงการแก่แกนนำสุขภาพจิต จำนวน 50 คน -ร่วมกันกำหนดรูปแบบและแนวทางการทำกิจกกรรมเพื่อให้บรรลุตามโครงการ แนวทางการติดตามและประเมินผล -ไม่มีค่าใช้จ่าย-

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 สิงหาคม 2566 ถึง 22 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำสุขภาพจิตเข้าร่วมกิจกรรมตามเป้าหมาย / แกนนำสุขภาพจิตมีความรู้ความเข้าใจในโครงการ /เกิดรูปแบบและแนวทางการทำกิจกกรรมและแนวทางการติดตามและประเมินผล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. พัฒนาคุณภาพระบบบริหาร ดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและภาวะวิกฤตทางอารมณ์ โดยทีมสหสาขาวิชาชีพโดยการจัดอบรมพัฒนาบุคลากรใน รพ.สต.สงเปือย และเครือข่าย ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำระบบบริการเฝ้าระวังดูแลผู้มีปัญหาซึมเศร้า และฆ่าตัวตายอย่างต่อเนื่อง พัฒนาระบบส่งต่อแบบเชื่อมโยง ทั้งระบบส่งต่อภายในสถานบริการและระบบส่งต่อระหว่างสถานบริการ จนสามารถติดตามดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องแบบองค์รวม
  2. สร้างเสริมสุขภาพจิตชุมชนและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตแบบองค์รวม โดยใช้ชุมชนเป็นฐานโดยจัดบริการเชิงรุกสู่ชุมชน โดยการใช้ชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องและช่วยเหลือผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ตลอดจนเผยแพร่แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาแก่ประชาชนทั่วไปในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชน ดังนี้
    2.1 กิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพใจภาคประชาชน แก่แกนนำชุมชน เพื่อเป็นภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตแก่ชุมชนจำนวน ๑๘ คนประกอบด้วยผู้นำชุมชนและประธาน อสม.ครอบคลุม 9 หมู่บ้านเป้าหมาย เสริมสร้างสุขภาพกาย จิต ประจำครอบครัว
    2.2กิจกรรมอบรมแกนนำเยาวชน มุมเพื่อนใจวัยรุ่นเพื่อสร้างแกนนำเยาวชน กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนในโรงเรียน จำนวน ๑๐ คน ทำหน้าที่ให้บริการศึกษา ช่วยเผยแพร่เทคโนโลยีการป้องกันทำร้ายตนเองแก่สถานศึกษา
    2.3 กิจกรรมอบรมแกนนำสามเณร และพระสงฆ์ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตแก่สามเณร พระสงฆ์
    งบประมาณ 1.ค่าอาหารกลางวันจำนวน 50 คนๆละ 50 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน2,500บาท 2.อาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน50 คนๆละ 25บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500บาท 3.ค่าป้ายโครงการจำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน500บาท
  3. ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท
    รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
23 สิงหาคม 2566 ถึง 23 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.สถานบริการมีระบบคุณภาพมาตรฐานในการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิต 2. แกนนำสุขภาพมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะเครียดโรคซึมเศร้าการคัดกรอง การส่งต่อและการส่งเสริม การป้องกันการรักษาภาวะเครียด และโรคซึมเศร้าและสามารถประเมินคัดกรองโรคซึมเศร้าได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8500.00

กิจกรรมที่ 3 เชื่อมโยงบูรณาการองค์ความรู้สู่ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
เชื่อมโยงบูรณาการองค์ความรู้สู่ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • เชื่อมโยงบูรณาการองค์ความรู้สู่ชุมชนด้วยช่องทาง  วิทยุชุมชน คนยโสธรเรดิโอ FM.105.75 MHz. และเสียงตามสาย 1.สายด่วนสุขภาพจิต แก้ปัญหาชีวิตด้วยวิธีดีๆ โดยแกนนำ สามเณรและพระสงฆ์  ทุกวันพระ 2.ตอบปัญหาสุขภาพจิตครอบครัว เผยแพร่ องค์ความรู้ส่งเสริมครอบครัวอบอุ่น เสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ โดยเครือข่ายแกนนำเยาวชนในโรงเรียนกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเผยแพร่องค์ความรู้ด้านทักษะชีวิต แก่เพื่อนเยาวชนในโรงเรียน
  1. สร้างเสริมสุขภาพจิตกลุ่มวัยทำงาน ซึ่งมักขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการ กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้องรัง ตอบปัญหาสุขภาพกาย สุขภาพจิต และบริการติดตามเยี่ยมบ้าน โดยแกนนำสุขภาพจิตระดับหมู่บ้าน -ไม่มีค่าใช้จ่าย-
ระยะเวลาดำเนินงาน
24 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีความรู้ด้านการพัฒนาทักษะชีวิต และส่งเสริมสุขภาพจิต และการป้องกันการฆ่าตัวตาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-แกนนำสุขภาพทุกคนออกประเมินคัดกรองภาวะเครียดและ คัดกรองภาวะซึมเศร้า  ด้วยแบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม(2Q)  /  แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม(9Q) / แบบประเมินการฆ่าตัวตาย 8 คำถาม (8Q)
กลุ่มเป้าหมาย  อายุ 18-25 ปี  จำนวน  100  ชุด  อายุ 26-60 ปี  จำนวน  100  ชุด  และอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 100 ชุด -จัดเวทีประเมินภาวะเครียด และคัดกรองภาวะซึมเศร้าของประชาชนที่สำรวจมาพร้อมกับสังเกตว่าแต่ละคนมีสุขภาพจิตเป็นอย่างไร อุปนิสัยเป็นอย่างไร -  ส่งตัวแทนนำเสนอและอภิปรายปัญหาสุขภาพจิตของชุมชนร่วมกันเพื่อหาแนวทาง การดูแลร่วมกัน -งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม   จำนวน 50 คนๆละ 20 บาท  เป็นเงิน 1,000 บาท 2.ค่าวัสดุ อุปกรณ์  เป็นเงิน  500  บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 สิงหาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. แกนนำสุขภาพจิตประเมินคัดกรองโรคซึมเศร้าได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
  2. เกิดการเฝ้าระวัง ช่วยเหลือ ผู้มีปัญหาโรคซึมเศร้าและพยายามฆ่าตัวตายอย่างครบกระบวนการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สถานบริการรมีระบบคุณภาพมาตรฐานการดูแลผู้มีปัญหาจิต
2.เกิดการเชื่อมโยงบูรณาการสร้างเสริมสุขภาพจิตชุมชน และการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตแบบองค์รวมโดยใช้ชุมชนเป็นพื้นฐาน และสร้างเสริมพลังชุมชนในการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพจิต
3. แกนนำสุขภาพจิตประเมินคัดกรองโรคซึมเศร้าได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
4. เกิดการเฝ้าระวัง ช่วยเหลือ ผู้มีปัญหาโรคซึมเศร้าและพยายามฆ่าตัวตายอย่างครบกระบวนการ


>