กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้สูงอายุสุขภาพดี ชีวีมีสุข ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 2566-L5221-03-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุตำบลท่าบอน
วันที่อนุมัติ 21 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 40,232.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพรเพ็ญ สุขจันทร์
พี่เลี้ยงโครงการ นายชยธร แก้วลอย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี ๒๕๔๗และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี ๒๕๖๗มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คาดว่าในปี 2563 จะมีประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี อยู่ราว 1 ใน 6 ของประชากรทั้งหมด กล่าวตามนิยามของสหประชาชาติ คือ เมื่อประเทศใดมีประชากร อายุ 60 ปีขึ้นไป เกินร้อยละ 10 หรือ ประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป เกินร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมด ถือว่า ประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์(Aged Society) เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบต่ออัตราส่วนภาวะ พึ่งพิง หรือภาวะโดยรวมที่ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงประชากรวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น อาจนำไปสู่ ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุมีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลง มีความเสื่อมของร่างกาย อวัยวะต่าง ๆ ทั่วไปเริ่มอ่อนแอ และเกิดโรคง่ายภูมิต้านทาน โรคน้อยลง รวมถึงมีการ เปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ และสังคม เนื่องจากวัยสูงอายุเป็นวัยที่มีความต้องการแตกต่างไปจากวัยอื่นรวมทั้งปัญหาในด้านสุขภาพที่แตกต่างกันร่างกายมีการถดถอยและเสื่อมลงเป็นผลทำให้โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆเบียดเบียนสิ่งสำคัญคือการได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคนรอบข้างซึ่งมีผลต่อสุขภาพกายและใจผู้สูงอายุในส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพกายเช่นการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ อุบัติเหตุโรคข้อเสื่อมความดันโลหิตสูง เบาหวานสมองและหลอดเลือดซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่เรื่องออกกำลังกาย อาหารอารมณ์ส่งผลให้ร่างกายเจ็บป่วยง่ายการเจ็บป่วยด้านสุขภาพจิตในผู้สูงอายุอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์มีความเศร้าใจกังวลใจน้อยใจเสียใจ และการอยู่ร่วมในสังคมของผู้สูงอายุบุตรหลานมักปล่อยให้อยู่โดดเดี่ยวขาดความยอมรับและความเชื่อถือด้านการพัฒนาสังคม ทางชมรมผู้สูงอายุตำบลท่าบอน ได้ตระหนักถึงคุณค่าและสุขภาพผู้สูงอายุ รวมถึงเข้าใจสภาพปัญหาต่าง ๆที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในทุก ๆด้านดังที่กล่าวมาข้างต้น ชมรมผู้สูงอายุตำบลท่าบอนได้ตระหนักถึงคุณค่า และสุขภาพ เข้าใจสภาพปัญหาต่าง ๆที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในทุกๆด้านจึงได้จัดทำ โครงการผู้สูงอายุสุขภาพดี ชีวีมีสุข เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นและส่งรักษาต่อในกรณีพบปัญหา สุขภาพ เพื่อให้การดำเนินการพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นไปอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพโดยแบบคัดกรอง ADL
  1. ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองสุขภาพADLร้อยละ 90
0.00
2 2.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นได้ ๓ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดีและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ๔.เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุให้ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพพึงประสงค์
  1. ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ร้อยละ ๘๐
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 40,232.00 0 0.00
1 ส.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 0 3,632.00 -
1 ส.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมอบรม/ประชุมผู้สูงอายุ 0 36,600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง ๒. ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นได้มีสุขภาพกาย และทางจิตที่ดีสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข ๓. ผู้สูงอายุได้มีโอกาสพบปะและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ดูแลสุขภาพร่วมกัน ๔. ผู้สูงอายุได้รับการประเมินความสามรถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2566 00:00 น.