กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ระแว้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเรื้อรังปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ระแว้ง

รพ.สต.ระแว้ง

นางสาวฮาลีมะห์ กาเจ

รพ.สต.ระแว้ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จากข้อมูลสถานะสุขภาพของโรคพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลระแว้ง พบว่ามีอัตราป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ทั้งที่เป็นโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อยังสูงอยู่มาก เช่น โรคไข้เลือดออก โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคมะเร็งส่วนต่างๆมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

 

0.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

70.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถควบคุม และดูแลตนเองไม่ให้ป่วยเป็นผู้ป่วยรายใหม่

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ได้เข้าร่วมกิจกรรมอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ร้อยละ 80

80.00 1.00
2 2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3 อ 2 ส

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ได้เข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก 3อ. 2 สร้อยละ 70

70.00 1.00
3 3. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานสามารถควบคุมภาวะสุขภาพให้ดีขึ้น

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานสามารถควบคุมภาวะสุขภาพให้ดีขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5

5.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 130
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/08/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. นำกลุ่มเป้าหมายจากการคัดกรองภาวะสุขภาพเบื้องต้นและภาวะอ้วนลงพุงโดย อสม.
  2. เขียนโครงการและกำหนดแผนปฏิบัติงาน
  3. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. ประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มเป้าหมายทราบ
  5. อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก3อ2ส และปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  6. ติดตามประเมินผลกลุ่มเสี่ยงหลังเข้าร่วมโครงการจำนวน 2 ครั้ง งบประมาณ จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลระแว้ง จำนวน 31,700 บาท รายละเอียดดังนี้

- ค่าไวนิล ขนาด 1 x 3ตารางเมตร (ตารางเมตรละ 250 บาท) จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 750 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 130 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 60 บาท เป็นเงิน 7,800 บาท - ค่าอาหารว่าง จำนวน 130 คน คนละ 2 มื้อ มื้อละ 25 บาทเป็นเงิน 6,500 บาท - ค่าถ่ายเอกสารและวัสดุโครงการ เป็นเงิน 3,050 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากรให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
จำนวน 1 คน จำนวน 2 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากรให้ความรู้เรื่องอาหาร จำนวน 1 คน
จำนวน 2 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากรให้ความรู้เรื่องออกกำลังกาย จำนวน 1 คน จำนวน 2 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท - ค่าตอบแทนอสม. ติดตามผู้ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 100 คน ติดตาม 2 ครั้ง ครั้งละ 50 บาทเป็นเงิน 10,000 บาท ทุกรายการสามาถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้ รวมงบประมาณ เป็นเงิน 31,700 บาท ( สามหมื่นหนึ่งพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน )

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก 3 อ. 2ส.

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,700.00 บาท

หมายเหตุ :
ถั่วเฉลี่ยทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใช้หลัก 3อ.2ส. ร้อยละ 70


>