กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทวีนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงเชิงรุก หมู่ 17 บ้านไทรงาม ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทวีนอก

ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ 17 บ้านไทรงาม

1. นางจารุวรรณ พรหมแก้วเบอร์โทร. 0822674860
2. นางวันเพ็ญ ศรียะพันธ์ เบอร์โทร. 0627689285
3. นางสาวศรัณย์พร กฤษณพันธ์ เบอร์โทร. 0936902288
4. นางจันทนา เรืองไชย เบอร์โทร. 0935822457
5. นางสาวนลิณี สุวรรณรัตน์เบอร์โทร. 0615764744

หมู่ 17 บ้านไทรงาม ตำบลนาทวี อำเภอนาทวีจังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่เร่งด่วนของประชาชนที่ต้องได้รับการแก้ไข นอกจากโรคติดต่อแล้ว กลุ่มโรคไม่ติดต่อก็เป็นสาเหตุสำคัญของการตายและความพิการทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนลดลงอีกทั้งยังก่อให้เกิดความสูญเสียทรัพยากรเป็นจำนวนมากในแต่ละปีได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดในสมอง โรคหัวใจขาดเลือด อัมพาต โรคเบาหวานและโรคมะเร็ง เป็นต้น การค้นหาและการตรวจสุขภาพของประชาชนตามกลุ่มอายุตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุเป็นภารกิจในการดำเนินงานสร้างหลักสุขภาพถ้วนหน้าที่มุ่งเน้นให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดีสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพมากขึ้นโดยเน้นการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพ และถือว่าสุขภาพเป็นเรื่องของประชาชนทุกคน สำหรับการตรวจสุขภาพในกลุ่มอายุต่าง ๆ ได้แก่ วัยทำงาน วัยทอง และวัยสูงอายุเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเป็นส่วนใหญ่ทั้งจาก พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการทำงาน พฤติกรรมการสูบบุหรี่ การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงภาวะเครียด จากการสำรวจและคาดประมาณจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง พบว่า ประชาชนยังขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพ และรักษาโรค จึงเกิดนโยบายระดับชาติเพื่อควบคุมโรคเหล่านี้ คือ การมุ่งเน้นการตรวจค้นหา คัดกรองสุขภาพของประชาชนและการควบคุมปัจจัยเสี่ยงการเกิดของโรคเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงการดูแลและตรวจสุขภาพเพราะคิดว่าสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่มีอาการของโรค
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านไทรงาม ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคความดันโลหิตเชิงรุก หมู่ 17 บ้านไทรงาม ปีงบประมาณ 2566 เพื่อคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยง ติดตามผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ตลอดจนส่งต่อผู้ป่วยเข้าสู่ระบบเพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงทุกคนได้รับการคัดกรอง

ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงได้รับการคัดกรองตามป้าหมาย

0.00
2 เพื่อส่งเสริมบทบาทของ อสม.ให้ปฏิบัติงานเชิงรุกในการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน โดยการคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยง และติดตามผู้ป่วยในพื้นที่รับผิดชอบ

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และมีการติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่ตามอย่างต่อเนื่อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 68
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2023

กำหนดเสร็จ 31/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การเฝ้าระวังและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในหมู่บ้านเชิงรุก

ชื่อกิจกรรม
การเฝ้าระวังและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในหมู่บ้านเชิงรุก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดแบบพกพา จำนวน 4 เครื่อง ๆ ละ 2,500 บาท  เป็นเงิน 10,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจคัดกรองเฝ้าระวังและป้องกันกลุ่มประชาชนทั่วไปอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง กลุ่มเสี่ยงอย่างน้อย 3 เดือนครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองเฝ้าระวังและป้องกันกลุ่มประชาชนทั่วไปอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง กลุ่มเสี่ยงอย่างน้อย 3 เดือนครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. แบบบันทึกติดตามกลุ่มเสี่ยงพร้อมเอกสารให้ความรู้ จำนวน 2 เล่ม ๆ ละ 20 บาท  เป็นเงิน 40 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ให้สุขศึกษาและคำแนะนำด้านสุขภาพเชิงรุกแก่ประชาชนกลุ่มปกติ/กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มผู้ป่วยในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

ชื่อกิจกรรม
ให้สุขศึกษาและคำแนะนำด้านสุขภาพเชิงรุกแก่ประชาชนกลุ่มปกติ/กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มผู้ป่วยในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สื่อไวนิล ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 2 แผ่น ๆ ละ 430 บาท เป็นเงิน 860 บาท
  2. สื่อสติกเกอร์ ขนาดครึ่ง A4 ครัวเรือนละ 2 แผ่น ๆ ละ 5 บาท จำนวน 112 ครัวเรือน เป็นเงิน 1,120 บาท     รวมเป็นเงิน 1,980 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1980.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,020.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อาสาสมัครสาธารณสุขสามารถปฏิบัติงานเชิงรุกในพื้นที่ได้อย่างประสิทธิภาพ
2.ประชาชนกลุ่มปกติได้รับความรู้ด้านสุขภาพ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในหมู่บ้านได้รับการคัดกรองสุขภาพ/ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในหมู่บ้านได้รับการติดตามความดันโลหิต


>