กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงเชิงรุก หมู่ 17 บ้านไทรงาม ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L7892-2-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ 17 บ้านไทรงาม
วันที่อนุมัติ 27 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2566 - 31 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มกราคม 2567
งบประมาณ 12,020.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจารุวรรณ พรหมแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ นายอะหมัด หลีขาหรี
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ 17 บ้านไทรงาม ตำบลนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 68 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่เร่งด่วนของประชาชนที่ต้องได้รับการแก้ไข นอกจากโรคติดต่อแล้ว กลุ่มโรคไม่ติดต่อก็เป็นสาเหตุสำคัญของการตายและความพิการทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนลดลงอีกทั้งยังก่อให้เกิดความสูญเสียทรัพยากรเป็นจำนวนมากในแต่ละปีได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดในสมอง โรคหัวใจขาดเลือด อัมพาต โรคเบาหวานและโรคมะเร็ง เป็นต้น การค้นหาและการตรวจสุขภาพของประชาชนตามกลุ่มอายุตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุเป็นภารกิจในการดำเนินงานสร้างหลักสุขภาพถ้วนหน้าที่มุ่งเน้นให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดีสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพมากขึ้นโดยเน้นการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพ และถือว่าสุขภาพเป็นเรื่องของประชาชนทุกคน สำหรับการตรวจสุขภาพในกลุ่มอายุต่าง ๆ ได้แก่ วัยทำงาน วัยทอง และวัยสูงอายุเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเป็นส่วนใหญ่ทั้งจาก พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการทำงาน พฤติกรรมการสูบบุหรี่ การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงภาวะเครียด จากการสำรวจและคาดประมาณจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง พบว่า ประชาชนยังขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพ และรักษาโรค จึงเกิดนโยบายระดับชาติเพื่อควบคุมโรคเหล่านี้ คือ การมุ่งเน้นการตรวจค้นหา คัดกรองสุขภาพของประชาชนและการควบคุมปัจจัยเสี่ยงการเกิดของโรคเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงการดูแลและตรวจสุขภาพเพราะคิดว่าสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่มีอาการของโรค
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านไทรงาม ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคความดันโลหิตเชิงรุก หมู่ 17 บ้านไทรงาม ปีงบประมาณ 2566 เพื่อคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยง ติดตามผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ตลอดจนส่งต่อผู้ป่วยเข้าสู่ระบบเพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงทุกคนได้รับการคัดกรอง

ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงได้รับการคัดกรองตามป้าหมาย

0.00
2 เพื่อส่งเสริมบทบาทของ อสม.ให้ปฏิบัติงานเชิงรุกในการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน โดยการคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยง และติดตามผู้ป่วยในพื้นที่รับผิดชอบ

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และมีการติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่ตามอย่างต่อเนื่อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ส.ค. 66 - 31 ธ.ค. 66 การเฝ้าระวังและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในหมู่บ้านเชิงรุก 0 10,000.00 -
1 ส.ค. 66 - 31 ธ.ค. 66 ตรวจคัดกรองเฝ้าระวังและป้องกันกลุ่มประชาชนทั่วไปอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง กลุ่มเสี่ยงอย่างน้อย 3 เดือนครั้ง 0 40.00 -
1 ส.ค. 66 - 31 ธ.ค. 66 ติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 0 0.00 -
1 ส.ค. 66 - 31 ธ.ค. 66 ให้สุขศึกษาและคำแนะนำด้านสุขภาพเชิงรุกแก่ประชาชนกลุ่มปกติ/กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มผู้ป่วยในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง 0 1,980.00 -
รวม 0 12,020.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อาสาสมัครสาธารณสุขสามารถปฏิบัติงานเชิงรุกในพื้นที่ได้อย่างประสิทธิภาพ
2.ประชาชนกลุ่มปกติได้รับความรู้ด้านสุขภาพ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในหมู่บ้านได้รับการคัดกรองสุขภาพ/ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในหมู่บ้านได้รับการติดตามความดันโลหิต

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2566 00:00 น.