2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ปัจจุบันประเทศไทยมีแนวโน้มของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านภาวะสุขภาพ จึงมักพบการเกิดโรคในลักษณะของการเสื่อมสภาพของร่างกาย อีกทั้งด้วยสภาพการณ์ในปัจจุบันที่มีการใช้ชีวิตที่แตกต่าง ออกไปจากเดิมส่งผลให้ผู้คนมักมีอาการเจ็บป่วยก่อนวัยอันควร โดยเฉพาะอาการปวดเมื่อยทางกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และกระดูก ที่สามารถพบได้ในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี นอกจากนี้ยังพบว่าโรคข้อที่มีความเสื่อมมากที่สุด คือ โรคข้อเข่าเสื่อม เนื่องจากข้อเข่าถือเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ ต้องรับน้ำหนักของร่างกายโดยตรง และยังทำหน้าที่เคลื่อนไหวเกือบตลอดเวลา ส่งผลให้มีความเสื่อมไปตามการใช้งานมากขึ้น ประกอบกับปัจจุบันรูปแบบการดำรงชีวิตมีความแตกต่างกันไป ทั้งนิสัยการทานที่ส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น หรือการเคลื่อนไหนร่างกายที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ ดังนั้น อาการข้อเข่าเสื่อมจึงถือเป็นปัญหาสำคัญของระบบบริการสุขภาพ เนื่องจากเป็นโรคข้อที่พบได้มากที่สุด และยังเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญให้ทุพพลภาพ โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้กำหนดให้วันที่ 12 ตุลาคมของทุกปี เป็น “วันโรคข้อสากล (World Arthritis Day)” มีการรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักรู้ ลดความเสี่ยง และมีแนวทางในการป้องกันข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควร
ปัญหาสุขภาพข้อเข่า มักพบได้หลากหลายช่วงวัย พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยภาวะของโรคข้อเข่าที่เรารู้จักกันคือ โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) คือโรคที่มีอาการปวดเมื่อยเวลาใช้งานข้อเข่า บางครั้งมีเสียงกรอบแกรบเวลาเคลื่อนไหว มีอาการข้อตึงหรือข้อติดเวลาใช้งานนานๆ เมื่อเป็นมากจนกระดูกผิวข้อสึกทำให้มีอาการปวดมากขึ้น อาจพบข้อเข่าผิดรูปได้ ทำให้ผู้ป่วยเกิดความยากลำบากในการเคลื่อนไหวร่างกายอันเป็นภาระต่อตนเองและผู้ดูแลทั้งยังมีเรื่องของภาระค่ารักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันการรักษาโรคอาการทางเข่านั้นยังไม่ได้รับการดูแลอย่างจริงจัง รวมทั้งตัวผู้ป่วยและผู้ดูแลเองก็ยังขาดความรู้ความเข้าใจในอาการที่เจอรวมถึงขาดความรู้ในการดูแลตนเองเบื้องต้น ทำให้คนมักหันไปพึ่งการรักษาด้วยยา ซึ่งการได้รับยารักษาโรคกล้ามเนื้อและกระดูกเป็นระยะเวลานานนั้น ก่อให้เกิดอาการข้างเคียงและส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น เลือดออกในกระเพาะ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง อาจทำให้เกิดภาวะกระดูกผุข้อเสื่อมเร็วขึ้น ทั้งยังส่งผลให้อวัยวะสำคัญของร่างกายอย่างไตทำงานหนักอีกด้วย ดังนั้นหากมีวิธีการดูแลสุขภาพข้อเข่าแบบไม่ใช้ยาหรือรับการผ่าตัด จึงเป็นทางเลือกแรกที่คนให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพข้อเข่า
ภูมิปัญญาไทย หรือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน ในด้านสมุนไพรไทยรวมถึงศาสตร์การดูแลสุขภาพแบบแผนไทยนั้น ปรากฏให้เห็นบ่อยๆ เนื่องจากทางรัฐบาลไทยได้มีการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองไม่เป็นภาระไม่ต้องเข้าสูระบบสุขภาพ โดยในทางการแพทย์แผนไทย โรคจับโปงแห้งเข่าหรือโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นถือเป็นโรคลมชนิดหนึ่งที่เกิดจากอาหาร อากาศ และน้ำ โดยโรคจับโปงแห้งมักจะเป็นจับโปงน้ำมาก่อนเมื่อปล่อยไว้จึงกลายเป็นจับโปงแห้ง คือมีอาการสะบ้าเจ่า ทำให้สะบ้ายึดติด มีหินปูนเกาะทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้ ซึ่งปัญหาสุขภาพเข่าทั้งสองแบบนั้นส่งผลให้การนั่ง การลุก การเดิน มีความยากลำบาก และนอกจากอายุจะเป็นปัจจัยสำคัญของโรคข้อเข่าแล้ว ยังพบว่า อาชีพหรือการทำงานหนักก็จัดเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการข้างต้นเช่นกัน การรักษาหรือบรรเทาอาการปวดเข่าด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านจึงมีการรักษาหลากหลายวิธี เช่น การจ่ายยาสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวด การสั่งหัตถการนวดและประคบสมุนไพร บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้ออันเป็นผลมาจากอาการปวดเข่า และการพอกยาสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าโดยตรง โดยการพอกยาสมุนไพรที่มีรสประธานฤทธิ์ร้อน เพื่อแก้อาการปวดเข่า ในลักษณะของโรคจับโปงแห้งเข่า (ข้อเข่าเสื่อม) เพื่อช่วยกระจายลมไม่ให้เกิดการคั่งหรืออั้นที่ข้อเข่า ทำให้อาการปวดและอาการฝืดในข้อเข่าลดลง เคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น และการใช้ยาพอกเข่าที่มีรสประธานฤทธิ์เย็น เพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าที่มีอาการของโรคจับโปงน้ำ เป็นต้น
ดังนั้น เพื่อเป็นป้องกันปัญหาสุขภาพข้อเข่าที่จะเกิดขึ้นในกลุ่มวัยทำงาน ผู้สูงอายุและญาติ ในชุมชนหลังโรงพัก อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านชุมชนหลังโรงพัก จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้าน ให้หันมาเลือกใช้วิธีการทางการแพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพเข่าด้วยตนเอง เสริมสร้างองค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพข้อเข่า การออกกำลังกายที่เหมาะสม รวมถึงการเรียนรู้สรรพคุณของสมุนไพร การพอกเข่าสมุนไพร และการทำลูกประคบสมุนไพร ให้แก่ กลุ่มวัยทำงาน ผู้สูงอายุและญาติ รวมทั้งอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านชุมชนหลังโรงพัก ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/09/2023
กำหนดเสร็จ 31/12/2023
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
*ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ด้านการบำบัดรักษาอาการปวดเข่าด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยไปใช้ดูแลผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าได้จริง
2. อสม.ชุมชนหลังโรงพัก มีความรู้ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีอาการปวดข้อเข่าในเขตชุมชนที่ตนรับผิดชอบ
3. สามารถป้องกันและควบคุมอาการปวดเข่าของประชาชนในชุมชนหลังโรงพักได้
4. ประชาชนชุมชนหลังโรงพัก หันมาใช้ศาสตร์การแพทย์แผนไทย เป็นทางเลือกแรกในการบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น
5. อัตราผู้ป่วยโรคไต จากการกินยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ของชุมชนลดลง