กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฟื้นฟูทีม SRRT ตำบลท่าบอน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละ 80 ทีม SRRT มีความรู้เรื่องโรคติดต่อและบทบาทหน้าที่

 

80.00
2 ผู้เข้าร่วมอบรมทีม SRRT ร้อยละ 100

 

80.00

โรคติดต่อต่างๆโดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ปัจจุบันพบในประชาชนทุกกลุ่มอายุ กระทรวงสาธารณสุข และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก มาอย่างต่อเนื่อง แต่สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกยังคงมีการระบาดทุกปีโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี สถานการณ์ระบาดของโรคไข้เลือดออกอาจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นได้ในทุกพื้นที่ ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศมานานแล้ว โดยมียุงลายเป็นพาหะ เนื่องจากโรคนี้ มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี จากสถิติของฝ่ายควบคุมโรคติดต่อสาธารณสุขจังหวัดสงขลา (ข้อมูล ตั้งแต่ 1 ม.ค. - 15 พ.ย. 65)พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 396 ราย คิดเป็น อัตราป่วย 28.13 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตกลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 10 -14 ปี คิดเป็นอัตราป่วย 79.8 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาอายุ5-9 ปี (อัตราป่วย 69.35) และกลุ่มอายุ 15 - 24 ปี (อัตราป่วย 46.69) ตามลำดับ อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรสูงสุดคืออำเภอจะนะ อัตราป่วยเท่ากับ 57.76 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาควนเนียง และเมืองสงขลา ตามลำดับ ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ เช่นโรคไข้เลือดออก โรคมือเทาปากที่ มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วน โดยการดำเนินงานในลักษณะ “ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผลและร่วมรับผิดชอบ” ในทุกระดับ เพื่อช่วยกันค้นหาและแก้ไขต้นตอของปัญหาการเกิดโรคในระดับประชาชน ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาควรสอดคล้องกับบริบทและสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ภายใต้ศักยภาพในการแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ของตนเองโดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เป็นตำบลหนึ่งที่พบผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อทุกปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอนซึ่งเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิ ได้เห็นถึงความสำคัญในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้จึงได้จัดทำโครงการอบรมทีม SRRTตำบลท่าบอน เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อและเพื่อให้สามารถเชื่อมโยงผสมผสานแนวคิด องค์ความรู้ เข้ากับบริบทของพื้นที่ให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชนโรงเรียนและทุกภาคส่วนร่วมมือผนึกพลังความคิดแก้ไขปัญหาโรคติดต่อในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ทีม SRRT ได้รับการอบรมฟื้นฟูความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อและบทบาทหน้าที่SRRT

ร้อยละ 80 ทีม SRRT มีความรู้เรื่องโรคติดต่อและบทบาทหน้าที่

80.00 80.00
2 2. เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการเฝ้า ระวัง สอบสวน ควบคุม และป้องกันโรค ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้เข้าร่วมอบรมทีม SRRT ร้อยละ 100

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
- คุณครูโรงเรียน 10
- ผู้ใหญ่บ้าน/ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 10
- อสม. 50
- เจ้าหน้าที่อบต.และเจ้าหน้าที่รพ.สต.ท่าบอน 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-    ค่าป้ายไวนิลวันอบรม ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย ๆ ละ 500 บาท
                 เป็นเงิน  500 บาท -  ค่าป้ายไวนิลรณรงค์ไข้เลือดออก ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 10 ป้าย ๆ ละ 500 บาท
                                                                                                     เป็นเงิน  5,000  บาท -  ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คน ๆ ละ มื้อ ๆ ละ 60 บาท   เป็นเงิน  4,800  บาท -  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน  80 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาท
                                                                            เป็นเงิน  4,800  บาท -  ค่าแบบทดสอบ ก่อน-หลัง จำนวน 160 ชุด ๆ ละ 2 บาท       เป็นเงิน  320   บาท -  ค่าแผ่นพับพิมพ์สี เรื่องโรคติดต่อ(ไข้เลือดออก) จำนวน 80 แผ่น ๆ ละ 5 บาท
                                     เป็นเงิน  400   บาท -  ค่าวัสดุ ถุงผ้า จำนวน 80 ใบ ๆ ละ 30 บาท                       เป็นเงิน 2,400  บาท -  ค่าสมุด 80 เล่ม ๆ ละ 10 บาท                                      เป็นเงิน 800    บาท -  ปากกา 80 แท่ง ๆ ละ 10 บาท                                      เป็นเงิน 800    บาท -  ค่าเกียรติบัตรสีจำนวน 80 คน ๆ ละ 25 บาท                     เป็นเงิน 2,000  บาท -  ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ  600 บาท
                                                                   เป็นเงิน  3,600   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 80 ทีม SRRT มีความรู้เรื่องโรคติดต่อและบทบาทหน้าที่
  2. ผู้เข้าร่วมอบรมทีม SRRT ร้อยละ 100
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25420.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,420.00 บาท

หมายเหตุ :
25420

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เพื่อให้ทีม SRRT ระดับตำบล มีความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อ และนำความรู้ไปพัฒนางานในพื้นที่ได้
2. เพื่อพัฒนาระบบการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อให้มีประสิทธิภาพสามารถควบคุมป้องกันโรคติดต่อได้ทันท่วงที
3. สมาชิกทีม SRRT มีความพร้อมในการเฝ้าระวังป้องกันโรคให้สามารถรับมือการระบาดของโรค ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้อย่างทันท่วงที


>