กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

เขตเทศบาลตำบลปริก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 12 จากข้อมูลกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม -31 พฤษภาคม 2566 มีรายงานผู้ป่วย 2884 ราย เสียชีวิต 6 ราย อัตราป่วย 57.57 ต่อแสนประชากร อัตราตาย 0.08 ต่อแสนประชาการ และอัตราป่วยตาย 0.21 ต่อแสนประชากร และมีอัตราป่วยสูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง เมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งคาดว่าน่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขั้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จังหวัดสงขลา จึงให้อำเภอหาดใหญ่ เมืองสงขลา เทพา และสะเดา ติดตามสถานการณ์โรคไข้เลือดออก และเปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์สาธารณสุข(EOC) ระดับอำเภอ เนื่องจากอำเภอสะเดา ได้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง เป็นลำดับที่ 1 ของสงขลา เป็นอันดันดับที่ 2 ของเขตสุขภาพที่12 ภาคใต้มีผู้ป่วยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม -14 มิถุนายน 2566 จำนวน 251 ราย อัตราป่วย 139.55 ต่อแสนประชากรพบผู้ป่วยสูงสุดในตำบลปาดังเบซาร์ จำนวนร 63 ราย อัตราป่วย 176.67 ต่อแสนประชากร รองลงมา ตำบลสำนักขาม จำนวน 50 ราย อัตราป่วย 168.17 ต่อแสนประชากร ตำบลสะเดา จำนวน 45 ราย อัตราป่วย 133.16 ต่อแสนประชากร ตำบลปริก จำนวน 36 ราย อัตราป่วย 115.91 ต่อแสนประชากร และตำบลสำนักแต้ว จำนวน 31 ราย อัตราป่วย 148.32 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ และมีแนวโน้มการระบาดเป็นวงกว้างในสถานศึกษา โรงงาน และหมู่บ้าน จึงทำให้อำเภอสะเดามีความจำเป็นเร่งด่วนในการเปิดศูนย์ปฏิบัติการควบคุโรคป้องกันโรคไข้เลือดออกอำเภอสะเดา ครั้งที่ 1 /2566 ในวันที่ 22 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา เพื่อร่วมปรึกษาหารือ วิเคราะห์ปัญหา และวางแผนแก้ไขปัญหา เพื่อการระบาดของโรคไข้เลือดออก
สถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออดในเขตเทสบาลตำบลปริก ตั้งแต่วันที่ มกราคม - กรกฎาคม 2566 พบจำนวนผู้ป่วยยืนยันโรคไข้เลือดออกยืนยันจำนวน 22รายอัตราป่วยร้อยละ 343.69 ต่อแสนประชากรสงสัยไข้เลือดออก 6 ราย ซึ่งสูงกว่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลังในช่วงเดียวกัน (ข้อมูลจากรพ.สต.ปริก ณ วันที่ 17 ก.ค.2566)และยังคงมีการรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกรายใหม่ในชุมชนและในโรงเรียนในเขตเทศบาลตำบลปริกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552 กำหนดให้เทศบาลตำบลมีหน้าที่ป้องกันและระงับโรคติดต่อ ซึ่งโรคติดต่อหมายถึง โรคที่สามารถถ่ายทอด หรือติดต่อจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังอีกสิ่งมีชีวิตหนึ่งได้ โดยไม่จำกัดว่าสิ่งมีชีวิตนั้นจะเป็นมนุษย์หรือไม่ก็ตาม โรคติดต่อสามารถแพร่ไปสู่สิ่งมีชีวิตอื่นได้โดยการสัมผัสโดยตรง การสูดดมหายใจเอาเชื้อโรคที่แพร่จากผู้ป่วย การรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อปนอยู่ หรือแม้แต่ผ่านตัวกลางที่เรียกว่าพาหะ หากโรคติดต่อนั้นๆมีการแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว สู่ชุมชนที่มีประชากรจำนวนมาก โรคดังกล่าวก็กลายเป็นโรคระบาด
จากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ทางกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลปริก จึงความจำเป็นเร่งด่วนในแก้ปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกไม่ให้ระบาดเป็นวงกว้าง จึงได้จัดทำโครงการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออก
2.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6,401
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 27/07/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
ควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค   และหาแนวทางการร่วมกันควบคุมโรค           2. จัดเตรียมวัสดุ  อุปกรณ์ที่จำเป็น ในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค ให้สามารถรับมือกับสถานการณ์โรคได้ ทันท่วงที           3.ดำเนินการพ่นกำจัดยุงตัวเต็มวัย กรณีที่มีผู้ป่วย ครอบคลุมรัศมี 100 เมตร จำนวน 3 ครั้ง ต่อราย และพ่นปูพรม กรณีเกิดการระบาดของโรคเป็นวงกว้าง           4.กิจกรรม รณรงค์ เฝ้าระวัง ควบคุมโรค ตามเกณฑ์การควบคุมโรคของโรคติดต่อนั้นๆ     5.ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและรณรงค์ป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก ให้ประชาชนในพื้นที่ทราบ     6. สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ 1.ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค   และหาแนวทางการร่วมกันควบคุมโรค     -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ จำนวน 20 คน จำนวน 5 ครั้ง เป็นเงิน 5,000 บาท -ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 70 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน 20 คน จำนวน 5 ครั้ง               เป็นเงิน  7,000 บาท รวมเป็นเงิน 12,000 บาท 2. จัดเตรียมวัสดุ  อุปกรณ์ที่จำเป็น ในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค ให้สามารถรับมือกับสถานการณ์โรคได้ ทันท่วงที -สเปรย์ฉีดกันยุง ขนาด 80 ml จำนวน 60 ขวดๆละ 80 บาท                                     เป็นเงิน 4,800 บาท -สเปรย์พ่นกำจัดยุงแบบกระป๋อง ขนาด 300 ml จำนวน 60 กระป๋องๆละ 70 บาท         เป็นเงิน 4,200 บาท -ทรายอะเบท ซอง 50 กรัม จำนวน 1 ถังๆละ 4,000 บาท                                    เป็นเงิน 4,000 บาท

-เคมีภัณฑ์สำหรับเครื่องพ่นULVสะพายหลัง  ขวดละ 1 ลิตรๆละ 1,000 บาท จำนวน 10 ลิตร
                                        เป็นเงิน 10,000 บาท                                 รวมเป็นเงิน  23,000 บาท 3.ดำเนินการพ่นกำจัดยุงตัวเต็มวัย กรณีที่มีผู้ป่วย ครอบคลุมรัศมี 100 เมตร จำนวน 3 ครั้ง ต่อราย และพ่นปูพรม กรณีเกิดการระบาดของโรคเป็นวงกว้าง -ค่าจ้างเหมาพ่นละอองฝอยควบคุมโรค จำนวน 20 รายๆละ 3 ครั้งๆละ 300 บาท        เป็นเงิน  18,000 บาท -ค่าจ้างเหมาพ่นหมอกควันในโรงเรียน/ศพด. ครั้งละ 300 บาท จำนวน 20 ครั้ง                เป็นเงิน 6,000 บาท -ค่าตอบแทนการพ่นULVด้วยเครื่องพ่นติดรถยนต์  จำนวน 4 ครั้งละ 500 บาท       เป็นเงิน 2,000 บาท                                 รวมเป็นเงิน  26,000 บาท 4.กิจกรรม รณรงค์ เฝ้าระวัง ควบคุมโรค ตามเกณฑ์การควบคุมโรคของโรคติดต่อนั้นๆ -ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค (วันทำการ) วันละ 4 ชม.ๆละ 50 บาท จำนวน 30 วัน            เป็นเงิน 6,000 บาท
-ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค (วันหยุดราชการ) วันละ 4 ชม.ๆละ 60 บาท จำนวน 30 วัน  เป็นเงิน 7,200 บาท
-กิจกรรม Big cleaning รณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ได้แก่ น้ำดื่ม ถุงมือ ถุงดำ และอื่นๆๆที่เกี่ยวข้อง                               เป็นเงิน 5,000 บาท -ค่าป้ายผ้า ไวนิล จ้างเหมา เอกสารประชาสัมพันธ์ วัสดุอื่นๆที่เกี่ยวข้อง                       เป็นเงิน 3,000 บาท                                 รวมเป็นเงิน 21,200 บาท

5.ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนและรณรงค์ป้องกันการระบาดของโรค ทราบพื้นที่ -จ้างเหมารถประชาสัมพันธ์  7 ชุมชน จำนวน 4 ครั้งๆละ 1,000บาท เป็นเงิน 4,000 บาท -ค่าจ้างเหมาทำสปอตประชาสัมพันธ์ เป็นเงิน  2,000 บาท รวมเป็นเงิน 6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลลัพธ์เชิงปริมาณ         1.ดำเนินการเฝ้าระวัง ควบคุมโรคกรณีเกิดโรคไข้เลือดออก ตามเกณฑ์ครบทุกราย

ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ         1.สามารถควบคุมสถานการณ์กรณีมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้         2.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกรายใหม่ลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
88200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 88,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออก
2. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
3. ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ


>