กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโพธิ์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการว่ายน้ำเพื่อชีวิตรอด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโพธิ์

อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านบ้านเกาะเนียง

นางสาวสุพิศม่วงมูลนางรัมภา หนูสวัสดิ์นางลำยองงามสนะนางอุทัยสุขคะปะนางสมนึกแก้วมงคล

หมู่ 1 - หมู่ 7 ตำบลควนโพธิ์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

องค์การอนามัยโลกรายงานการตกน้ำ จมน้ำจัดเป็นสาเหตุ ๑ ใน ๑๐ อันดับแรกจากการเสียชีวิตของเด็กทั่วโลก พบว่า เด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี เสียชีวิตจากการตกน้ำ จมน้ำถึงปีละ ๑๓๕,๕๘๕ คน เฉลี่ยวันละ ๓๗๒ คน ในประเทศไทยพบว่า เด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี เสียชีวิตจากการตกน้ำ จมน้ำมากถึงปีละ ๑,๔๓๕ คน หรือวันละ ๔ คน จึงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของเด็กไทย เมื่อเทียบกับการเสียชีวิต จากสาเหตุอื่น ๆ ในทุกสาเหตุทั้งโรคติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ จากสถานการณ์ที่ผ่านมาในแต่ละปีพบปัญหามีเด็กได้รับอุบัติเหตุจากการเล่นน้ำและจมน้ำเสียชีวิต มีแนวโน้มที่สูงขึ้น เพราะในพื้นที่ดังกล่าวมีแหล่งน้ำ ที่เด็กสามารถเล่นน้ำได้โดยผู้ปกครองอาจจะไม่ทราบและไม่ตระหนักถึงสาเหตุการเสียชีวิตของบุตรหลาน จากการจมน้ำหากเด็กตระหนักรู้ถึงอันตรายของการเล่นน้ำและการช่วยเหลือตนเองหรือช่วยเหลือเพื่อนเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง ซึ่งจะทำให้ลดอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความปลอดภัยทางน้ำ 2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้เอาตัวรอดจากอุบัติภัยทางน้ำ ว่ายน้ำเป็น เล่นน้ำอย่างปลอดภัย 3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำได้อย่างถูกวิธี และปลอดภัย 4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีทักษะการว่ายน้ำ ส่งเสริมให้มีสุขภาพแข็งแรง และมีทักษะสามารถต่อยอดไปสู่การกีฬาได้ 5. เพื่อผู้เข้าอบรมมีความรู้ด้านการปฐมพยาบาลคนจมน้ำ การฟื้นคืนชีพ (CPR)

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. บรรยายให้ความรู้ เรื่อง ความปลอดภัยทางน้ำ รู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง การจัดการแหล่งน้ำเสี่ยงให้ปลอดภัย ความปลอดภัยในการเดินทางและการทำกิจกรรมทางน้ำ การเอาตัวรอดจากการจมน้ำด้วยการลอยตัว การว่ายน้ำ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ การปฐมพยาบาลคนจมน้ำและปฎิบัติ ระ

ชื่อกิจกรรม
1. บรรยายให้ความรู้ เรื่อง ความปลอดภัยทางน้ำ รู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง การจัดการแหล่งน้ำเสี่ยงให้ปลอดภัย ความปลอดภัยในการเดินทางและการทำกิจกรรมทางน้ำ การเอาตัวรอดจากการจมน้ำด้วยการลอยตัว การว่ายน้ำ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ การปฐมพยาบาลคนจมน้ำและปฎิบัติ ระ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดดังนี้ ๑.ค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรม -ค่า สถานที่ห้องประชุม เป็นเงิน๓,๐๐๐.- บาท -ค่าจัดจ้างป้ายไวนิลโครงการฯ ขนาด ๑.๒๐ x ๒.๔๐ เมตร
จำนวน ๑ ป้าย เป็นเงิน ๔๓๒.- บาท -ค่าสถานที่ใช้บริการสระว่ายน้ำ เป็นเงิน๔,๐๐๐.-บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน ๖๐ คน ๆ ละ ๓๐ บาท จำนวน ๒ วันๆ รวม ๔ มื้อเป็นเงิน ๗,๒๐๐.- บาท
-ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมอบรมโครงการฯ จำนวน ๖๐ คนๆละ ๗๐ บาท จำนวน ๒ วันๆ รวม ๒ มื้อ เป็นเงิน ๘,๔๐๐.-บาท
-ค่าสมนาคุณวิทยากร -ค่าสมนาคุณวิทยากร บรรยาย
จำนวน ๓ ชั่วโมง ๆ ละ ๖๐๐ บาท จำนวน ๑ คน เป็นเงิน ๑,๘๐๐.-บาท
-ค่าสมนาคุณวิทยากร แบ่งกลุ่มฝึกภาคปฏิบัติ จำนวน ๓ กลุ่ม
จำนวน ๓ คนๆ ละ ๙ ชั่วโมงๆ ละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน ๑๖,๒๐๐. – บาท -ค่าเช่าเหมารถรับส่งเด็กจากตำบลควนโพธิ์ไปสระน้ำเทศบาลฉลุง ไป-กลับเป็นเวลาสองวัน จำนวน 5 คัน เที่ยวละ 250 ต่อคันเป็นเงิน ๕,๐๐๐.- บาท -ค่าถ่ายเอกสารใบความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ,แบบประเมิน ความรู้ก่อน-หลังการอบรม แบบประเมินความพึงพอใจโครงการ,แบบตอบ รับเข้าร่วมโครงการ,แบบประเมินการเข้าร่วมกิจกรรม
จำนวน ๓๖๐ แผ่นๆละ ๑ บาท เป็นเงิน๓๖๐.- บาท -ค่าเกียรติบัตรผู้ผ่านการอบรม จำนวน ๖๐ แผ่นๆละ ๒๐ บาท เป็นเงิน ๑,๒๐๐.- บาท ๒. ค่าใช้จ่าย กิจกรรมติดตั้งป้ายเฝ้าระวัง บริเวณจุดเสี่ยง เพื่อป้องกันเด็กจมน้ำ - ค่าทำป้ายไวนิลพร้อมโครงไม้ติดตั้ง (ป้ายคำเตือนจุดเสี่ยง)
ขนาดโปสเตอร์ ๐.๗๐ x ๑.๐๐เมตร จำนวน ๕ ป้าย ๆ ละ ๔๒๐.- บาท เป็นเงิน๒,๑๐๐.- บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น๔๙,๖๙๒ บาท (เงินสี่หมื่นเก้าพันหกร้อยเก้าสิบสองบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
49692.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 49,692.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกิดการกระตุ้นในชุมชนให้เล็งเห็นภัยทางน้ำ ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตของเด็กและเยาวชน และยังก่อให้เกิดกระบวนการบริหารจัดการแหล่งน้ำในชุมชนให้มีความปลอดภัย เพื่อลดการเกิดเหตุและความสูญเสีย
2. เด็กและเยาวชนสามารถที่จะเอาตัวรอดจากการจมน้ำ และยังสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างปลอดภัย
3. ผู้เข้าอบรมสามารถที่จะร้องขอความช่วยเหลือและการปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธี
4. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและยังสามารถที่จะแนะนำผู้ปกครอง เพื่อนๆ ให้รู้จักภัยทางน้ำ


>