กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ตันหยงลุโละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังการใช้สื่อออนไลน์เพื่อสุขภาพกายจิตที่ดีในเยาวชนตำบลตันหยงลุโละ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ตันหยงลุโละ

เยาวชนตำบลตันหยงลุโละ

ตำบลตันหยงลุโละ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการสำรวจ "การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2560" ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า แนวโน้มการใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือของประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไป ในช่วงระยะเวลา 5 ปี ระหว่างปี 2556 - 2560 พบว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 28.9 (จำนวน 18.3 ล้านคน) เป็นร้อย ละ 52.9 (จำนวน 33.4 ล้านคน) ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 73.3 (จานวน 46.4 ล้านคน) เป็นร้อย ละ 88.2 (จำนวน 55.6 ล้านคน) จึงเห็นได้ว่าการใช้อินเทอร์เน็ตมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน (กองสถิติ เศรษฐกิจ, 2560) ซึ่งสื่อสังคมออนไลน์ที่ เป็นที่นิยมใน ในขณะที่ความรุนแรงหลากหลายรูปแบบที่เกิดขึ้นใน ปัจจุบัน จำนวนมากมาจากสื่อออนไลน์ ซึ่งเป็นภัยเงียบที่สร้างความสูญเสียและผลกระทบมาก โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชน ข้อมูลจากการสำรวจจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบเด็กไทยมีโอกาสเสี่ยง จากภัยออนไลน์ถึงร้อยละ 60 สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก ร้อยละ 56 ทั้งยังพบเด็กไทยใช้อินเตอร์เน็ตเฉลี่ย 35 ชม. ต่อ สัปดาห์ สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก 3 ชม. จึงจำเป็นต้องร่วมกันป้องกันและแก้ปัญหาโดยเฉพาะการสร้างการเรียน รู้เท่าทันสื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อสื่อออนไลน์
ปัจจุบันเด็กและเยาวชนมีการใช้สมาร์ทโฟนเป็นจำนวนมากและแพร่หลาย ขณะที่แสงจากหน้าจอสมาร์ทโฟนส่งผลกระทบมากมายที่หลายคนไม่รู้ ไม่เพียงแต่สมาร์ทโฟนเท่านั้นที่เป็นตัวปัญหา แต่หน้าจอคอมพิวเตอร์และแท็บเล็ตก็ส่งผลเสียไม่แพ้กัน ยิ่งหลายคนทำงานกับหน้าจอทั้งวัน นอกเหนือเวลางานยังติดหน้าจอสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตอีก เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งแชททั้งแชร์ ซึ่งจะมีผลเสียหลายอย่างตามมา ได้แก่ส่งผลเสียในด้านสายตา เช่น ตาแห้ง กล้ามเนื้อตาทำงานหนัก หรือจอรับตาที่ผิดปกติ ส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น ปวดคอ บ่าไหล่ แขน นิ้วล็อค สมองตอบสนองกับการเล่นสมาร์ทโฟน กระตุ้นให้สมองเกิดความสุข ทำให้เกิดโรคติดสุข อยากเล่นมากขึ้นเรื่อยๆ สมาธิสั้นลง ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ทำให้เกิดโรคอ้วน เพราะไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง มีปัญหาด้านอารมณ์ เพราะไม่ค่อยเข้าสังคม อาจก่อให้เกิดอาการซึมเศร้า มีปัญหาการนอน แสงสีฟ้าจากเครื่องมือสื่อสาร ส่งผลต่อการหลั่งเมลาโทนิน ทำให้นอนไม่หลับ จากสถิติเด็กและเยาวชนไทยใช้เวลาอยู่กับหน้าจอสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตเป็นส่วนใหญ่
ด้วยหลักการและเหตุผลดังกล่าว จึงกำหนดจัดโครงการ “โครงการเยาวชนรู้ทันภัยร้ายจากสื่อออนไลน์เพื่อสุขภาพกายจิตที่ดี” เพื่อลดปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในด้านสุขภาพ สมารถสร้างต้นแบบนักสื่อสารสร้างสรรค์ในการผลิตสื่อเพื่อให้เยาวชนตระหนักรู้ถึงภัยจากการใช้สื่อออนไลน์ มีทักษะในการเข้าถึงสื่อ และสามารถวิเคราะห์ ประเมินสื่อ จากอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และขยายผลโครงการในพื้นที่ต้นแบบต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทั้งในด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต อันเนื่องมาจากการใช้สื่อ ICT
  1. ต้นแบบนักสื่อสารสร้างสรรค์ จำนวน 30 คน
  2. เด็กและเยาวชนในพื้นที่ตระหนักรู้เท่าทันภัยสื่อออนไลน์ จำนวน 30 คน
40.00 30.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้สื่อ ICT ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  1. กลุ่มเป้าหมายได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทาง การใช้โทรศัพท์มือถือให้ปลอดภัย โดยเน้นการใช้ตามความจำเป็น และปลอดภัยต่อสุขภาพ  กระบวนการผลิตสื่อคลิปวิดีโอเพื่อรู้ทันภัยสื่อออนไลน์
  2. กลุ่มเป้าหมายเกิดความเข้าใจและเป็นเครือข่ายในการดำเนินงานในกิจกรรม Workshop ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ของจำนวนเยาวชนเป้าหมาย
  3. เยาวชนนักสื่อสารสร้างสรรค์ผลิตผลงานคลิปวิดีโอ จำนวน 5 ผลงาน มีทักษะในการเข้าถึงสื่อ การวิเคราะห์และประเมินสื่อ
  4. เกิดการขยายผลแก่เด็กและเยาวชนในพื้นที่ตระหนักรู้เท่าทันภัยสื่อออนไลน์ มีทักษะในการเข้าถึงสื่อและประเมินสื่อ
40.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เวทีประชาสัมพันธ์โครงการ

ชื่อกิจกรรม
เวทีประชาสัมพันธ์โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชาสัมพันธ์ เชิญชวน เยาวชนในพื้นที่เป้าหมายเข้าร่วมโครงการ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 10 คน x 1 มื้อ = 250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
250.00

กิจกรรมที่ 2 Workshop การใช้โทรศัพท์มือถือให้ปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
Workshop การใช้โทรศัพท์มือถือให้ปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

โดยเน้นการใช้ตามความจำเป็น และปลอดภัยต่อสุขภาพ และเทคนิคการผลิตสื่อคลิปวิดีโอด้วย Smart Phone และผลิตสื่อคลิปวิดีโอภายใต้แนวคิด “รู้ทันภัยร้ายจากสื่อออนไลน์เพื่อสุขภาพกายจิตที่ดี”      - เยาวชน จำนวน 30 คน      - ผู้ดำเนินการ จำนวน 5 คน
- ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 35 คน x 1 มื้อ  = 1,750 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 35 คน x 2 มื้อ = 1,750 บาท - ค่าจัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร จำนวน 1 ผืน = 750 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับการทำ Workshop เป็นเงิน 1,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5500.00

กิจกรรมที่ 3 เวทีนำเสนอและประกวดผลงานคลิปวิดีโอยอดเยี่ยม

ชื่อกิจกรรม
เวทีนำเสนอและประกวดผลงานคลิปวิดีโอยอดเยี่ยม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • การนำเสนอผลงานและจัดประกวดสื่อคลิปวิดีโอที่นำเสนอได้ตรงประเด็น มีเทคนิคการนำเสนอที่น่าสนใจ ผลงานที่ได้รับ       - เยาวชน จำนวน 30 คน      - ผู้ดำเนินการ จำนวน 5 คน
  • ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 35 คน x 1 มื้อ  = 1,750 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 35 คน x 2 มื้อ = 1,750 บาท
    • ค่ารางวัล, ประกาศนียบัตร และทุนการศึกษา
           รางวัลชนะเลิศ ทุนการศึกษา 3,000 บาท
           รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1
                             ทุนการศึกษา 2,000 บาท
           รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2
                             ทุนการศึกษา 1,000 บาท         รางวัลชมเชย 2 รางวัล ทุนการศึกษา                ทุนละ 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10500.00

กิจกรรมที่ 4 การเผยแพร่คลิปวิดีโอและขยายผลการรณรงค์รู้ทันภัยสื่อออนไลน์

ชื่อกิจกรรม
การเผยแพร่คลิปวิดีโอและขยายผลการรณรงค์รู้ทันภัยสื่อออนไลน์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • เผยแพร่ผลงานสื่อคลิปวิดีโอผ่านสื่อ Social Media เช่น Facebook Youtube เว็บไซด์ของชุมชน เกิดการรณรงค์ให้เด็กและเยาวชนทั่วไปเกิดการตระหนักรู้ทันภัยสื่อออนไลน์
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 10 คน x 1 มื้อ = 250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
250.00

กิจกรรมที่ 5 เวทีถอดบทเรียนและวางแผนเพื่อพัฒนาโครงการ

ชื่อกิจกรรม
เวทีถอดบทเรียนและวางแผนเพื่อพัฒนาโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • คณะทำงาน เด็กและเยาวชนที่ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นต้นแบบนักสื่อสารสร้างสรรค์ร่วมกันประชุมสรุปกิจกรรมเพื่อถอดบทเรียนจากการทำงาน นำไปสู่การวางแผนเพื่อพัฒนาโครงการ     - เยาวชน จำนวน 30 คน    - ผู้ดำเนินการ จำนวน 5 คน
  • ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 35 คน x 1 มื้อ  = 1,750 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 35 คน x 2 มื้อ = 1,750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ต้นแบบนักสื่อสารสร้างสรรค์ที่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยจากสื่อออนไลน์ มีทักษะในการเข้าถึงสื่อ และสามารถวิเคราะห์ ประเมินสื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย
2. เกิดการเสริมสร้างทักษะการผลิตสื่อให้กับต้นแบบนักสื่อสารสร้างสรรค์
3. มีการเผยแพร่สื่อสร้างสรรค์ในการรณรงค์การรู้เท่าทันภัยจากสื่อออนไลน์สู่สาธารณะ
4. เยาวชนต้นแบบนักสื่อสารสร้างสรรค์ขยายผลการรู้เท่าทันภัยจากสื่อออนไลน์ ทักษะในการเข้าถึงสื่อ การวิเคราะห์ ประเมินสื่อ การผลิตสื่อสร้างสรรค์ในประเด็นอื่น ๆ แก่เยาวชนในพื้นที่


>