กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ( FIRST AID) รู้ไว้สักนิด ช่วยชีวิตให้ปลอดภัย สำหรับแกนนำสุขภาพเทศบาลนครยะลา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

เทศบาลนครยละา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
สาเหตุการเสียชีวิตของประชากรในประเทศไทยส่วนใหญ่เกิดจากโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด อุบัติเหตุ หรือเกิดจากภาวะฉุกเฉินแบบปัจจุบันทันด่วน เช่น ฮีทสโตรก (Heat stroke) หรือ โรคลมร้อน ข้อมูลจากการเฝ้าระวังการเสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อน กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ระหว่างเดือน มีนาคม-พฤษภาคม ระหว่างปี พ.ศ. 2558-2564 มีรายงานผู้เสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อน จำนวน ทั้งสิ้น 234 ราย สาเหตุ มาจากการอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนจัดเป็นเวลานาน จนกระทั่งร่างกายปรับสภาพไม่ทัน ซึ่งจะส่งผลให้มีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน ไม่มีเหงื่อออก ตัวร้อนจัด ปวดศีรษะ ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตลดลงและอาจเสียชีวิตได้ในทันที จากรายงานสถานการณ์ผู้ป่วยเบาหวานจังหวัดยะลา มีแนวโน้มป่วยเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกปี ปี 2565 พบผู้ป่วยรายใหม่ 1,704 ราย จากผู้ป่วยทั้งหมด 20,865 ราย เสียชีวิต 638 ราย (3.06 %) อัตราป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดจากประชากร 143,037 ราย ป่วย 677 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.47 จำนวนผู้ป่วยตายโรคหัวใจและหลอดเลือด 135 ราย คิดเป็นร้อย 19.94 (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา, 2565) ในเขตเทศบาลนครยะลาพบอัตราป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 790.85 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน คิดเป็นจำนวน 470 ราย พบอัตราป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ จำนวน 398.79 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน คิดเป็นจำนวน 237 รายคิด พบอัตราป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดรายใหม่ จำนวน 80.08 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน คิดเป็นจำนวน 1,516 ราย (ข้อมูลศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองธนวิถี – เวชกรรม โรงพยาบาลยะลา,2566) ส่วนสาเหตุอื่นๆที่สามารถพบได้แก่ การแพ้ยา การแพ้พิษแมลงกัดต่อย ถูกไฟฟ้าดูด สำลักควันไฟ หรือจมน้ำ ผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บเหล่านี้อาจมีอาการที่ผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย หรือบางรายอาจมีภาวการณ์หยุดหายใจกะทันหัน หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ถ้าปล่อยไว้นานเกิน 4 นาที แม้จะช่วยให้ฟื้นคืนชีพกลับมาได้ ก็จะเกิดสภาวะการตายของสมองอย่างถาวรที่เกิดจากการที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง และโดยส่วนใหญ่จะพบสภาวการณ์ต่างๆ เหล่านี้ในภาวะฉุกเฉิน ซึ่งหมายถึง การได้รับบาดเจ็บ หรือการเจ็บป่วยแบบกะทันหันที่เป็นอันตรายต่อชีวิตหรือการทำงานของอวัยวะสำคัญ ทั้งนี้การได้รับการช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุวิกฤติ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉินอย่างถูกต้องและรวดเร็วนั้นย่อมทำให้โอกาสรอดชีวิตสูงขึ้น ดังนั้นการมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการช่วยเหลือชีวิตหรือการปฐมพยาบาลเบื้องต้น จึงเป็นบทบาทสำคัญในการช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้น ทั้งยังช่วยป้องกันการเสียชีวิตได้
การปฏิบัติการเพื่อช่วยชีวิตที่กระทำอย่างทันทีและถูกต้อง จะช่วยให้สมองไม่ขาดเลือดและสามารถกลับมาฟื้นเป็นปกติได้ เนื่องจากอุบัติการณ์เหล่านี้ มักเกิดนอกโรงพยาบาล เช่น ที่บ้าน หรือที่ทำงาน โดยการช่วยชีวิตอย่างทันท่วงทีนั้น จะต้องเป็นการให้การช่วยเหลือจากญาติมิตร คนใกล้ชิด ผู้ร่วมงาน ประชาชนทั่วไปที่อยู่ในสถานการณ์ รวมถึงแกนนำสุขภาพ ซึ่งบุคคลเหล่านี้จึงจำเป็นที่จะต้องสามารถทำการการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บพ้นจากความพิการหรืออันตรายแก่ชีวิตก่อนนำส่งโรงพยาบาล การปฐมพยาบาลและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานจึงเป็นสิ่งสำคัญ และสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้นได้ โดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ เท่าที่มีอยู่ หรือจัดหาได้ในที่เกิดเหตุการณ์ ทั้งนี้การได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างทันท่วงทีและถูกต้อง และมีการส่งต่อผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บต่อไปยังสถานพยาบาลอย่างเหมาะสม รวดเร็ว และถูกวิธี จะทำให้ผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บมีโอกาสรอดชีวิตและกลับคืนมาใช้ชีวิตเป็นปกติได้ โดยเริ่มตั้งแต่การตรวจร่างกายเพื่อค้นหาการบาดเจ็บต่างๆ ที่จะเป็นอันตรายแก่ชีวิต และให้การช่วยเหลือที่เป็นลำดับตั้งแต่ขั้นรุนแรงที่สุดเป็นต้นไป ได้แก่ การกระตุ้นหัวใจและการผายปอด การห้ามเลือด การปฐมพยาบาลบาดแผลทุกชนิด การปฐมพยาบาลผู้ป่วยช็อกจากสาเหตุต่างๆ การปฐมพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารพิษจากสัตว์หรือแมลงกระดูกหัก ตลอดจนการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปส่งโรงพยาบาล
กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครยะลา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวในข้างต้น จึงได้จัดการฝึกอบรมหลักสูตร “การปฐมพยาบาลเบื้องต้น” ให้แก่แกนนำสุขภาพเทศบาลนครยะลา ซึ่งเป็นผู้ดูแลสุขภาพของประชาชนในเบื้องต้น และยังเป็นกำลังสำคัญในการดำเนินงานด้านสุขภาพในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยให้พ้นจากอันตรายก่อนนำส่งโรงพยาบาล

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในเรื่องปฐมพยาบาลเบื้องต้นในภาวะฉุกเฉินและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน
  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในภาวะฉุกเฉินได้อย่างถูกต้อง อย่างน้อย      ร้อยละ 80
0.00
2 2. เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมสามารถช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยให้พ้นจากอันตรายได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพก่อนนำส่งโรงพยาบาล
  1. ผู้เข้ารับการอบรมผ่านทักษะการฝึกภาคปฏิบัติการ  ปฐมพยาบาลเบื้องต้นในภาวะฉุกเฉินได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 25/08/2023

กำหนดเสร็จ 25/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในภาวะฉุกเฉิน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในภาวะฉุกเฉิน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 สิงหาคม 2566 ถึง 25 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29290.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,290.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในภาวะฉุกเฉินสามารถช่วยเหลือตนเองและบุคคลใกล้ตัวได้อย่างปลอดภัยก่อนถึงโรงพยาบาล เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและลดค่าใช้จ่ายทางด้านค่ารักษาพยาบาลในกรณีฉุกเฉินต่างๆ
2. ผู้เข้าอบรมสามารถให้คำแนะนำหรือสามารถถ่ายทอดความรู้ใหม่ๆที่ได้รับแก่ผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง


>