กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ร่มไทร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียนศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ตำบลร่มไทร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ร่มไทร

ชมรมศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ตำบลร่มไทร ได้แก่ 1.นายมาหะมะอัดนัน เจ๊ะโซะ 2.นายสอารอนิง บินยูโซะ 3.นายซีกิฟลี มือลี 4.นางสาวรอกีเยาะ บินอาแว 5.นายอาซิ นิเตะ

ตำบลร่มไทร อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อาหารมีความสำคัญในทุกเพศและทุกวัย โดยเฉพาะสำหรับเด็กวัยเรียน ซึ่งเป็นวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต และเป็นช่วงที่สมองกำลังพัฒนา อาหารจึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับวัยนี้ ดังนั้นควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ซึ่งในแต่ละหมู่ต้องมีความหลากหลายและปริมาณให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอเหมาะสม ซึ่งเด็กวัยเรียนเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว การได้รับสารอาหารมากเกินไปหรือขาดสารอาหารจะมีผลกระทบต่อเด็กได้ ผลกระทบที่พบประกอบด้วยด้านสุขภาพร่างกาย ด้านสังคมและจิตใจด้านการเรียน และด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาโภชนาการในเด็กนักเรียนนั้น พบว่า 3 ปัจจัย ได้แก่ ส่วนบุคคล พฤติกรรม และอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ทั้งปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนที่มีส่วนทำให้เด็กนักเรียนมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
ในการนี้รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้มีการดำเนินการอุดหนุนงบประมาณอาหารกลางวันในศูนย์ฯ ตาดีกา นับว่าเป็นโครงการที่มีความสำคัญในการส่งเสริมให้นักเรียนตาดีกามีการรับปรทานอาหารตามหลักโภชนาการ เพื่อแก้ปัญหาและเสริมสร้างปลูกฝังสุขนิสัยที่ดีในการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย และให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพื่อให้นักเรียนสามารถพัฒนาสุขภาพของตนเองได้อย่างยั่งยืน และที่สำคัญครูศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ผู้บริหารประชาชนทั่วไปที่สนใจและผู้ปกครองของเด็กนักเรียนศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมของนักเรียนด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ครูและเด็กนักเรียนมีความรู่้ความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการ และภาวะโภชนาการเพิ่มขึ้น

 

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กนักเรียนมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตตามวัย

 

0.00
3 เพื่อให้เด็กนักเรียนรับรู้ความสามารถของตนเอง และทักษะการเลือกบริโภคอาหารที่ดีมีประโยชน์

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 267
กลุ่มวัยทำงาน 33
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/08/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การเตรียมความพร้อม

ชื่อกิจกรรม
การเตรียมความพร้อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลร่มไทร 2. จัดประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ 3. ประสานการจัดโครงการ / จัดหากลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 สิงหาคม 2566 ถึง 11 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 การดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
การดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้ส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กนักเรียน ได้แก่ 1. กินถูกต้องตามหลักโภชนาการ (Foods for health) 2. ภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน (Choose me please!) 3. อาหารในฝันที่เหมาะสมกับวัยเรียน (My foods) 4. เมนูอาหารกลางวันส่งเสริมโภชนาการ(Good food menu)

รายละเอียดงบประมาณ ได้แก่ - ค่าอาหารกลางวันและน้ำดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 300 คนๆ ละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ (จำนวน 2 วัน ๆละ 150 คน) เป็นเงิน 18,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 300 คนๆ ละ 25 บาทจำนวน 2 มื้อ (จำนวน 2 วัน ๆละ 150 คน) เป็นเงิน 15,000 บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 12 ชม.ๆละ 600 บาท (จำนวน 2 วันๆละ 3,000 บาท) เป็นเงิน 7,200 บาท
  • ค่าป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้าย ขนาด 1X3 ม. ตารางเมตรละ 250 บาท เป็นเงิน 750 บาท

  • ค่าจัดสถานที่ เป็นเงิน 2,000 บาท

  • ค่าวัสดุจัดการอบรม เป็นเงิน 29,100 บาท ประกอบด้วย
    ค่าสมุด จำนวน 300 เล่ม ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 3,000.-บาท
    ปากกา จำนวน 300 ด้ามๆละ 7 บาท เป็นเงิน 2,100.- บาท
    ค่ากระเป๋าใส่เอกสาร จำนวน 300 ใบ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 15,000.- บาท
    ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรมจำนวน 300 เล่ม ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 9,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 สิงหาคม 2566 ถึง 27 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
72050.00

กิจกรรมที่ 3 การติดตามและประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
การติดตามและประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามประเมินภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียน ก่อน-หลัง เข้าร่วมโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 สิงหาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลโครงการ และรายงานผล

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 สิงหาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 72,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ครูและเด็กนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการ และภาวะโภชนาการเพิ่มขึ้น
2. เด็กนักเรียนมีพัฒนาทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตตามวัย
3. เด็กนักเรียนรับรู้ความสามารถของตนเอง และทักษะการเลือกบริโภคอาหารที่ดีมีประโยชน์


>