กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 66-L7889-05-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 26 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 88,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อัมพร ศิริวัฒน์ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ เขตเทศบาลตำบลปริก
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6401 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 12 จากข้อมูลกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม -31 พฤษภาคม 2566 มีรายงานผู้ป่วย 2884 ราย เสียชีวิต 6 ราย อัตราป่วย 57.57 ต่อแสนประชากร อัตราตาย 0.08 ต่อแสนประชาการ และอัตราป่วยตาย 0.21 ต่อแสนประชากร และมีอัตราป่วยสูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง เมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งคาดว่าน่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขั้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จังหวัดสงขลา จึงให้อำเภอหาดใหญ่ เมืองสงขลา เทพา และสะเดา ติดตามสถานการณ์โรคไข้เลือดออก และเปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์สาธารณสุข(EOC) ระดับอำเภอ เนื่องจากอำเภอสะเดา ได้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง เป็นลำดับที่ 1 ของสงขลา เป็นอันดันดับที่ 2 ของเขตสุขภาพที่12 ภาคใต้มีผู้ป่วยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม -14 มิถุนายน 2566 จำนวน 251 ราย อัตราป่วย 139.55 ต่อแสนประชากรพบผู้ป่วยสูงสุดในตำบลปาดังเบซาร์ จำนวนร 63 ราย อัตราป่วย 176.67 ต่อแสนประชากร รองลงมา ตำบลสำนักขาม จำนวน 50 ราย อัตราป่วย 168.17 ต่อแสนประชากร ตำบลสะเดา จำนวน 45 ราย อัตราป่วย 133.16 ต่อแสนประชากร ตำบลปริก จำนวน 36 ราย อัตราป่วย 115.91 ต่อแสนประชากร และตำบลสำนักแต้ว จำนวน 31 ราย อัตราป่วย 148.32 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ และมีแนวโน้มการระบาดเป็นวงกว้างในสถานศึกษา โรงงาน และหมู่บ้าน จึงทำให้อำเภอสะเดามีความจำเป็นเร่งด่วนในการเปิดศูนย์ปฏิบัติการควบคุโรคป้องกันโรคไข้เลือดออกอำเภอสะเดา ครั้งที่ 1 /2566 ในวันที่ 22 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา เพื่อร่วมปรึกษาหารือ วิเคราะห์ปัญหา และวางแผนแก้ไขปัญหา เพื่อการระบาดของโรคไข้เลือดออก สถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออดในเขตเทสบาลตำบลปริก ตั้งแต่วันที่ มกราคม - กรกฎาคม 2566 พบจำนวนผู้ป่วยยืนยันโรคไข้เลือดออกยืนยันจำนวน 22รายอัตราป่วยร้อยละ 343.69 ต่อแสนประชากรสงสัยไข้เลือดออก 6 ราย ซึ่งสูงกว่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลังในช่วงเดียวกัน (ข้อมูลจากรพ.สต.ปริก ณ วันที่ 17 ก.ค.2566)และยังคงมีการรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกรายใหม่ในชุมชนและในโรงเรียนในเขตเทศบาลตำบลปริกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552 กำหนดให้เทศบาลตำบลมีหน้าที่ป้องกันและระงับโรคติดต่อ ซึ่งโรคติดต่อหมายถึง โรคที่สามารถถ่ายทอด หรือติดต่อจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังอีกสิ่งมีชีวิตหนึ่งได้ โดยไม่จำกัดว่าสิ่งมีชีวิตนั้นจะเป็นมนุษย์หรือไม่ก็ตาม โรคติดต่อสามารถแพร่ไปสู่สิ่งมีชีวิตอื่นได้โดยการสัมผัสโดยตรง การสูดดมหายใจเอาเชื้อโรคที่แพร่จากผู้ป่วย การรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อปนอยู่ หรือแม้แต่ผ่านตัวกลางที่เรียกว่าพาหะ หากโรคติดต่อนั้นๆมีการแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว สู่ชุมชนที่มีประชากรจำนวนมาก โรคดังกล่าวก็กลายเป็นโรคระบาด จากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ทางกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลปริก จึงความจำเป็นเร่งด่วนในแก้ปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกไม่ให้ระบาดเป็นวงกว้าง จึงได้จัดทำโครงการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 88,200.00 0 0.00
27 ก.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 ควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก 0 88,200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออก
    1. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
    2. ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2566 11:00 น.