กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฟื้นฟูทีม SRRT ตำบลท่าบอน
รหัสโครงการ 2566-L5221-01-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน
วันที่อนุมัติ 21 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 25,420.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชยธร แก้วลอย
พี่เลี้ยงโครงการ นายชยธร แก้วลอย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละ 80 ทีม SRRT มีความรู้เรื่องโรคติดต่อและบทบาทหน้าที่
80.00
2 ผู้เข้าร่วมอบรมทีม SRRT ร้อยละ 100
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อต่างๆโดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ปัจจุบันพบในประชาชนทุกกลุ่มอายุ กระทรวงสาธารณสุข และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก มาอย่างต่อเนื่อง แต่สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกยังคงมีการระบาดทุกปีโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี สถานการณ์ระบาดของโรคไข้เลือดออกอาจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นได้ในทุกพื้นที่ ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศมานานแล้ว โดยมียุงลายเป็นพาหะ เนื่องจากโรคนี้ มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี จากสถิติของฝ่ายควบคุมโรคติดต่อสาธารณสุขจังหวัดสงขลา (ข้อมูล ตั้งแต่ 1 ม.ค. - 15 พ.ย. 65)พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 396 ราย คิดเป็น อัตราป่วย 28.13 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตกลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 10 -14 ปี คิดเป็นอัตราป่วย 79.8 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาอายุ5-9 ปี (อัตราป่วย 69.35) และกลุ่มอายุ 15 - 24 ปี (อัตราป่วย 46.69) ตามลำดับ อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรสูงสุดคืออำเภอจะนะ อัตราป่วยเท่ากับ 57.76 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาควนเนียง และเมืองสงขลา ตามลำดับ ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ เช่นโรคไข้เลือดออก โรคมือเทาปากที่ มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วน โดยการดำเนินงานในลักษณะ “ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผลและร่วมรับผิดชอบ” ในทุกระดับ เพื่อช่วยกันค้นหาและแก้ไขต้นตอของปัญหาการเกิดโรคในระดับประชาชน ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาควรสอดคล้องกับบริบทและสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ภายใต้ศักยภาพในการแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ของตนเองโดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เป็นตำบลหนึ่งที่พบผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อทุกปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอนซึ่งเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิ ได้เห็นถึงความสำคัญในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้จึงได้จัดทำโครงการอบรมทีม SRRTตำบลท่าบอน เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อและเพื่อให้สามารถเชื่อมโยงผสมผสานแนวคิด องค์ความรู้ เข้ากับบริบทของพื้นที่ให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชนโรงเรียนและทุกภาคส่วนร่วมมือผนึกพลังความคิดแก้ไขปัญหาโรคติดต่อในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ทีม SRRT ได้รับการอบรมฟื้นฟูความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อและบทบาทหน้าที่SRRT

ร้อยละ 80 ทีม SRRT มีความรู้เรื่องโรคติดต่อและบทบาทหน้าที่

80.00 80.00
2 2. เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการเฝ้า ระวัง สอบสวน ควบคุม และป้องกันโรค ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้เข้าร่วมอบรมทีม SRRT ร้อยละ 100

80.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ส.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อ 0 25,420.00 -
รวม 0 25,420.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อให้ทีม SRRT ระดับตำบล มีความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อ และนำความรู้ไปพัฒนางานในพื้นที่ได้
  2. เพื่อพัฒนาระบบการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อให้มีประสิทธิภาพสามารถควบคุมป้องกันโรคติดต่อได้ทันท่วงที
  3. สมาชิกทีม SRRT มีความพร้อมในการเฝ้าระวังป้องกันโรคให้สามารถรับมือการระบาดของโรค ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้อย่างทันท่วงที
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2566 00:00 น.