กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังการใช้สื่อออนไลน์เพื่อสุขภาพกายจิตที่ดีในเยาวชนตำบลตันหยงลุโละ
รหัสโครงการ 66-L3012-02-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานเยาวชนกัมปงกรือเซะ
วันที่อนุมัติ 19 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมูหมัดซอเร่ เดง
พี่เลี้ยงโครงการ นายรอมซี สาและ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจ "การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2560" ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า แนวโน้มการใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือของประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไป ในช่วงระยะเวลา 5 ปี ระหว่างปี 2556 - 2560 พบว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 28.9 (จำนวน 18.3 ล้านคน) เป็นร้อย ละ 52.9 (จำนวน 33.4 ล้านคน) ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 73.3 (จานวน 46.4 ล้านคน) เป็นร้อย ละ 88.2 (จำนวน 55.6 ล้านคน) จึงเห็นได้ว่าการใช้อินเทอร์เน็ตมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน (กองสถิติ เศรษฐกิจ, 2560) ซึ่งสื่อสังคมออนไลน์ที่ เป็นที่นิยมใน ในขณะที่ความรุนแรงหลากหลายรูปแบบที่เกิดขึ้นใน ปัจจุบัน จำนวนมากมาจากสื่อออนไลน์ ซึ่งเป็นภัยเงียบที่สร้างความสูญเสียและผลกระทบมาก โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชน ข้อมูลจากการสำรวจจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบเด็กไทยมีโอกาสเสี่ยง จากภัยออนไลน์ถึงร้อยละ 60 สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก ร้อยละ 56 ทั้งยังพบเด็กไทยใช้อินเตอร์เน็ตเฉลี่ย 35 ชม. ต่อ สัปดาห์ สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก 3 ชม. จึงจำเป็นต้องร่วมกันป้องกันและแก้ปัญหาโดยเฉพาะการสร้างการเรียน รู้เท่าทันสื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อสื่อออนไลน์ ปัจจุบันเด็กและเยาวชนมีการใช้สมาร์ทโฟนเป็นจำนวนมากและแพร่หลาย ขณะที่แสงจากหน้าจอสมาร์ทโฟนส่งผลกระทบมากมายที่หลายคนไม่รู้ ไม่เพียงแต่สมาร์ทโฟนเท่านั้นที่เป็นตัวปัญหา แต่หน้าจอคอมพิวเตอร์และแท็บเล็ตก็ส่งผลเสียไม่แพ้กัน ยิ่งหลายคนทำงานกับหน้าจอทั้งวัน นอกเหนือเวลางานยังติดหน้าจอสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตอีก เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งแชททั้งแชร์ ซึ่งจะมีผลเสียหลายอย่างตามมา ได้แก่ส่งผลเสียในด้านสายตา เช่น ตาแห้ง กล้ามเนื้อตาทำงานหนัก หรือจอรับตาที่ผิดปกติ ส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น ปวดคอ บ่าไหล่ แขน นิ้วล็อค สมองตอบสนองกับการเล่นสมาร์ทโฟน กระตุ้นให้สมองเกิดความสุข ทำให้เกิดโรคติดสุข อยากเล่นมากขึ้นเรื่อยๆ สมาธิสั้นลง ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ทำให้เกิดโรคอ้วน เพราะไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง มีปัญหาด้านอารมณ์ เพราะไม่ค่อยเข้าสังคม อาจก่อให้เกิดอาการซึมเศร้า มีปัญหาการนอน แสงสีฟ้าจากเครื่องมือสื่อสาร ส่งผลต่อการหลั่งเมลาโทนิน ทำให้นอนไม่หลับ จากสถิติเด็กและเยาวชนไทยใช้เวลาอยู่กับหน้าจอสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตเป็นส่วนใหญ่
ด้วยหลักการและเหตุผลดังกล่าว จึงกำหนดจัดโครงการ “โครงการเยาวชนรู้ทันภัยร้ายจากสื่อออนไลน์เพื่อสุขภาพกายจิตที่ดี” เพื่อลดปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในด้านสุขภาพ สมารถสร้างต้นแบบนักสื่อสารสร้างสรรค์ในการผลิตสื่อเพื่อให้เยาวชนตระหนักรู้ถึงภัยจากการใช้สื่อออนไลน์ มีทักษะในการเข้าถึงสื่อ และสามารถวิเคราะห์ ประเมินสื่อ จากอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และขยายผลโครงการในพื้นที่ต้นแบบต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทั้งในด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต อันเนื่องมาจากการใช้สื่อ ICT
  1. ต้นแบบนักสื่อสารสร้างสรรค์ จำนวน 30 คน
  2. เด็กและเยาวชนในพื้นที่ตระหนักรู้เท่าทันภัยสื่อออนไลน์ จำนวน 30 คน
40.00 30.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้สื่อ ICT ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  1. กลุ่มเป้าหมายได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทาง การใช้โทรศัพท์มือถือให้ปลอดภัย โดยเน้นการใช้ตามความจำเป็น และปลอดภัยต่อสุขภาพ  กระบวนการผลิตสื่อคลิปวิดีโอเพื่อรู้ทันภัยสื่อออนไลน์
  2. กลุ่มเป้าหมายเกิดความเข้าใจและเป็นเครือข่ายในการดำเนินงานในกิจกรรม Workshop ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ของจำนวนเยาวชนเป้าหมาย
  3. เยาวชนนักสื่อสารสร้างสรรค์ผลิตผลงานคลิปวิดีโอ จำนวน 5 ผลงาน มีทักษะในการเข้าถึงสื่อ การวิเคราะห์และประเมินสื่อ
  4. เกิดการขยายผลแก่เด็กและเยาวชนในพื้นที่ตระหนักรู้เท่าทันภัยสื่อออนไลน์ มีทักษะในการเข้าถึงสื่อและประเมินสื่อ
40.00 30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 125 20,000.00 0 0.00
1 ส.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 เวทีประชาสัมพันธ์โครงการ 10 250.00 -
1 ส.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 Workshop การใช้โทรศัพท์มือถือให้ปลอดภัย 35 5,500.00 -
1 ส.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 เวทีนำเสนอและประกวดผลงานคลิปวิดีโอยอดเยี่ยม 35 10,500.00 -
1 ส.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 การเผยแพร่คลิปวิดีโอและขยายผลการรณรงค์รู้ทันภัยสื่อออนไลน์ 10 250.00 -
1 ส.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 เวทีถอดบทเรียนและวางแผนเพื่อพัฒนาโครงการ 35 3,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ต้นแบบนักสื่อสารสร้างสรรค์ที่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยจากสื่อออนไลน์ มีทักษะในการเข้าถึงสื่อ และสามารถวิเคราะห์ ประเมินสื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย
  2. เกิดการเสริมสร้างทักษะการผลิตสื่อให้กับต้นแบบนักสื่อสารสร้างสรรค์
  3. มีการเผยแพร่สื่อสร้างสรรค์ในการรณรงค์การรู้เท่าทันภัยจากสื่อออนไลน์สู่สาธารณะ
  4. เยาวชนต้นแบบนักสื่อสารสร้างสรรค์ขยายผลการรู้เท่าทันภัยจากสื่อออนไลน์ ทักษะในการเข้าถึงสื่อ การวิเคราะห์ ประเมินสื่อ การผลิตสื่อสร้างสรรค์ในประเด็นอื่น ๆ แก่เยาวชนในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2566 19:15 น.