กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานเทศบาลเมืองเบตงระยะที่ 2 (ปฏิบัติงานบนสำนักงาน)

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานเทศบาลเมืองเบตงระยะที่ 2 (ปฏิบัติงานบนสำนักงาน)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองเบตง

1. โรงแรมการ์เด้นวิว อำเภอเบตง จังหวัดยะลา2. โรงยิม กองการศึกษา เทศบาลเมืองเบตง3. สระว่ายน้ำ กองการศึกษา เทศบาลเมืองเบตง4. ศาลาภิรมทัศน์ กองช่าง เทศบาลเมืองเบตง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานแรงงานนอกระบบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาสุขภาพในการทำงานเป็นปัญหาสำคัญต่อกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยตรง พบปัญหานี้อย่างมากในประชากรที่อยู่ในช่วงของวัยแรงงาน โดยเฉพาะในปัจจุบันผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานที่อาจร้ายแรงถึงขั้นสูญสียแรงงานส่วนหนึ่งออกไปจากระบบเศรษฐกิจอันจะนำไปสู่ปัญหาขาดแคลนภาวะ แรงงานในภาคเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต ซึ่งอุปกรณ์สื่อสารและคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำงานของสำนักงาน ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทำให้สำนักงานในองค์กร ต่าง ๆ นำเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาช่วยในการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับ-ส่ง ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกิจและให้บริการบนอินเตอร์เน็ต ตลอดจนการใช้เป็นเครื่องมือช่วยใน การทำงาน พนักงานส่วนใหญ่ในสำนักงานใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักในการปฏิบัติงานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องโดยที่ระยะเวลาในการปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในแต่ละวันพบว่ามีระยะเวลาการใช้งาน นานกว่า 4 ชั่วโมงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพนักงานระดับปฏิบัติการจะพบว่ามีระยะเวลาการใช้งานเครื่อง คอมพิวเตอร์นานกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน การใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานอาจส่งผลต่อสภาพร่างกายและ ประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งมีผลการวิจัยเป็นจำนวนมากที่พบว่าการปฏิบัติงาน ที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานเกือบตลอดทั้งวันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อร่างกายใน ด้านต่าง ๆ เช่น อาการปวดบริเวณกล้ามเนื้อ คอและไหล่ปวดขมับและศีรษะ อาการผิดปกติทางตา ตาแห้ง อาการเมื่อยล้าทางตา อนึ่ง ตามกฎหมายพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานปี 2551 มาตรา 23 ของประเทศไทย ได้มีการกำหนดจำนวนชั่วโมงของการทำงานสำหรับงานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัย ต้องไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง และสัปดาห์หนึ่งไม่เกิน 42 ชั่วโมง
ทั้งนี้ สาเหตุเนื่องจากปัจจุบันพบว่า หลายองค์กรได้นำดัชนีชี้วัดความสำเร็จ (KPI) เข้ามาใช้ภายในองค์กร และกำหนดเกณฑ์การให้ผลตอบแทน อาทิ ตำแหน่ง เงินเดือน ตามการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานภายในองค์กรต้องทุ่มเทอย่างหนักและเร่งสร้างผลงานในการทางาน เพื่อสร้างความพร้อมและความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive advantage) ให้กับองค์กร (ณรงค์วิทย์ แสนทอง, 2556) รวมถึง หลายองค์กรมีจานวนผู้ปฏิบัติงานไม่เพียงพอต่อปริมาณงาน เนื่องมาจากสภาวะเศรษฐกิจ หลายองค์กรจึงมีนโยบายการลดขนาดองค์กร และพยายามจากัดการรับพนักงาน ส่งผลให้เกิดสภาวะอัตรากาลังคนขาดผู้ปฏิบัติงานซึ่งเป็นพนักงานประจำ จำเป็นต้องรับภาระงานที่ค่อนข้างมากกว่าปกติ (Workload)(Ahmadi & Asl, 2013) ด้วยเหตุนี้ จึงส่งผลให้ปัจจุบันแนวโน้มของผู้ปฏิบัติงานมีจำนวนชั่วโมงการทำงานที่เพิ่มสูงขึ้น โดยมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคออฟฟิตซินโดรมหรือโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรมของผู้ปฏิบัติงานภายในสำนักงาน (คมปกรณ์ ลิมป์สุทธิรัชต์, 2555)
จากการที่เทศบาลเมืองเบตง ได้ดำเนินการในการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ อาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานเทศบาลเมืองเบตง พ.ศ. 2566 ซึ่งได้จัดฝึกอบรมโครงการดังกล่าว แก่พนักงานเจ้าหน้าที่สังกัดกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สังกัดกองช่างและสังกัดงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัดเทศบาล พบว่า มีความรู้ความปลอดภัยเกี่ยวกับ อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 96 อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือและสนับสนุนอย่างเต็มที่จากผู้เข้าร่วมอบรมทุกท่านซึ่งโครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม เทศบาลเมืองเบตงจึงมองเห็นและให้ความสำคัญอีกกลุ่มหนึ่งที่ปฏิบัติงานบนสำนักงาน ซึ่งประกอบด้วยกองฝ่าย จำนวน 8 กอง ได้แก่ สำนักปลัดเทศบาล กองคลัง กองการศึกษา กองช่าง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ กองสวัสดิการสังคม และกองการเจ้าหน้าที่ มีจำนวนหน้าที่ที่ปฏิบัติงานบนสำนักงานทั้งสิ้น 212 คน (ข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม 2566) ซึ่งส่วนใหญ่ต้องทำงานโดยการใช้คอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นงานสารบรรณ งานจัดเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูล การออกใบอนุญาต การเขียนแบบ หรือแม้กระทั่งสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ ซึ่งต้องนั่งทำงานมากกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน ก่อให้เกิดเป็นลักษณะอาการเจ็บป่วยสะสม (Repetitive strain injury) และอาการเมื่อยล้าบริเวณตา (Computer Vision Syndrome) ที่เกิดจากการมีพฤติกรรมท่าทางการทำงาน ในอิริยาบทเดิมๆ ของผู้ปฏิบัติงาน เป็นระยะเวลานาน มีความเครียดจากการทำงาน และสภาพแวดล้อมจากการทำงานไม่เหมาะสม อีกทั้งยังพบว่า พนักงานเทศบาลยังขาดความรู้ความเข้าใจถึงสาเหตุ การตระหนักรู้ การวางกลยุทธ์ แนวทางการป้องกันการเกิดโรคออศฟิตซินโดรมและโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม
เทศบาลเมืองเบตง โดยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้เกิดความตระหนักและเห็นถึงอันตราย ที่จะเกิดขึ้นกับพนักงานเทศบาลที่ปฏิบัติงานบนสำนักงานดังกล่าวข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ อาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานเทศบาลเมืองเบตง ระยะที่ 2 เพื่อให้การประกอบอาชีพการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลที่ปฏิบัติงานบนสำนักงาน มีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงโรคออฟฟิศซินโดรมและโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันโรค ทำให้ปราศจากโรคและมีสภาวะสมบูรณ์ดีทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจ ทางสังคม และจิตวิญญาณ มีสภาวะ ที่ปราศจากภัยคุกคามไม่มีอันตราย หรือความเสี่ยงใดๆ อนึ่ง การดำเนินงานโครงการดังกล่าวจะส่งผลให้ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองเบตง ได้รับการจัดบริการสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ทั้งนี้ขอรับรองว่าโครงการนี้ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น มีความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน และเทศบาลเมืองเบตงได้รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. พนักงานเทศบาลและเจ้าหน้าที่ มีความรู้เรื่องอาชีวอนามัย ความปลอดภัยในการทำงาน
  1. ร้อยละ 85 ของพนักงานเทศบาลและเจ้าหน้าที่ มีความรู้เรื่องอาชีวอนามัย ความปลอดภัยในการทำงาน
0.00
2 2. เพื่อให้พนักงานเทศบาลและเจ้าหน้าที่ สามารถค้นหาความเสี่ยง และ สามารถขจัดความเสี่ยงต่อสุขภาพได้อย่างถูกต้อง
  1. พนักงานเทศบาลและเจ้าหน้าที่ สามารถค้นหาความเสี่ยง และ สามารถขจัดความเสี่ยงต่อสุขภาพได้ถูกต้อง
0.00
3 3. เพื่อให้พนักงานเทศบาลและเจ้าหน้าที่ สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับไปจัดการความเสี่ยง จากการทำงานที่ส่งต่อสุขภาพได้
  1. พนักงานเทศบาลและเจ้าหน้าที่ สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับไปจัดการความเสี่ยงจากการทำงานที่ส่งต่อสุขภาพได้
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 200
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/10/2023

กำหนดเสร็จ 29/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฎิบัติการเรื่องอาชีวอนามัย ความปลอดภัยในการทำงาน แบ่ง 8 กลุ่ม

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฎิบัติการเรื่องอาชีวอนามัย ความปลอดภัยในการทำงาน แบ่ง 8 กลุ่ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (35 บาท x 2 มื้อ x 200 คน) เป็นเงิน14,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน (75 บาท x 1 มื้อ x 200 คน x 1 วัน) เป็นเงิน15,000บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์
    • สมุดปกอ่อน ขนาด 60 แกรม 10 บ. x 200 คน เป็นเงิน2,000 บาท
    • ปากกา 10 บ. x 200 คน เป็นเงิน2,000 บาท
    • แฟ้มพลาสติกชนิดมีกระดุมขนาด A4 15 บ. x 200 คน เป็นเงิน3,000 บาท
    • เอกสารการอบรม 10 บ. x 200 คน เป็นเงิน2,000 บาท
    • กระดาษบรู๊ฟ 5 บ. x 30 แผ่น เป็นเงิน150บาท
    • ปากกาเคมี 20 บ. x 15 ด้าม เป็นเงิน300 บาท
    • ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร เป็นเงิน750 บาท
    • ค่าเข้ารูปเล่ม เป็นเงิน300 บาท
  • ค่าเช่าสถานที่ เป็นเงิน 4,000บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร (9 ชั่วโมงx 600 บ/ชม. x 8 คน) เป็นเงิน43,200บาท รวมเป็นเงิน เป็นเงิน86,700 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ตุลาคม 2566 ถึง 29 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดอบรมเชิงปฎิบัติการเรื่องอาชีวอนามัย ความปลอดภัยในการทำงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
86700.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการ (แบ่งกลุ่ม 8 กลุ่ม)

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ (แบ่งกลุ่ม 8 กลุ่ม)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุที่ใช้ในโครงการฯ
    • วัสดุอุปกรณ์ในการฝึกปฏิบัติการจัดทำอาหารสุขภาพ    เป็นเงิน  15,000  บาท         รวมเป็นเงิน        เป็นเงิน  15,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ตุลาคม 2566 ถึง 29 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อบรมเชิงปฏิบัติการ ได้แบ่งกลุ่ม 8 กลุ่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสันทนาการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสันทนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม    (35 บาท x 2 มื้อ x 200 คน)  เป็นเงิน  14,000    บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน (75 บาท x 1 มื้อ x 200 คน x 1 วัน)    เป็นเงิน  15,000  บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร (4 ชั่วโมง  x 600 บ/ชม. x 2 คน) เป็นเงิน  4,800   บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ออกกำลังกาย                เป็นเงิน  3,200   บาท             รวมเป็นเงิน        เป็นเงิน  37,000  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ตุลาคม 2566 ถึง 29 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดกิจกรรมสันทนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 138,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>