กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ระแว้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการขยะอินทรีย์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ระแว้ง

องค์การบริหารสาวนตำบลระแว้ง

นายอัมมัรร์ ยีกาเดร์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ

ตำบลระแว้ง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

คนละ0.8กิโลกรัมต่อวัน ครัวเรือนละ3คน

2.40
2 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

คิดจาก2618ครัวเรือน ดำเนินการแล้ว10ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 0.38

0.38
3 ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ

 

50.00
4 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

จำนวนกลุ่ม 11กลุ่ม รร.บ้านระแว้ง

3.00

ความสำคัญในโครงการ สภานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล ปัญหาขยะมูลฝอยถือเป็นปัญหาสำคัญซึ่งนับวันที่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น อับเป็นสืยเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากร ทั้งประชากรในพื้นที่และประชากรแฝงที่เพิ่มขึ้นพร้องกับความเจริญเติบโตของตำบลตลอดจนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชน จากสถานการณ์ของขยะมูลฝอยทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน การทำลายทัศนียภาพ ความสวงามของตำบล อีกทั้งยังเป็นแหล่งเพาะพันธ์สัตว์และพาหนะนำโรคต่างๆ เช่น หนู ยุง แมลงวัน ฯลฯ ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนสุขภาพของคนในชุมชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่จะมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยดังกล่าวรวมถึงมีการกำหนดรูปแบบหรือวิธีการจัดการไว้แล้ว แต่ยังคงไม่เพียงพอหรือไม่สามารถตอบสนองต่อปริมาณขยะมูลฝอยที่เพิ่มมากขึ้นและยังคงก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อาทิ เช่น ปัญหาขยะตกค้าง ก่อให้เกิดความสกปรกในพื้นที่ ปัญหาด้านกระบวนการกำจัดขยะหรือปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ หรือสร้างมูลค่าหรือสร้างรายได้ ซึ้งจะเป็นผลให้ความสามรถลดปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นได้ จังหวัดตรังได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน "จังหวัดสะอาด" ประจำปี พ.ศ. 2565 ภายใต้ แผนปฏิบัติการการจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ.2565-2570) โดยดำเนินการตั้งแต่จังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมู่บ้านและุมชน โดยใช้หลักการ 3 ช. : ใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ ภายใต้กรอบการดำเนินงาน 3 ระยะ ตั้งแต่ ต้นทาง กลางทางและปลายทาง เพื่อลดปรอมาณขยะและส่งการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดทำระบบเก็บขนอย่างมีประสิทธิภาพและขยะมูลฝอยได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ประกอบกับกระทรวงมหาดไทยกำหนดนโยบายการดำเนินงานด้าน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าสเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล โดยขึ้นทะเบียนของโครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนททท้องถิ่นประเทศไทย ตามโครงการลดก็าสเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตฐานของประเทศไทย (T-VER) ของกรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่ระดับครัวเรือน โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคัดแยกขยะเปียกหรือขยะที่มาจากเศษอาหารออกจากถังขยะทั่วไป เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและแก้ปัญหาขยะที่เกิดจากต้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อขับเลื่อนนโยบายการลดปริมาณและคัดแยกขยะเปียกของครัวเรือนในระดับท้องถิ่นและเป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการ "ขยะเปียกลดโลกร้อน" สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลระแว้งจึงได้ทำโครงการอบรมให้ความรู้การจัดทำคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน แก่ ผู้นำหมู่บ้าน ประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ ทุกครัวเรือนมีการจัดการขยะอินทรีย์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ

0.38 100.00
2 เพื่อเพิ่มหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการในการจัดการขยะ

ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ ทุกครัวเรือน

50.00 100.00
3 เพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดต่อวัน

ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดต่อวัน ลดลงครึ่งหนึ่่งของแต่ละครัวเรือน

2.40 1.20
4 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน ทุกหมู่บ้านมีกลุ่มในการจัดการขยะอินทรีย์

3.00 3.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 974
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 29/08/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ (29 ส.ค. 2566 - 30 ส.ค. 2566)

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ (29 ส.ค. 2566 - 30 ส.ค. 2566)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจจกรรมอบรม บรรยายให้ความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง วิธีการ คัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน แก่ ครัวเรือนเป้าหมาย

-ค่าสมนาคุณวิทยากร 6 ช.ม x 600 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 7,200.-บาท -ค่าอาหารกลางวัน 500 คน x 80 บาท เป็นเงิน 40,000.-บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ x 500 คน x 35 บาท เป็นเงิน 35,000.-บาท -ค่าวัสดุฝึกอบรม จำนวน 500 x 50 บาท เป็นเงิน 25,000.-บาท -ค่าป้ายโครงการจำนวน๑ ป้ายขนาด 1 x 3 ม.เป็นเงิน750.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 สิงหาคม 2566 ถึง 30 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
107950.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ ประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ ประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจ เรื่อง วิธีการคัดแยกขยะอินทรีย์ หรือขยะเปียกใน ครัวเรือน แก่ประชาชน ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายในการจัดทำขยะอินทรีย์หรือขยะเปียก ผ่านบอร์ดประชาสัมพันธ์หมู่บ้าน และเสียงตามสายหมู่บ้าน -ค่าป้ายรณรงค์จำนวน 1 ป้ายๆละ 750 บาท ขนาด 1 x 3 ม.เป็นเงิน 750.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

กิจกรรมที่ 3 จัดทำและสาธิตการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน

ชื่อกิจกรรม
จัดทำและสาธิตการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำและสาธิตการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน ค่าถังขยะเปียก 500 x 180 = 90,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
90000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 198,700.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้การจัดถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อเสนอขอพิจารณาอนุมัติจากผู้บริหารท้องถิ่น เสนอของงบประมาณสนับสนุนในการจัดทำโครงการฯ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลระแว้ง 3. ประชุมหารือผู้ผู้เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการจัดทำถังขยะขยะอินทรีย์หรือขยะเปียก 4. อบรม บรรยายให้ความรู้ความเข้าใจ เรื่อง การคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน แก่ประชาชน ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายในการจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียก 5. รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจ เรื่อง วิธีการคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน แก่ประชาชน ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายในการจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียก ผ่านบอร์ดประชาสัมพันธ์หมู๋บ้าน และเสียงตามสายหมู่บ้าน 6. เตรียมความพร้อมให้โรงเรียนในพื้นที่ตำบลระแว้งและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลระแว้ง แหล่งเรียนรู้ "การจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกได้ 7. ประสานสถานประกอบการในตำบลให้ดำเนินการจัดการขยะอินทรีย์ตามแนวทางที่ตำบลระแว้ง กำหนดดำเนินการจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือถังขยะเปียกของกลุ่มเป้าหมายครบทุกหลังคาเรือน 9. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของโครงการและรายงานสรุปผลการดำเนินงานเสนอผู้บริหารท้องถิ่น และกองทุนหลักประกันตำบลระแว้ง

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถจัดการขยะอินทรีย์และลดปริมาณขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ 2.กลุ่มแกนนำชุมชน อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล) ผู้นำท้องที่ ประชาชน มีจิตสำนึกในการคัดแยกขยะครัวเรือนตั้งแต่ต้นต้นทาง 3.เป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการ "ขยะเปียกลกโลกร้อน" และการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในพื้นที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น 4.ครัวเรือนและชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ 5.ลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือน ชุมชน ที่ก่อให้เกิดแหล่งเพาะพันธ์ุเชื้อโรค


>