กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้สูงอายุสุขภาพดี ชีวีมีสุข ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน

ชมรมผู้สูงอายุตำบลท่าบอน

1.นางพรเพ็ญสุขจันทร์ ประธานชมรม
2.นางสาวธิกา ชูละเอียด รองประธาน
3.นางจินดาเซ่งมาก ปฏิคม
4.นางสาครบุญนำ เหรัญญิก
5.นางอรทัยรักสันติวงศ์เลขานุการ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี ๒๕๔๗และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี ๒๕๖๗มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คาดว่าในปี 2563 จะมีประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี อยู่ราว 1 ใน 6 ของประชากรทั้งหมด กล่าวตามนิยามของสหประชาชาติ คือ เมื่อประเทศใดมีประชากร อายุ 60 ปีขึ้นไป เกินร้อยละ 10 หรือ ประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป เกินร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมด ถือว่า ประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์(Aged Society) เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบต่ออัตราส่วนภาวะ พึ่งพิง หรือภาวะโดยรวมที่ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงประชากรวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น อาจนำไปสู่ ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุมีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลง มีความเสื่อมของร่างกาย อวัยวะต่าง ๆ ทั่วไปเริ่มอ่อนแอ และเกิดโรคง่ายภูมิต้านทาน โรคน้อยลง รวมถึงมีการ เปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ และสังคม
เนื่องจากวัยสูงอายุเป็นวัยที่มีความต้องการแตกต่างไปจากวัยอื่นรวมทั้งปัญหาในด้านสุขภาพที่แตกต่างกันร่างกายมีการถดถอยและเสื่อมลงเป็นผลทำให้โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆเบียดเบียนสิ่งสำคัญคือการได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคนรอบข้างซึ่งมีผลต่อสุขภาพกายและใจผู้สูงอายุในส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพกายเช่นการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ อุบัติเหตุโรคข้อเสื่อมความดันโลหิตสูง เบาหวานสมองและหลอดเลือดซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่เรื่องออกกำลังกาย อาหารอารมณ์ส่งผลให้ร่างกายเจ็บป่วยง่ายการเจ็บป่วยด้านสุขภาพจิตในผู้สูงอายุอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์มีความเศร้าใจกังวลใจน้อยใจเสียใจ และการอยู่ร่วมในสังคมของผู้สูงอายุบุตรหลานมักปล่อยให้อยู่โดดเดี่ยวขาดความยอมรับและความเชื่อถือด้านการพัฒนาสังคม ทางชมรมผู้สูงอายุตำบลท่าบอน ได้ตระหนักถึงคุณค่าและสุขภาพผู้สูงอายุ รวมถึงเข้าใจสภาพปัญหาต่าง ๆที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในทุก ๆด้านดังที่กล่าวมาข้างต้น ชมรมผู้สูงอายุตำบลท่าบอนได้ตระหนักถึงคุณค่า และสุขภาพ เข้าใจสภาพปัญหาต่าง ๆที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในทุกๆด้านจึงได้จัดทำ โครงการผู้สูงอายุสุขภาพดี ชีวีมีสุข เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นและส่งรักษาต่อในกรณีพบปัญหา สุขภาพ เพื่อให้การดำเนินการพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นไปอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพโดยแบบคัดกรอง ADL
  1. ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองสุขภาพADLร้อยละ 90
0.00
2 2.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นได้ ๓ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดีและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ๔.เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุให้ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพพึงประสงค์
  1. ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ร้อยละ ๘๐
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าแบบคัดกรองสุขภาพ ADL จำนวน 1,๕๖๖ ชุด ๆละ 2 บาท           เป็นเงิน 3,๑๓๒   บาท -ค่าแบบคัดรองพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ จำนวน 50 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน    500   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3632.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรม/ประชุมผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรม/ประชุมผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมให้ความรู้ จำนวน 50 คนๆละ ๓๐ บาท 2 มื้อ
      จำนวน 4 ครั้ง                                     เป็นเงิน 1๒,000 บาท            - ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมให้ความรู้ จำนวน 50 คนๆละ 60 บาท จำนวน 4 ครั้ง
            เป็นเงิน 12,000 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากรจำนวน 4 คนๆละ 1 วันๆละ 4 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท
       เป็นเงิน 2,400 บาท  จำนวน 4 ครั้ง                      เป็นเงิน 9,600   บาท
  • ค่าป้ายไวนิลวันอบรม ขนาด1.2 x 2.4 เมตร จำนวน1ป้ายๆละ 500 บาท  เป็นเงิน  500   บาท
  • ค่าถุงผ้า  จำนวน 50 ถุงๆละ ๓0 บาท                                เป็นเงิน ๑,๕00  บาท  - ค่าสมุด 50 เล่มๆละ ๑0 บาท                              เป็นเงิน   ๕00  บาท -ค่าปากกา 50 ด้ามๆละ 10 บาท                                 เป็นเงิน   500   บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
36600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,232.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง
๒. ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นได้มีสุขภาพกาย และทางจิตที่ดีสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข
๓. ผู้สูงอายุได้มีโอกาสพบปะและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ดูแลสุขภาพร่วมกัน
๔. ผู้สูงอายุได้รับการประเมินความสามรถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL)


>