กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประจัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคด้วย 3อ 2ส ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประจัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือแนปีแน (อสม ม.7)

1ปาตีเมา อาเยาะแซ
2นางสาวแวซำซียะ ปารามัล
3นางแวนูรีตาบูงอ
4นายมะรูดิงยาโงะ
5นางสาวอามีซะห์มะแอ

เขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือแนปีแน (อสม ม.7) รับผิดชอบ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

1.หลักการเหตุผล
ปัญหาสุขภาพช่องปากเป็นปัญหาที่สำคัญในทุกกลุ่มวัย ตั้งแต่กลุ่มหญิงตั้งครรภ์จนถึงผู้สูงอายุโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน โรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงอายุ 1-3 ปีในขณะเดียวกันการมีภาวะสุขภาพช่องปากที่ดีย่อมส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพองค์รวมด้านอื่นๆอีกด้วย
สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผุ มาจากพฤติกรรมของผู้ปกครองในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้อง การดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ จึงส่งผลต่อภาวะโภชนาการและพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็กในที่สุด
ปัจจุบันการดำเนินงานด้านการส่งเสริมทันตสุขภาพในประชาชนบ้านบือแนปีแน ตำบลประจันยังไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย ด้วยข้อจำกัดด้านทันตบุคลากร ทำให้ไม่สามารถติดตามดูแลสุขภาพช่องปากได้อย่างทั่วถึง และยังขาดความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์ในการให้บริการทันตกรรมทำให้ประชาชนไม่ได้เข้าถึงการรับบริการ ทันตกรรมตามความจำเป็น ทั้งนี้จากปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องอาศัยผู้นำสุขภาพในหมู่บ้าน นั่นคืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนและทำหน้าที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพของประชาชนในชุมชนตลอดมา การดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ที่ผ่านมานั้นไม่มีรูปแบบการดำเนินงานในการเป็นผู้นำด้านทันตสุขภาพที่ชัดเจน ทำให้ไม่สามารถขยายการดำเนินงานทันตสุขภาพสู่ระดับหมู่บ้านและระดับครัวเรือนได้ และจาการสำรวจผลการตอบแบบสอบถามด้านความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรม ในกลุ่มอสม.พบว่า อสม.มีความรู้และทักษะในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ถูกต้อง อาจส่งผลกระทบต่อการนำความรู้ไปเผยแพร่ในชุมชนต่อไป
ในการนี้เพื่อเป็นการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนทำได้ โดยการเน้นรูปแบบการส่งเสริม ป้องกันให้กับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถดูแลทำความสะอาดช่องปากเด็กได้อย่างถูกวิธี ต่อเนื่องและสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการติดตาม ประเมินผลจากทันตบุคลากรร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมา โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นแกนนำในการส่งเสริมทันตสุขภาพในชุมชน โดยต้องเริ่มต้นจากการพัฒนาศักยภาพด้านองค์ความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากเพื่อให้สามารถเฝ้าระวังปัญหาและเผยแพร่ความรู้ด้านทันตสุขภาพ ในชุมชนได้ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือแนปีแน ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงปัญหาดงกล่าว จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำอสม.ด้านทันตสุขภาพปี 2566 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้อสม.มีความรู้ด้านทันตสุขภาพเพิ่มขึ้น
2. เพื่อให้อสม.มีทักษะในการทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกวิธี
๓.เพื่อลดอัตราการเกิดโรคฟันผุและการสูญเสียฟันน้ำนมของเด็กก่อนวัยอันควร
๔.เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ที่ถูกต้องและมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก
๕. เพื่อให้ผู้ปกครองมีทักษะในการทำความสะอาดช่องปากของเด็กอย่างถูกวิธี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กบือแนปีแนฟันดี ประจำปี 2566

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กบือแนปีแนฟันดี ประจำปี 2566
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลประจันจำนวน ๒4,600 บาท          (เงินสองหมื่นสี่พันหกร้อยบาทถ้วน) รายละเอียด ดังนี้ กิจกรรมที่ ๑ กิจกรรมพัฒนาองค์ความรู้และฝึกทักษะการแปรงฟันแก่อสม.    - ค่าอาหารกลางวันสำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 38 คน ๆ ละ 50บาท/มื้อ จำนวน 1มื้อ                                    เป็นเงิน 1,900บาท   - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 38 คน ๆ ละ 25บาท/มื้อ จำนวน 2มื้อ                              เป็นเงิน 1,900บาท
  - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 300บาท    เป็นเงิน 1,800บาท
  - ค่าป้ายโครงการฯ ขนาด 1.2 x 2.5 เมตร ในราคาตารางเมตรละ 300บาท เป็นเงิน 900บาท
  - โมเดลฟันแสดงการเกิดโรคฟันผุจำนวน 1 ชุด        เป็นเงิน 2,000 บาท   - โมเดลการเกิดโรคปริทันต์ จำนวน 1 ชุด                เป็นเงิน 1,500 บาท   - ค่าชุดอุปกรณ์สำหรับทำความสะอาดช่องปาก  จำนวน 38 ชุด ๆ ละ 50บาท  เป็นเงิน 1,900บาท
  - ค่าวัสดุสำนักงาน กระเป๋าใส่เอกสาร จำนวน 45ใบ ๆละ 50 บาท    เป็นเงิน 1,900บาท

กิจกรรมที่ ๒ กิจกรรมฝึกทักษะการแปรงฟันแห้งแก่ผู้ปกครองแบบลงมือปฏิบัติจริงโดยใช้โมเดลตุ๊กตา   - ค่าอาหารกลางวันสำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน    จำนวน 35 คน ๆ ละ 50 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ                                         เป็นเงิน ๑,750 บาท
  - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 35 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ                                                                                 เป็นเงิน ๑,750บาท

  - ค่าชุดอุปกรณ์สาธิตทำความสะอาดช่องปากเด็กจำนวน 100 ชุด ๆละ 40 บาท
                                เป็นเงิน 4,000 บาท   - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท   เป็นเงิน 1,800 บาท
  - ค่าวัสดุสำนักงาน     กระเป๋าใส่เอกสาร จำนวน ๓0 ใบ ๆละ 50 บาท          เป็นเงิน ๑,๕00 บาท

        รวมเป็นเงิน ๒4,600 บาท (เงินสองหมื่นสี่พันหกร้อยบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. อสม.มีความรู้และทักษะด้านการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องจนสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่แก่ชุมชนได้
  2. อสม.มีส่วนร่วมในการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในชุมชน 3.ผู้ปกครองเด็กได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันในเด็กและสามารถดูแลสุขภาพช่องปากให้กับบุตรได้อย่างต่อเนื่อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อสม.มีความรู้และทักษะด้านการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องจนสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่แก่ชุมชนได้
2. อสม.มีส่วนร่วมในการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในชุมชน
3.ผู้ปกครองเด็กได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันในเด็กและสามารถดูแลสุขภาพช่องปากให้กับบุตรได้อย่างต่อเนื่อง


>