กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล รหัส กปท. L8008

อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อดูแลสุขภาพข้อเข่าในกลุ่ม วัยทำงาน ผู้สูงอายุและญาติ ชุมชนหลังโรงพัก
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box
กลุ่มประชาชน
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนหลังโรงพัก
กลุ่มคน
1. นางสาวชุติมา พูนผล 0897386739
2. นางเจริญ รวมพงษ์
3. นางนันทา โฉมอำไพ
4. นางสาวปยุดา นักรำ
5. นางสาวจิดาภา จันท์มงคล
3.
หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยมีแนวโน้มของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านภาวะสุขภาพ จึงมักพบการเกิดโรคในลักษณะของการเสื่อมสภาพของร่างกาย อีกทั้งด้วยสภาพการณ์ในปัจจุบันที่มีการใช้ชีวิตที่แตกต่าง ออกไปจากเดิมส่งผลให้ผู้คนมักมีอาการเจ็บป่วยก่อนวัยอันควร โดยเฉพาะอาการปวดเมื่อยทางกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และกระดูก ที่สามารถพบได้ในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี นอกจากนี้ยังพบว่าโรคข้อที่มีความเสื่อมมากที่สุด คือ โรคข้อเข่าเสื่อม เนื่องจากข้อเข่าถือเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ ต้องรับน้ำหนักของร่างกายโดยตรง และยังทำหน้าที่เคลื่อนไหวเกือบตลอดเวลา ส่งผลให้มีความเสื่อมไปตามการใช้งานมากขึ้น ประกอบกับปัจจุบันรูปแบบการดำรงชีวิตมีความแตกต่างกันไป ทั้งนิสัยการทานที่ส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น หรือการเคลื่อนไหนร่างกายที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ ดังนั้น อาการข้อเข่าเสื่อมจึงถือเป็นปัญหาสำคัญของระบบบริการสุขภาพ เนื่องจากเป็นโรคข้อที่พบได้มากที่สุด และยังเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญให้ทุพพลภาพ โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้กำหนดให้วันที่ 12 ตุลาคมของทุกปี เป็น “วันโรคข้อสากล (World Arthritis Day)” มีการรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักรู้ ลดความเสี่ยง และมีแนวทางในการป้องกันข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควร


ปัญหาสุขภาพข้อเข่า มักพบได้หลากหลายช่วงวัย พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยภาวะของโรคข้อเข่าที่เรารู้จักกันคือ โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) คือโรคที่มีอาการปวดเมื่อยเวลาใช้งานข้อเข่า บางครั้งมีเสียงกรอบแกรบเวลาเคลื่อนไหว มีอาการข้อตึงหรือข้อติดเวลาใช้งานนานๆ เมื่อเป็นมากจนกระดูกผิวข้อสึกทำให้มีอาการปวดมากขึ้น อาจพบข้อเข่าผิดรูปได้ ทำให้ผู้ป่วยเกิดความยากลำบากในการเคลื่อนไหวร่างกายอันเป็นภาระต่อตนเองและผู้ดูแลทั้งยังมีเรื่องของภาระค่ารักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันการรักษาโรคอาการทางเข่านั้นยังไม่ได้รับการดูแลอย่างจริงจัง รวมทั้งตัวผู้ป่วยและผู้ดูแลเองก็ยังขาดความรู้ความเข้าใจในอาการที่เจอรวมถึงขาดความรู้ในการดูแลตนเองเบื้องต้น ทำให้คนมักหันไปพึ่งการรักษาด้วยยา ซึ่งการได้รับยารักษาโรคกล้ามเนื้อและกระดูกเป็นระยะเวลานานนั้น ก่อให้เกิดอาการข้างเคียงและส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น เลือดออกในกระเพาะ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง อาจทำให้เกิดภาวะกระดูกผุข้อเสื่อมเร็วขึ้น ทั้งยังส่งผลให้อวัยวะสำคัญของร่างกายอย่างไตทำงานหนักอีกด้วย ดังนั้นหากมีวิธีการดูแลสุขภาพข้อเข่าแบบไม่ใช้ยาหรือรับการผ่าตัด จึงเป็นทางเลือกแรกที่คนให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพข้อเข่า
ภูมิปัญญาไทย หรือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน ในด้านสมุนไพรไทยรวมถึงศาสตร์การดูแลสุขภาพแบบแผนไทยนั้น ปรากฏให้เห็นบ่อยๆ เนื่องจากทางรัฐบาลไทยได้มีการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองไม่เป็นภาระไม่ต้องเข้าสูระบบสุขภาพ โดยในทางการแพทย์แผนไทย โรคจับโปงแห้งเข่าหรือโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นถือเป็นโรคลมชนิดหนึ่งที่เกิดจากอาหาร อากาศ และน้ำ โดยโรคจับโปงแห้งมักจะเป็นจับโปงน้ำมาก่อนเมื่อปล่อยไว้จึงกลายเป็นจับโปงแห้ง คือมีอาการสะบ้าเจ่า ทำให้สะบ้ายึดติด มีหินปูนเกาะทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้ ซึ่งปัญหาสุขภาพเข่าทั้งสองแบบนั้นส่งผลให้การนั่ง การลุก การเดิน มีความยากลำบาก และนอกจากอายุจะเป็นปัจจัยสำคัญของโรคข้อเข่าแล้ว ยังพบว่า อาชีพหรือการทำงานหนักก็จัดเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการข้างต้นเช่นกัน การรักษาหรือบรรเทาอาการปวดเข่าด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านจึงมีการรักษาหลากหลายวิธี เช่น การจ่ายยาสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวด การสั่งหัตถการนวดและประคบสมุนไพร บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้ออันเป็นผลมาจากอาการปวดเข่า และการพอกยาสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าโดยตรง โดยการพอกยาสมุนไพรที่มีรสประธานฤทธิ์ร้อน เพื่อแก้อาการปวดเข่า ในลักษณะของโรคจับโปงแห้งเข่า (ข้อเข่าเสื่อม) เพื่อช่วยกระจายลมไม่ให้เกิดการคั่งหรืออั้นที่ข้อเข่า ทำให้อาการปวดและอาการฝืดในข้อเข่าลดลง เคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น และการใช้ยาพอกเข่าที่มีรสประธานฤทธิ์เย็น เพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าที่มีอาการของโรคจับโปงน้ำ เป็นต้น ดังนั้น เพื่อเป็นป้องกันปัญหาสุขภาพข้อเข่าที่จะเกิดขึ้นในกลุ่มวัยทำงาน ผู้สูงอายุและญาติ ในชุมชนหลังโรงพัก อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านชุมชนหลังโรงพัก จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้าน ให้หันมาเลือกใช้วิธีการทางการแพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพเข่าด้วยตนเอง เสริมสร้างองค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพข้อเข่า การออกกำลังกายที่เหมาะสม รวมถึงการเรียนรู้สรรพคุณของสมุนไพร การพอกเข่าสมุนไพร และการทำลูกประคบสมุนไพร ให้แก่ กลุ่มวัยทำงาน ผู้สูงอายุและญาติ รวมทั้งอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านชุมชนหลังโรงพัก ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการฯมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้สมุนไพรท้องถิ่น
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80ของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 80.00
  • 2. ส่งเสริมให้ ประชาชนและ อสม.ในการใช้สมุนไพรท้องถิ่นประดิษฐ์ลูกประคบได้
    ตัวชี้วัด : มีตัวอย่างการใช้สมุนไพรท้องถิ่นอย่างน้อย 5ิ รายการในการประดิษฐ์ลูกประคบ
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 5.00
  • 3. เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพข้อเข่าในเขตชุมชนหลังโรงพัก
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในกิจกรรม
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 80.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. การประชาสัมพันธ์โครงการในพื้นที่
    รายละเอียด

    การรณรงค์ให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมโครงการดังกล่าว โดยการแจกเอกสารเชิญชวนประชาชนกลุ่มเป้าหมาย เข้ารับการอบรมความรู้ด้านภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อการสร้างเสริมลักษณะนิสัยด้านการดูแลสุขภาพ
    ขั้นตอนการดำเนินงาน
    - การจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ
    - การแจกแผ่นพับ/ใบประชาสัมพันธ์โครงการเชิญชวนสมาชิกชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม
    - การรับสมัครและรวบรวมรายชื่อ ผู้เข้าร่วมโครงการ
    รายละเอียดงบประมาณ
    - ค่าป้ายไวนิล (ขนาด 1 * 3 เมตร)จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน450.- บาท
    - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ/ใบลงทะเบียนรายชื่อผู้เข้ารับการอบรม เป็นเงิน400.- บาท

    งบประมาณ 850.00 บาท
  • 2. การอบรมความรู้ด้านการดูแลสุขภาพเข่าด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน
    รายละเอียด

    การอบรมให้ความรู้ด้านการดูแลอาการปวดเข่าด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย แก่ประชาชนผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ
    - การให้ความรู้เกี่ยวกับอาการปวดเข่า และโรคที่เกี่ยวกับข้อเข่า
    - การให้ความรู้่และแนวทางในการบำบัดรักษาอาการปวดเข่า และการดูแลผู้ที่มีอาการทางข้อเข่าด้วยตนเอง
    - การให้ความรู้เรื่องยาที่ใช้รักษาอาการทางข้อเข่า และผลข้างเคียงที่ได้รับจากการทานยา
    - การให้ความรู้เรื่องศาสตร์การแพทย์แผนไทยกับการรักษาอาการทางข้อเข่า
    รายละเอียดงบประมาณ
    - ค่าสัมมนาคุณวิทยากร (จำนวน 2 คน ๆละ 3 ชั่วโมงๆละ ุ600 บาท) เป็นเงิน 3,600.-
    - ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม (จำนวน 80 คนๆละ 80 บาท จำนวน 1 มื้อ) เป็นเงิน 6,400.-
    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (จำนวน 80 คนๆละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ) เป็นเงิน 4,800.-
    - ค่าเอกสาร วัสดุอุปกรณ์ อาทิ ปากกา,คู่มือ ฯลฯ (ชุดละ 50 บาท จำนวน 80 ชุด) เป็นเงิน 4,000.-
    - ค่าจัดทำรายงานรูปเล่มโครงการ และรายงานการใช้จ่าย (จำนวน 2 เล่ม เล่มละ 250.-) เป็นเงิน 500.-
    (ถัวเฉลี่ยค่าใช้จ่ายทุกรายการ)
    กำหนดการอบรม
    (ตามเอกสารแนบท้าย)

    งบประมาณ 19,300.00 บาท
  • 3. กิจกรรมพอกเข่าและการทำลูกประคบสมุนไพร
    รายละเอียด

    การพอกเข่า คือ การนำสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อและกระตุ้นการเดินของลม นำมาใช้พอกตามบริเวณข้อเข่า ส่วนประกอบของยาพอกเข่า (ปรับได้ตามความเหมาะสมของท้องถิ่นนั้นๆ)
    1. ดองดึง
    2. แป้งข้าวเจ้า
    3. แป้งข้าวหมาก
    4. ดินสอพอง การทำลูกประคบสมุนไพร คือ การนำลูกประคบสมุนไพรสดหรือสมุนไพรแห้ง ที่มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ มานึ่งให้ร้อน และนำมาประคบตามส่วนต่างๆของร่างกาย
    ส่วนประกอบของลูกประคบ(ปรับได้ตามความเหมาะสมของท้องถิ่นนั้นๆ)
    1. ไพล (3000 กรัม) แก้ปวดเมื่อย ลดการอักเสบ
    2. ผิวมะกรูดถ้าไม่มีใช้ใบแทนได้ (700 กรัม) มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน
    3. ตะไคร้บ้าน (1200 กรัม) แต่งกลิ่น
    4. ใบมะขาม (2000 กรัม) แก้อาการคันตามร่างกาย ช่วยบำรุงผิว
    5. ขมิ้นชัน (800 กรัม) ช่วยลดการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง
    6. เกลือ (500 กรัม) ช่วยดูดความร้อนและช่วยพาตัวยาซึมผ่านผิวหนังได้สะดวกขึ้น
    7. การบูร (500 กรัม) แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ
    8. ใบส้มป่อย (800 กรัม) ช่วยบำรุงผิว แก้โรคผิวหนัง ลดความดัน
    9. ขมิ้นอ้อย (800 กรัม)
    10. ผ้าด้ายดิบหรือผ้าฝ้าย
    11. เชือก
    12. กะละมัง
    13. ทัพพี
    14. อุปกรณ์สำหรับนึ่งลูกประคบ
    15. มีด
    16. เขียง

    วิธีเตรียมลูกประคบ
    1. หั่นหัวไพร ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ต้นตะไคร้ และเถาเอ็นอ่อน แล้วตำพอหยาบ
    2. ปอกผิวมะกรูดออกหั่น แล้วตำพอหยาบ
    3. นำส่วนผสมในข้อ 1 และ 2 มาตำรวมกับใบมะขาม และใบส้มป่อย
    4. ใส่การบูรและพิมเสนลงไป ผสมให้เข้ากัน ตำต่อไปให้แหลก แต่อย่าถึงกับละเอียด เพราะลูกประคบจะแฉะ
    5. แบ่งตัวยาที่ตำได้เป็น 2 ส่วนเท่าๆ กัน ใช้ผ้าขาวห่อ รัดด้วยเชือกให้แน่น จะได้ลูก ประคบ 2 ลูก

    ขั้นตอนการดำเนินงาน
    - แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมลูกประคบ และสมุนไพรพอกเข่า
    - ลงมือทำกิจกรรมโดยมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำ ระยะเวลา 1 วัน
    - จับคู่ทดลองใช้สมุนไพรพอกเข่าพร้อมส่งตัวแทนอธิบายผลลัพธ์
    - นำลูกประคบจากการลงมือปฏิบัติจริงกลับไปใช้
    รายละเอียดงบประมาณ
    - ค่าอุปกรณ์ และสมุนไพร ที่ใช้ในการทำลูกประคบ(ลูกละ 100 บาท จำนวน 80 ลูก) เป็นเงิน 8,000.-
    - ค่าอุปกรณ์ และสมุนไพร ที่ใช้ในการพอกเข่า (สมุนไพรพอกชุดละ 100 บาท จำนวน 80 ชุด) เป็นเงิน 8,000.-
    (ถัวเฉลี่ยค่าใช้จ่ายทุกรายการ)

    งบประมาณ 16,000.00 บาท
  • 4. กิจกรรมติดตามประเมินผลการใช้ลูกประคบและการพอกเข่า
    รายละเอียด

    ติดตามประสิทธิภาพการใช้งานจากลูกประคบและการพอกเข่า ตามกลุ่มเป้าหมาย
    แบบประเมินความพึงพอใจ  ประสิทธิภาพในการใช้งาน และความต่อเนื่อง

    งบประมาณ 0.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ การใช้สมุนไพรท้องถิ่นดูแลสุขภาพข้อเข่า

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 กันยายน 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566

8.
สถานที่ดำเนินการ

ชุมชนหลังโรงพัก จังหวัดสตูล

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 36,150.00 บาท

หมายเหตุ : *ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ด้านการบำบัดรักษาอาการปวดเข่าด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยไปใช้ดูแลผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าได้จริง
  2. อสม.ชุมชนหลังโรงพัก มีความรู้ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีอาการปวดข้อเข่าในเขตชุมชนที่ตนรับผิดชอบ
  3. สามารถป้องกันและควบคุมอาการปวดเข่าของประชาชนในชุมชนหลังโรงพักได้
  4. ประชาชนชุมชนหลังโรงพัก หันมาใช้ศาสตร์การแพทย์แผนไทย เป็นทางเลือกแรกในการบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น
  5. อัตราผู้ป่วยโรคไต จากการกินยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ของชุมชนลดลง
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล รหัส กปท. L8008

อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล รหัส กปท. L8008

อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 36,150.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................